การรักษาโรคมะเร็ง ขึ้นอยู่กับว่า โรคเป็นน้อยหรือเป็นมาก มะเร็งเมื่อยังเป็นน้อยสามารถจะรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าปล่อยไว้ จนโรคเป็นมากแล้ว มักจะเสียชีวิตทุกราย การรักษาจะเพียงบรรเทาอาการชั่วคราวเท่านั้น การรักษาใช้วิธีผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก หรือโดยการฉายรังสีไปยังบริเวณที่เป็นก้อนมะเร็ง หรือการใช้ยารักษา หรืออาจจะใช้ทั้ง ๓ วิธีนี้ร่วมกัน ในกรณีที่เป็นมากแล้ว อาจจะใช้ยาหรือสารเคมีบางชนิด กระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันดีขึ้น ซึ่งทำให้โรคทุเลาลงชั่วคราว และในระยะสุดท้ายของโรค การรักษาด้วยจิตวิทยาเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นมาก
ผลการรักษาโรคมะเร็งจะดีหรือเลว มิได้ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง และแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น ที่สำคัญคือ ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง ต้องสนใจต่อสุขภาพของตนเอง มารับการรักษา เมื่อโรคยังเป็นน้อย และร่วมมือต่อการรักษาดี ย่อมจะได้ผลดี อย่าลืมว่า มะเร็งในระยะที่เป็นน้อย สามารถจะรักษาให้หายขาดได้ดี แต่ถ้าเป็นมากแล้ว จะเสียชีวิตทุกราย
กอดเฟรย์ เฮาน์สฟิลด์ กับเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
นอกจากนี้รังสีเอกซ์ยังใช้ฉาย เพื่อรักษามะเร็งได้ด้วย ทั้งหมดนี้เป็นไปได้ เพราะการค้นพบรังสีเอกซ์ หรือรังสีเรินต์เกน โดยศาสตราจาย์วิลเฮล์ม คอนรัด เรินต์เกน ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ. ๒๔๓๘ (ค.ศ. ๑๘๙๕) และการค้นพบเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดย กอดเฟรย์ นิวโบลด์ เฮาน์สฟิลด์ ชาวอังกฤษ และอัลเลน แมคลีออด คอร์แมค ชาวสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ (ค.ศ. ๑๙๗๒) ในปัจจุบัน รังสีวิทยายังครอบคลุมไปถึงวิชาว่าด้วย การเอารังสีต่างๆ ตลอดไปจนถึงพลังงานในรูปอื่นๆ เช่น คลื่นเสียง รังสีแกมมา รังสีเบตา รังสีอัลฟา และรังสีนิวตรอนมาใช้ให้เป็นประโยชน์ด้วย
เมื่อเรินต์เกน ค้นพบรังสีเอกเรย์ใหม่ๆ ยังไม่รู้จักผลทางชีววิทยาของรังสีเอกซ์ที่มีต่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิต จึงทำให้เกิดอันตราย ทั้งต่อคนไข้และแพทย์ ตลอดจนพนักงานรังสีวิทยา แต่ปัจจุบันนี้ นักวิทยาศาสตร์ และรังสีแพทย์รู้จักสมบัติต่างๆ ของรังสีเอกซ์ และรังสีอื่นๆ เป็นอย่างดี จึงสามารถนำรังสีเหล่านี้มาใช้ได้อย่างปลอดภัย
ข้อควรระวังที่สำคัญ คือ รังสีเหล่านี้มีทั้งคุณและโทษ ถ้าจะใช้ให้มีแต่คุณ และปราศจากโทษ จะต้องใช้โดยผู้มีความรู้ทางด้านนี้โดยตรง เช่น รังสีแพทย์ หรือพนักงานรังสีวิทยา ภายในความควบคุมของรังสีแพทย์เท่านั้น