เล่มที่ 12
การพัฒนาแหล่งน้ำ
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
ประเภทของงานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

            งานพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร ที่นิยมก่อสร้างกันทั่วไปมีหลายประเภท ได้แก่ งานอ่างเก็บน้ำ งานสระเก็บน้ำ งานขุดลอกหนองและบึง งานฝายทดน้ำ งานคลองส่งน้ำ และงานสูบน้ำ โดยมีรายละเอียดงานแต่ละประเภท ดังนี้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทอดพระเนตรแหล่งน้ำและทรงซักถามข้อมูลจากราษฎรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทอดพระเนตรแหล่งน้ำ และทรงซักถามข้อมูลจากราษฎร

๑. งานอ่างเก็บน้ำ

            อ่างเก็บน้ำ คือ บริเวณ หรือแหล่งเก็บน้ำที่ไหลมาตามร่องน้ำ หรือลำน้ำธรรมชาติ โดยการสร้างเขื่อนปิดกั้นระหว่างหุบเขา หรือเนินสูง เพื่อเก็บกักน้ำรวมไว้ในระหว่างหุบเขา หรือเนินสูงนั้น จนเกิดเป็นแหล่งเก็บน้ำที่มีขนาดต่างๆ กัน โดยเรียกเขื่อนกั้นน้ำนี้ว่า "เขื่อนเก็บกักน้ำ"
อ่างเก็บน้ำ แหล่งเก็บน้ำเพื่อการเพาะปลูกและการอุปโภคบริโภค
อ่างเก็บน้ำ แหล่งเก็บน้ำเพื่อการเพาะปลูกและการอุปโภคบริโภค
            เขื่อนเก็บกักน้ำสำหรับงานอ่างเก็บน้ำ เพื่อการเกษตรส่วนใหญ่มีขนาดความสูงไม่มากนัก จึงนิยมก่อสร้างด้วยการนำดินมาถม แล้วบดอัดให้แน่น จนเป็นตัวเขื่อนตามที่ต้องการ โดยเรียกเขื่อนเก็บกักน้ำลักษณะนี้ว่า "เขื่อนดิน" ซึ่งในการเลือกที่สร้างเขื่อนดิน การสำรวจและออกแบบ ตลอดจนการก่อสร้าง ทุกขั้นตอนจะต้องมีการพิจารณาและดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักวิชาการเสมอ ทั้งนี้ เพื่อให้ตัวเชื่อมมีความมั่นคง แข็งแรง และสามารถใช้ประโยชน์ได้นาน
คลองส่งน้ำรับน้ำไปสู่พื้นที่เพาะปลูก
คลองส่งน้ำรับน้ำไปสู่พื้นที่เพาะปลูก
            น้ำในอ่างเก็บน้ำที่เขื่อนดินกักกั้นไว้ จะมีความลึกและมีปริมาณที่เก็บกักมากหรือน้อย ตามขนาดความสูงของเขื่อนที่สร้างขึ้น ในแต่ละแห่ง น้ำในอ่างเก็บน้ำนี้สามารถส่งออกไปตาม ท่อส่งน้ำ เพื่อใช้สำหรับทำนา ปลูกพืชไร่ ปลูก พืชผัก เลี้ยงสัตว์ และเพื่อการอุปโภคบริโภคของ ประชาชนในหมู่บ้านได้ตามที่ต้องการ ส่วนอ่างเก็บน้ำก็สามารถใช้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา และกุ้งน้ำจืด ตลอดจนช่วยป้องกันและบรรเทาน้ำท่วมแก่พื้นที่เพาะปลูกตามบริเวณสองฝั่งลำน้ำ ที่อยู่ท้ายอ่างเก็บน้ำได้อีกด้วย
อาคารระบายน้ำล้นที่ตัวเขื่อน
อาคารระบายน้ำล้นที่ตัวเขื่อน
            นอกจากเขื่อนเก็บกักน้ำแล้ว งานอ่างเก็บน้ำทุกแห่ง จะต้องสร้างอาคารระบายน้ำล้น สำหรับควบคุมระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำ ไม่ให้ล้นข้ามสันเขื่อน และสร้างท่อส่งน้ำ จากอ่างเก็บน้ำที่ตัวเขื่อน เพื่อใช้ควบคุมน้ำ ที่จะส่งออกไปให้กับ พื้นที่เพาะปลูก ในบริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำแต่ละแห่งนั้น
            งานอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตรส่วนใหญ่ สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในท้องที่ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับท้องที่ซึ่งลำธารและลำห้วยมีน้ำไหลมาแต่เฉพาะ ในฤดูฝน อ่างเก็บน้ำจะเก็บน้ำที่ไหลมามาก ตอนช่วงฤดูฝนนั้นไว้ เป็นแหล่งน้ำต้นทุน ที่จะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้จนตลอดฤดูแล้ง

๒. งานสระเก็บน้ำ

            สระเก็บน้ำ คือ แหล่งเก็บขังน้ำฝน น้ำท่า หรือน้ำที่ไหลออกมาจากดิน ด้วยการขุดดินให้เป็นสระสำหรับเก็บขังน้ำ โดยมีขนาดความยาว ความกว้าง และความลึกของสระ ตามจำนวนน้ำที่ต้องการจะเก็บไว้ใช้งาน
สระเก็บน้ำ
สระเก็บน้ำ
            สระเก็บน้ำส่วนใหญ่มีขนาดความจุน้อย นิยมสร้างในท้องที่ ซึ่งไม่มีลำน้ำธรรมชาติหรือในสภาพภูมิประเทศ ที่ไม่เอื้ออำนวย ให้ทำการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ และที่เก็บกักน้ำประเภทอื่น

            งานสระเก็บน้ำประกอบด้วยงานขุดดิน ให้เป็นสระ แล้วนำดินที่ขุดขึ้นมานั้นถมเป็นคัน ล้อมรอบขอบสระ บางแห่งอาจล้อมเพียงสามด้าน หรือบางแห่งถมเป็นคันล้อมขอบสระเฉพาะส่วน ล่างในแนวต่ำให้เป็นรูปโค้ง อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศของแต่ละแห่ง

            น้ำที่เก็บกักไว้ในสระอาจเป็นน้ำที่ไหล มาบนผิวดิน ไหลมาตามร่องน้ำเล็กๆ และน้ำ ที่ไหลซึมหรือไหลพุออกมาจากดินลงสู่สระ น้ำ ในสระส่วนใหญ่จะขังอยู่ในส่วนล่างซึ่งได้ขุดดิน ออกไป โดยมีระดับน้ำเก็บกักอยู่สูงกว่าผิวดิน ข้างเคียงเพียงเล็กน้อย หรือในบางท้องที่อาจ เก็บขังน้ำทั้งหมดไว้ต่ำกว่าผิวดินธรรมชาติ

            น้ำในสระเก็บน้ำสามารถนำไปใช้ปลูก พืชผักสวนครัว ใช้เลี้ยงสัตว์ ตลอดจนใช้สำหรับ อุปโภคบริโภคภายในหมู่บ้าน และใช้เป็นแหล่งน้ำ เพื่อการเลี้ยงปลาได้ด้วย

๓. งานขุดลอกหนองและบึง

            เป็นงานขุดลอกดินในหนองและบึงธรรมชาติที่ตื้นเขิน ให้มีความลึกจนสามารถเก็บน้ำได้เพิ่มมากขึ้น

            สภาพของหนองและบึงโดยธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นแอ่งน้ำหรือบริเวณที่ลุ่ม ซึ่งมีความสมดุลตามธรรมชาติ ในการเก็บน้ำไว้ได้จำนวนหนึ่ง ถ้าหากปีใดมีฝนตกจนน้ำไหลลง หนองมีปริมาณมากกว่าปกติ น้ำจำนวนมากเกินไปนั้น จะระบายออกไปตามช่องทางระบายน้ำ ที่มีในบริเวณที่ต่ำได้เอง จนสามารถเก็บน้ำไว้ได้ เท่ากับระดับสันของช่องทางระบายน้ำนั้น
บึง แหล่งน้ำธรรมชาติในชนบทที่ปรับปรุงให้สามารถเก็บน้ำได้มาก
บึง แหล่งน้ำธรรมชาติในชนบทที่ปรับปรุงให้สามารถเก็บน้ำได้มาก
            หนองและบึงโดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะ แบนและตื้น เนื่องจากน้ำที่ไหลลงหนองและบึง มักจะชะพาดินลงไปตกตะกอน ทับถมกันอยู่ทุกปี จึงทำให้หนองและบึงจำนวนมากเก็บน้ำไว้ได้ไม่ ลึกนัก และมีน้ำไม่พอใช้ได้ตลอดฤดูแล้ง เพราะน้ำระเหยหมดไปเสียก่อน

            การเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักในหนอง และบึงที่ตื้นเขินให้มากขึ้น อาจกระทำได้ด้วย การสร้างเขื่อนดินขนาดเล็กปิดกั้นช่องต่ำที่เป็น ช่องระบายน้ำไว้ ซึ่งสามารถเพิ่มระดับความลึก ของน้ำที่ต้องการจะเก็บกักในหนองและบึงให้ มากขึ้นกว่าเดิมได้ การปรับปรุงหนองและบึงให้เก็บน้ำมากขึ้นโดยวิธีนี้จะเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนัก แต่มักมีปัญหาเกี่ยวกับน้ำที่เพิ่มสูงนั้นจะแผ่ออก ไปท่วมพื้นที่เพาะปลูกตามขอบหนองและบึงเป็น บริเวณกว้าง จนไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้

            การขุดลอกดินที่ก้นหนองและบึงให้ลึก ลง จึงเป็นวิธีการเพิ่มจำนวนน้ำที่จะเก็บให้เพียง พอกับความต้องการได้อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งวิธีการนี้ สามารถเพิ่มปริมาณน้ำในหนองและบึงโดยมีระดับ น้ำเก็บกักเท่ากับที่เคยเป็นอยู่ตามปกติ แต่ควรพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายอย่างรอบคอบ เนื่องจากจำนวนน้ำที่เก็บได้มากขึ้นนั้น จะต้องขุดดินที่ก้นหนองและบึง นำออกไปทิ้ง ด้วยปริมาณที่เท่าๆ กันนั่นเอง

            น้ำในหนองและบึงสามารถสูบขึ้นไป ใช้ปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกพืชไร่ ใช้เลี้ยงสัตว์ ตลอดจนใช้สำหรับอุปโภคบริโภคภายในหมู่บ้าน และใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเลี้ยงปลาได้ด้วย

๔. งานฝายทดน้ำ

            เป็นงานก่อสร้างฝาย ซึ่งเป็นอาคารที่สร้างปิดขวางทางน้ำไหล เพื่อ ทดน้ำที่ไหลมาให้มีระดับสูง จนสามารถผันเข้า ไปตามคลองหรือคูส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกตาม บริเวณสองฝั่งลำน้ำ ส่วนน้ำที่เหลือจะไหลล้น ข้ามสันฝายไปเอง

ฝายทดน้ำ ช่วยทดน้ำที่ไหลมาให้มีระดับสูง แล้วส่งเข้าคลองส่งน้ำฝายทดน้ำ ช่วยทดน้ำที่ไหลมาให้มีระดับสูง แล้วส่งเข้าคลองส่งน้ำ

            โดยทั่วไปเราสามารถสร้างฝายปิดกั้น ลำน้ำธรรมชาติได้ทุกแห่งตามที่ต้องการ สำหรับลำน้ำที่มีน้ำไหลมามากอย่างเพียงพอ และค่อนข้างสม่ำเสมอ ตลอดฤดูกาลเพาะปลูก ฝายจะช่วย ทดน้ำในช่วงที่ไหลมาน้อย และมีระดับต่ำกว่าตลิ่งนั้นให้สูงขึ้น จนสามารถผันส่งเข้าคลอง เป็นประโยชน์ต่อการเพาะปลูกได้อย่างเต็มที่ ส่วนลำน้ำสายใด ถ้าหากมีน้ำไหลมาด้วยปริมาณที่ไม่แน่นอน กล่าวคือ มีน้ำไหลจำนวนมากบ้างน้อยบ้าง หรือ มีน้ำไหลเฉพาะเวลาที่ฝนตก เมื่อสภาพภูมิประเทศไม่เหมาะต่อการสร้างเขื่อนดินไว้เก็บน้ำ อาจพิจารณาสร้างฝายปิดกั้นเฉพาะในลำน้ำขึ้นแทน เพราะถึงแม้ว่า จะเกิดประโยชน์ต่อการเพาะปลูกได้เพียงช่วงเวลาที่มีน้ำไหลมาก็ตาม แต่น้ำ ซึ่งเก็บไว้ในลำน้ำด้านหน้าฝาย จะใช้สำหรับอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง พอที่จะบรรเทาความเดือดร้อน ของประชาชนเกี่ยวกับน้ำกินน้ำใช้ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมสร้างฝายปิดกั้นลำน้ำธรรมชาติ ในทำเลที่ไม่สามารถก่อสร้างเขื่อนดิน เพื่อเก็บกักน้ำได้

            นอกจากการก่อสร้างฝายทดน้ำปิดกั้น ลำน้ำต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ลำน้ำที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีน้ำไหลมากในฤดูฝน จะนิยมสร้างเป็นเขื่อนทดน้ำแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะไม่ทึบ ตันเหมือนฝาย เรียกว่า "เขื่อนระบายน้ำ" โดยเขื่อนระบายน้ำจะสามารถทดน้ำได้สูงทุกระดับ ตามต้องการ และนอกจากนี้ ในเวลาน้ำหลาก มามากเต็มที่ เขื่อนระบายน้ำก็ยังสามารถระบาย น้ำให้ผ่านไปได้ทันทีในปริมาณที่มากกว่าฝาย คล้ายกับน้ำซึ่งไหลมาตามลำน้ำธรรมชาตินั้น ตามปกติ
เขื่อนระบายน้ำ
เขื่อนระบายน้ำ
๕. งานคลองส่งน้ำ

            คลองส่งน้ำคือ ทางน้ำที่ขุดหรือก่อสร้างขึ้น เพื่อนำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ จากอ่างเก็บน้ำ และจากแหล่งน้ำด้านหน้าฝาย หรือหน้าเขื่อนระบายน้ำ แจกไปให้พื้นที่เพาะปลูก หรือบริเวณที่ต้องการน้ำ คลองส่งน้ำทุกสายจะมีแนวไปตามบริเวณที่สูง ซึ่งสามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่ที่ต้องการน้ำทั้งหมดได้ โดยคลองที่สร้างจะมีขนาดและสัดส่วนพื้นที่รูปตัดขวางของตัวคลอง โตพอที่จะส่งน้ำในปริมาณที่ต้องการ และมีระดับน้ำในคลองสูง เพื่อการส่งออกไปยังบริเวณที่ต้องการน้ำได้อย่างสะดวก นอกจากนั้น บริเวณคลองส่งน้ำทุกสาย จะต้องสร้างอาคารประเภทต่างๆ ตามความเหมาะสม เพื่อใช้ควบคุม และบังคับน้ำให้สามารถส่งไปตามคลอง จนถึงพื้นที่ทุกแห่งที่ต้องการ
คลองส่งน้ำ
คลองส่งน้ำ
            สำหรับงานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการ เกษตร เรานิยมสร้างคลองส่งน้ำในเขตพื้นที่ โครงการอ่างเก็บน้ำ โครงการฝาย หรือเขื่อนระบายน้ำ และโครงการสูบน้ำ เพื่อใช้ส่งน้ำให้กับ พื้นที่เพาะปลูกหรือบริเวณที่ต้องการน้ำให้ทั่วถึง ในบางท้องที่ ถ้าสภาพภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีลำน้ำธรรมชาติซึ่งตามปกติน้ำที่ไหลมาในฤดูกาลเพาะปลูก มีระดับสูงเสมอตลิ่ง หรือต่ำกว่าตลิ่งเพียงเล็กน้อยทุกปี ก็จะขุดคลองโดยเริ่มต้นจากลำน้ำ ดังกล่าวเข้าไปในพื้นที่เพาะปลูก แล้วสร้างอาคาร ประตู หรือท่อระบายน้ำ พร้อมกับติดตั้งบานประตู สำหรับบังคับน้ำกั้นอยู่ที่ปลายคลองในบริเวณใกล้ กับลำน้ำธรรมชาตินั้น ก็จะสามารถเก็บกักน้ำ ซึ่งไหลเข้าไปให้ขังอยู่ในคลองหลังจากที่น้ำใน ลำน้ำธรรมชาติมีระดับลดลง แล้วเก็บไว้ใช้ เพื่อการเกษตรในระยะฤดูแล้งได้

๖. งานสูบน้ำ

            เป็นงานสูบน้ำจากแหล่งน้ำ ให้สูงขึ้นถึงระดับพื้นดิน ที่สามารถส่งน้ำต่อไปตามคลองส่งน้ำ ให้กับพื้นที่เพาะปลูก แหล่งน้ำดังกล่าว อาจเป็นแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง และอ่างเก็บน้ำ ซึ่งจะต้องมีน้ำเพียงพอให้สูบไปใช้งานได้ ในเวลาที่ต้องการ
            เครื่องสูบน้ำที่ติดตั้ง อาจเป็นแบบใช้ไฟฟ้า เมื่ออยู่ในท้องที่ซึ่งมีสายส่งไฟฟ้า ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคผ่าน หรืออาจติดตั้งเครื่อง สูบน้ำแบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ หรือบาง กรณีอาจติดตั้งเครื่องสูบน้ำแบบขับเคลื่อนด้วย พลังน้ำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของท้องที่ นั้นๆเครื่องสูบน้ำด้วยพลังน้ำ
เครื่องสูบน้ำด้วยพลังน้ำ
            งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรแต่ละ ประเภทดังกล่าว จะมีความเหมาะสมกับสภาพ ภูมิประเทศ แหล่งน้ำธรรมชาติ และความต้องการ น้ำของราษฎรหรือพื้นที่เพาะปลูก ที่มีความแตกต่างกันไป ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการพิจารณาเลือกประเภท กำหนดขนาด และรูปแบบ ของงานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ให้สามารถ สนองความต้องการและขจัดปัญหาการขาดแคลนน้ำ ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพท้องที่
การสูบน้ำเข้าคลองส่งน้ำ
การสูบน้ำเข้าคลองส่งน้ำ
            สำหรับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการ เกษตรตามพระราชดำริที่มีการก่อสร้างตามท้องที่ต่างๆ ในทุกภาคของประเทศ เกือบทั้งหมด เป็นโครงการประเภทอ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ และเขื่อน ระบายน้ำ พร้อมด้วยงานก่อสร้างระบบส่งน้ำ เพื่อการส่งน้ำไปช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกให้ทั่วถึง โดยระบบส่งน้ำที่มีราคาถูกและนิยมก่อสร้าง ได้แก่ ระบบส่งน้ำ ซึ่งประกอบด้วยคลองส่งน้ำ และสิ่งก่อสร้างประเภทต่างๆ ตามคลองเหล่านั้น สำหรับ ท้องที่บางแห่งถ้าหากสภาพภูมิประเทศมีความ ลาดชันมาก ทำให้ระบบคลองส่งน้ำมีความไม่ เหมาะสมเนื่องจากค่าก่อสร้างสูงเกินไป อาจสร้างระบบส่งน้ำเป็นระบบท่อแบบเดียวกับท่อส่งน้ำประปา เพื่อรับน้ำจากอ่างเก็บน้ำหรือจาก แหล่งน้ำด้านเหนือฝาย แล้วส่งไปให้ทั่วพื้นที่ใน เขตโครงการ