ข้อแนะนำในการทำการเกษตรบนที่สูง การปลูกพืช ในที่ซึ่งเป็นภูเขา และหุบเขานี้ ควรจะคำนึงถึงแหล่งต้นน้ำลำธารเป็นอย่างมาก ควรรักษา และทำนุบำรุงป่าต้นน้ำไว้ให้ดี และในกรณีที่ป่าต้นน้ำถูกทำลายไปแล้ว ก็จะต้องรีบปลูกป่าขึ้นมาทดแทน ให้เร็วที่สุด เพื่อจะทำให้ต้นน้ำลำธารฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ และจะสามารถอาศัยใช้น้ำได้ในอนาคต | |
ดอกไพรีทรัม | |
ในที่ลาดชันมากๆ และที่ดินไม่ดี ควรพิจารณาปลูกไม้ป่า หรือไม้ผลบางชนิดที่ทนทาน เช่น บ๊วย ส่วนในที่ซึ่งมีความลาดชันปานกลาง ถึงลาดชันน้อย ก็จะเหมาะสำหรับไม้ผล และพืชอายุสั้นต่างๆ เช่น ผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ พืช ไร่ ตลอดจนพืชสมุนไพร | |
แปลงไพรีทรัม | |
เนื่องจากที่สูงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ดังนั้นการทำการเกษตรบนที่สูง จึงควรทำด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ การใช้สารเคมีต่างๆ เช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี และยากำจัดวัชพืชนั้น อาจจะปะปนลงไปในลำห้วย ลำธารต่างๆ ได้โดยง่าย และสารบางชนิดก็อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในน้ำ ซึ่งจะไหลลงมาสู่พื้นที่ต่ำ และลงสู่แม่น้ำในที่สุด ทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกมาก | |
ดอกลินิน | การให้น้ำแก่พืชที่ปลูกบนที่สูงก็ควรทำอย่าง ประหยัดและมีการควบคุม เพราะถ้าใช้น้ำมากเกินไป จนไม่มีเหลือให้ไหลลงไปสู่พื้นที่ต่ำแล้ว เกษตรกรในพื้นที่ต่ำก็จะเกิดปัญหาขึ้น การควบคุมการใช้น้ำบนที่สูงนี้ จะเกี่ยวข้องกับการเลือกพืชที่จะปลูกและวิธีการให้น้ำ ตลอดจน การใช้วิธีการต่างๆ ในการเพาะปลูกที่จะทำให้สามารถสงวน น้ำในดินไว้ได้เป็นเวลานาน |
เนื่องจากพื้นที่สูงมักจะเป็นพื้นที่ลาดชัน การทำการเกษตรที่สูงจึงอาจก่อให้เกิดการพังทลายของดินได้โดยง่าย ถ้าขาดความเข้าใจ หรือขาดความระมัดระวังแล้ว หน้าดินก็จะถูกน้ำพัดพาไป จนเหลือแต่ดินดาน ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในการปลูกพืช และในที่สุด ก็จะต้องทิ้งให้รกร้าง กลายเป็นทุ่งหญ้าที่ไม่มีประโยชน์หรือเป็นภูเขาหัวโล้น การเตรียมดินแบบขั้นบันไดเพื่อใช้ปลูกพืช จึงมีความสำคัญในที่ลาดชัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ พืชอายุสั้นซึ่งจะต้องปลูกหลายครั้งในแต่ละปี และต้องการการไถพรวนอยู่เสมอ เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การรักษาสมดุลของธรรมชาติ เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ต่ำแล้ว การทำการเกษตรบนที่สูงนับว่า ยังใหม่มาก ดังนั้นที่สูง จึงยังคงมีลักษณะเป็นธรรมชาติอยู่ไม่น้อย และควรพยายามรักษาสมดุลของธรรมชาติไว้ ตัวอย่างหนึ่งในเรื่องนี้ก็คือ การใช้ยาฆ่าแมลงในการเพาะปลูกพืช ถ้าใช้โดยขาดความรู้ทางวิชาการแล้ว ก็จะทำให้แมลงที่เป็นประโยชน์ ตลอดจนตัวห้ำ และตัวเบียน ของแมลงที่เป็นศัตรูต้องสูญสิ้นไป และในที่สุด ก็จะต้องใช้ยาฆ่าแมลงมากขึ้นทุกที เป็นผลให้เกิดความเสียหายทั้งในเชิงธุรกิจ และนิเวศวิทยาเป็นอย่างมาก |