ความหมาย "การให้" หรือเรียกตามศัพท์ทางวิชาการว่า "การสงเคราะห์" การสงเคราะห์เกิดมานานแล้ว ควบคู่ไปกับการเกิดของปัญหา และความต้องการ ถ้าพิจารณาดูสิ่งใกล้ตัว โดยเฉพาะครอบครัวจะพบว่า บิดามารดาจะปรึกษาหารือกันเมื่อมีปัญหา เช่นเดียวกับบุตรจะปรึกษาหารือกับบิดามารดาเมื่อมีปัญหา เพื่อนบ้านจะให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อมีปัญหา รวมทั้งคนในชาติจะช่วยเหลือคนในชุมชนเมื่อมีปัญหา เป็นต้น ปัญหาอาจจะเกิดกับบุคคล กลุ่ม ชุมชน หรือสังคมก็ได้ ปัญหาเกิดจากสาเหตุหลายด้านคือ สุขภาพอนามัย สังคม เศรษฐกิจการเมือง และอื่นๆ ปัญหาปัญหาหนึ่งอาจมีสาเหตุจากหลายๆ ด้าน ซึ่งสามารถพูดได้ว่าสาเหตุของปัญหา ผูกพันกันแบบลูกโซ่ เช่น เด็กหนีโรงเรียน มีสาเหตุจากการไม่มีเงินค่าอาหาร สาเหตุที่ไม่มีเงิน ค่าอาหารเพราะบิดาไม่ให้ บิดามารดาไม่ให้เงิน ลูกเพราะไม่มีเงิน บิดาไม่มีเงินเพราะถูกไล่ออก จากงาน เนื่องจากชอบดื่มเหล้า เล่นการพนัน มี หนี้สินมากมาย ที่บิดาชอบดื่มเหล้า เพราะไม่มี ความสุขในบ้าน แม่บ้านเจ็บออดๆ แอดๆ ต้อง เข้าโรงพยาบาลเสมอๆ ประกอบกับบิดามีบุตรหลายคน ที่ต้องหาเงินมาให้เรียนหนังสือ บิดาชอบเล่นการพนัน เพราะคิดว่าจะเอาเงินที่ได้จาก การพนันมาเลี้ยงครอบครัว พอเล่นการพนันเสีย ก็ต้องขอยืมเงินเพื่อน ทำให้มีหนี้สินรุงรัง เป็นต้น จากปัญหานี้ จะเห็นว่ามีสาเหตุทั้งปัญหาทางด้านสังคม ด้านสุขภาพอนามัย และด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวข้องกันแบบลูกโซ่ การแก้ไขปัญหาควรจะทำได้ในหลายๆ วิธี |
การทำบุญใส่บาตรเป็นการกุศล |
ผู้ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาแล้วโดยใช้หลักทางวิชาการ เรียกว่า "นักสังคมสงเคราะห์" และผู้ที่จะรับบริการเรียกว่า "ผู้รับบริการ" "การสงเคราะห์" หรือ "การสังคมสงเคราะห์" มีผู้ให้ความหมายต่างๆ กัน โดยความเข้าใจทั่วๆ ไปแล้ว เข้าใจว่า เป็นการช่วยเหลือ การ สงเคราะห์เพื่อให้คนในสังคมมีความร่มเย็นเป็นสุข เป็นการแบ่งปันระหว่างผู้ให้และผู้รับ ผู้ให้ได้รับความสบายใจ และผู้รับก็ได้รับประโยชน์ มีหลายคนเข้าใจว่า การสังคมสงเคราะห์ คือ การแจกเงิน แจกสิ่งของ การสังคมสงเคราะห์ คือ การกุศล ซึ่งความจริงแล้ว การสังคมสงเคราะห์มีรากฐานมาจากการกุศล แต่การกุศลไม่ใช่การสังคมสงเคราะห์ การสังคมสงเคราะห์ กับการกุศลมีข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัดดังตาราง ข้างล่างนี้ |
ตารางเปรียบเทียบลักษณะของการสังคมสงเคราะห์และการกุศล |
คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนางานสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ให้ความหมายไว้ว่า การ สังคมสงเคราะห์ หมายถึง ศาสตร์และศิลป์ ในการป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟู และพัฒนาบุคคล กลุ่ม และชุมชน ทั้งที่ประสบและไม่ประสบปัญหาความ เดือดร้อน ให้สามารถช่วยเหลือตนเองและสังคมได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงมีพระราชดำรัสในพิธีเปิดการประชุมการสังคม สงเคราะห์แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๐๕ ความว่า "...การสังคมสงเคราะห์นั้น มีความหมายกว้างขวางมาก กินความถึงการดำเนินการทุกอย่างที่จะช่วยเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์ หรือกลุ่มชนที่ร่วมกันเป็นสังคม เป็นชาติ และผู้ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ให้มีความสุขทั้งทางกายและจิตใจ ให้ได้มีปัจจัยอันจำเป็นแก่การครองชีพคือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ ได้รับการศึกษาอบรมตามควร ตลอดจน มีความรู้ที่จะนำมาเลี้ยงชีพโดยสุจริต เพื่อความเรียบร้อยแ ละความเป็นปึกแผ่นของสังคม..." ฉะนั้น จะเห็นว่า การสังคมสงเคราะห์เป็น กิจกรรมที่ทำกับคนทั้งที่มีและไม่มีปัญหา โดยอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการทำงาน |