ความสำเร็จและการยอมรับ จากผลความสำเร็จของการปฏิบัติการฝนหลวง ช่วยเหลือราษฎรในแต่ละภาคของประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นต้นมา ดังที่ได้แสดงไว้ ในตารางสรุปผลการปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๓๐ นับว่า เป็นไปตามพระราชประสงค์ และเจตนารมณ์ ที่จะให้กรรมวิธีฝนหลวง มีบทบาท หรือเป็นส่วนหนึ่งที่เสริมกระบวนการ การจัดการทรัพยากรน้ำ ให้สมบูรณ์แบบทั้งน้ำผิวดิน ใต้ดิน และน้ำจากฟ้า ซึ่งได้รับการยอมรับจากทั้งภายใน และต่างประเทศในระดับหนึ่ง ตามข้อจำกัดของสภาวะปัจจุบัน ของทรัพยากรที่มีอยู่ในขณะนั้น กล่าวคือ |
ตารางสรุปผลการปฏิบัติการฝนหลวง พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๓๐ |
๑. ด้านภายในประเทศ จะเห็นได้จาก การปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรมและการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เป็นภารกิจหลัก ได้รับการร้องเรียนขอความช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๓๐ มีการร้องเรียนขอฝน ๓๗-๕๑ จังหวัด เฉลี่ย ๔๔ จังหวัดต่อปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความรุนแรงของสภาวะแห้งแล้งในแต่ละปี ถึง แม้ว่ามีข้อจำกัดที่อุปกรณ์ เจ้าหน้าที่ และปัจจัย สนับสนุนอื่นๆ ไม่เพียงพอ ไม่อาจสนองความ ต้องการของประชาชนได้ทั้งหมดในแต่ละปีก็ตาม แต่ก็นับได้ว่า โครงการฝนหลวงนี้ได้ช่วยเหลือเกษตรกร และลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยส่วนรวม ของประเทศไว้ได้เป็นอย่างมาก ประโยชน์ที่ ได้รับควบคู่กับการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเกษตรกรรมและการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค คือ การเพิ่มปริมาณน้ำฝนให้แก่อ่างและเขื่อนเก็บกัก น้ำเพื่อการชลประทานและผลิตกระแสไฟฟ้า แหล่ง น้ำและต้นน้ำลำธารธรรมชาติ ช่วยทำนุบำรุง ป่าไม้และการปลูกป่าทดแทน รวมทั้งในช่วง ฤดูแล้งช่วยลดการเกิดไฟป่าด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้รวม อยู่ในพื้นที่เป้าหมายเกษตรกรรมที่ปฏิบัติการช่วยเหลืออยู่แล้ว นอกจากนี้ยังปฏิบัติการบรรเทา มลภาวะของสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเน่าในแม่น้ำ ลำคลอง โรคระบาด (อหิวาตกโรค) การระบาด ของศัตรูพืชบางชนิด เช่น เพลี้ย ตั๊กแตนปาทังก้า เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เคยปฏิบัติการได้รับความ สำเร็จมาแล้วทั้งสิ้น ๒. ด้านต่างประเทศ จากความก้าวหน้า และความสำเร็จของกิจกรรมฝนหลวงจนถึงระดับ นี้ มีกลุ่มประเทศสมาชิกขององค์การอุตุนิยมวิทยา โลกแห่งสหประชาชาติ ที่มีกิจกรรมด้านการดัด แปรสภาพอากาศที่ขึ้นทะเบียนไว้รวม ๒๗ ประเทศ ที่รับรู้ว่า การทำฝนเป็นกิจกรรมดัดแปรสภาพอากาศในภูมิภาคเขตร้อนของประเทศไทย รวมทั้ง กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง ๖ ประเทศ ซึ่งนอกจากจะรับรู้แล้วยังยอมรับและมอบให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางกิจกรรมการทำฝนในเขตร้อน ของภูมิภาคเอเชียอีกด้วย มีประเทศที่ยอมรับ กรรมวิธีฝนหลวงไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติการแล้ว หลายประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และบังคลาเทศ นอกจากนี้มีอีก หลายประเทศที่ขอความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูล และเทคโนโลยีระหว่างกัน ได้แก่ ออสเตรเลีย อิตาลี ฝรั่งเศส สาธารณรัฐประชาชนจีน อังกฤษ อิสราเอล และมีประเทศที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ด้านนี้ที่เข้ามาให้ความร่วมมือที่จะทำการวิจัยและ พัฒนากิจกรรมนี้ร่วมกัน คือ แคนาดา และ สหรัฐอเมริกา |