เล่มที่ 21
พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
            พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของไทย หมายถึง พืชพื้นบ้าน ที่ชนชาวไทย นำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน อาจแบ่งออกได้เป็น พืชสมุนไพร พืชอาหาร พืชให้สีแต่งอาหารและให้สีย้อม พืชมีพิษ และพืชที่ใช้ในงานหัตถกรรมพื้นบ้าน




ไพล
พืชสมุนไพร

            คือ กลุ่มของพืช ที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรค พืชสมุนไพรมีหลายร้อยชนิด ใช้รักษาโรคแตกต่างกันไป เช่น ไพล




บัวสาย
พืชอาหาร

            พืชอาหารในพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน หมายถึง พืชที่เก็บหาได้ในธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้เป็นอาหาร พืชเหล่านี้มีอยู่ตามป่า ในท้องทุ่ง หรือตามหัวไร่ปลายนา ซึ่งห่างไกลจากบ้านเรือน ปัจจุบันได้มีการนำพืชดังกล่าวบางชนิด มาปลูกไว้ในสวน หรือในไร่ใกล้บ้าน เพื่อสะดวกในการใช้และบำรุงรักษา เช่น บัวสาย

พืชให้สีอาหารและสีย้อม

            คือ กลุ่มของพืช ที่ชาวบ้านนำมาใช้ทำสีอาหาร และใช้ทำสีย้อม เช่น อัญชัน



อัญชัน
พืชมีพิษ

            หมายถึง กลุ่มพืชที่มีสารพิษสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ อาจเป็นที่ ลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด หัวใต้ดิน หรือทุกส่วน เช่น บอน



บอน
พืชที่ใช้ในงานหัตถกรรมพื้นบ้าน

            หมายถึง กลุ่มพืชที่ชนพื้นบ้าน ใช้เป็น วัตถุดิบในงานจักสาน ทำเครื่องมือ เครื่องใช้ในการเกษตร จับหรือดักสัตว์ และภาชนะ ใช้สอยในครัวเรือน เช่น หมาก




หมาก
พืชอเนกประสงค์

            หมายถึง พืชที่ใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่างทั้งในด้านการบริโภค อุปโภค และพิธีกรรม



เปลือกเสม็ด นำมามุงหลังคาบ้าน