การเลือกประเภทงานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ในการเลือกประเภทงานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ต้องมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการใช้น้ำ ศึกษาสภาพแหล่งน้ำธรรมชาติ และตรวจสอบภูมิประเทศในบริเวณที่จะก่อสร้างงานพัฒนาแหล่งน้ำ ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการก่อนเสมอ เพื่อประกอบการพิจารณาว่า สมควรเลือกสร้างงานพัฒนาแหล่งน้ำประเภทใด จึงจะมีความเหมาะสม และได้ประโยชน์ตามที่ต้องการ ๑. ความต้องการใช้น้ำ ประกอบด้วย ๑.๑ ความต้องการน้ำเพื่อการเพาะปลูก เป็นปริมาณน้ำที่พืชต้องการ เพื่อการเจริญ เติบโต โดยพื้นที่เพาะปลูก อาจได้รับน้ำดังกล่าวจากน้ำฝน ได้จากฝนรวมกับน้ำ ที่จัดหามาเพิ่มเติม จากงานพัฒนาแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น หรือใช้แต่น้ำ ที่ได้มาจากงานพัฒนาแหล่งน้ำ ที่สร้างขึ้นอย่างเดียว ซึ่งปริมาณดังกล่าว เป็นน้ำที่พืชใช้ เพื่อการเจริญเติบโตในแปลงเพาะปลูก รวมกับน้ำที่สูญเสีย เนื่องจากการรั่วซึมลงในดิน และที่ไหลออกจากแปลงปลูกพืชไปตามผิวดินด้วย | |||
อ่างเก็บน้ำ สามารถเก็บน้ำจำนวนมากเพื่อใช้ในการเกษตร | |||
๑.๑.๑ ความต้องการน้ำในนา ต้นข้าวในระยะแรกปลูกต้องการน้ำจำนวนไม่มาก และต้องการเพิ่มมากขึ้นๆ จนต้องการน้ำมากที่สุด ในระยะที่ต้นข้าวออกรวง จนถึงระยะที่เมล็ดข้าวเริ่มแก่ จึงระบายน้ำออก การทำนาในประเทศไทย น้ำที่ใช้เพื่อการปลูกข้าว โดยเฉลี่ยตั้งแต่ระยะไถคราด เตรียมแปลง แล้วปล่อยน้ำขังในนาตอนเริ่มปักดำ ถึงระยะเก็บเกี่ยว จะต้องการรวมทั้งหมด เป็นความลึกประมาณ ๑,๓๐๐ มิลลิเมตร ๑.๑.๒ ความต้องการน้ำสำหรับ พืชไร่ ผัก และต้นไม้ผล พืชไร่ ผัก และต้นไม้ผล มีความต้องการน้ำมากหรือน้อย ในปริมาณแตกต่างกัน นอกจากนั้น แต่ละช่วงของการเจริญเติบโต สำหรับพืชต่างๆ ก็ต้องการน้ำในอัตราไม่เท่ากัน นั่นคือ ระยะแรกปลูก พืชมีความต้องการน้ำน้อย และจะต้องการเพิ่มมากขึ้น จนต้องการน้ำมากที่สุด ในระยะที่พืชออกดอก และมีผล จนกระทั่งผลเริ่มแก่เต็มที่ จึงต้องการน้ำน้อยมาก เช่น ผักที่ปลูกในประเทศไทย โดยเฉลี่ย จะต้องการน้ำ รวมตลอดอายุของผัก เป็นความลึกประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ มิลลิเมตร ส่วนพืชไร่ เช่น ข้าวโพด จะต้องการน้ำ รวมตลอดอายุที่ปลูกประมาณ ๓๕๐ - ๔๐๐ มิลลิเมตร ฯลฯ | |||
คูส่งน้ำสามารถกระจายน้ำให้แก่นาข้าวได้เป็นอย่างดี | |||
๑.๒ ความต้องการน้ำเพื่อการเลี้ยงสัตว์ ในท้องถิ่นที่สัตว์เลี้ยงขาดแคลนน้ำเป็นประจำ งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ควรพิจารณารวมน้ำสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ด้วย ตามเกณฑ์โดยประมาณคือ วัวและควายต้องการน้ำตัวละประมาณ ๕๐ ลิตรต่อวัน หมูตัวละประมาณ ๒๐ ลิตรต่อวัน และไก่ตัวละ ประมาณ ๐.๑๕ ลิตรต่อวัน เป็นต้น ๑.๓ ความต้องการน้ำของราษฎรในหมู่บ้าน หมู่บ้าน และตำบล ซึ่งขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง ราษฎรมักขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ที่จะสร้างอยู่ในบริเวณใกล้กับหมู่บ้าน จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งแก่ราษฎรในชนบท ซึ่งจะมีน้ำ เพื่อการใช้สอยได้ตลอดทั้งปี โดยทั่วไป ราษฎรในชนบทที่ขาดแคลนน้ำ จะต้องการน้ำประมาณวันละ ๖๐ ลิตร ต่อคน | |||
ท่อส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก | ๑.๔ ความต้องการน้ำสำหรับเลี้ยงปลา แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรส่วนใหญ่ใช้เป็นที่เลี้ยงปลาได้ เช่น อ่างเก็บน้ำ สระเก็บน้ำ รวมทั้งหนองและบึง ที่ขุดแล้วมีน้ำตลอดปี ในช่วงปลายฤดูแล้ง หรือก่อนที่จะมีน้ำท่าไหลลงมาให้เก็บกักใหม่ ควรกำหนดให้เหลือน้ำในแหล่งน้ำมีความลึกไม่น้อยกว่า ๑ เมตร เพื่อที่ปลาจะได้มีชีวิต และเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องไปได้ดี | ||
๒. สภาพแหล่งน้ำ แหล่งน้ำที่เหมาะสม สำหรับงานพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร แต่ละประเภท มีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้ ๒.๑ แหล่งน้ำที่ควรสร้างอ่างเก็บน้ำ เป็นแหล่งน้ำบนผิวดินประเภทลำน้ำ ได้แก่ ลำน้ำ ที่มีน้ำไหลตลอดปี มีน้ำไหลเฉพาะในฤดูฝน หรือลำน้ำ ซึ่งไม่มีน้ำไหลในฤดูแล้ง อ่างเก็บน้ำที่สร้าง จะเก็บน้ำที่ไหลลงมามากตอนช่วงฤดูฝน ให้เป็นแหล่งน้ำสำรอง สำหรับใช้เพื่อการเกษตรได้ ทั้งในฤดูฝน และฤดูแล้ง | |||
ถังกรองน้ำเพื่อการบริโภค | |||
๒.๒ แหล่งน้ำที่ควรสร้างสระเก็บน้ำ เป็นแหล่งน้ำบนผิวดินเช่นเดียวกับอ่างเก็บน้ำ แต่สระเก็บน้ำเป็นงานขนาดเล็ก ซึ่งเก็บน้ำได้น้อย ตามจำนวนดินที่ขุดขึ้นไปจากสระ จึงไม่ต้องการแหล่งน้ำบนผิวดินที่เป็นลำธาร หรือลำห้วย เหมือนกับงานอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำที่ควรเลือกสร้างงานสระเก็บน้ำ ได้แก่ ร่องน้ำขนาดเล็ก บริเวณพื้นที่ลาดเอียง ซึ่งมีน้ำไหลลงสู่ที่ต่ำ พื้นที่ราบ พื้นที่ลุ่ม มีน้ำท่วมเป็นครั้งคราว ตลอดจนพื้นที่บริเวณที่มีระดับน้ำใต้ผิวดินอยู่ตื้น ๒.๓ แหล่งน้ำที่ควรขุดลอก ได้แก่ หนองและบึง ที่มีสภาพตื้นเขิน จนเก็บขังน้ำตอนช่วงฤดูฝนไว้ได้ไม่มากเท่าที่ควร และเป็นเหตุให้น้ำที่เก็บไว้ มีไม่พอใช้ในฤดูแล้ง | |||
การพัฒนาแหล่งน้ำช่วยให้สัตว์เลี้ยงไม่ขาดแคลนน้ำ | |||
๒.๔ แหล่งน้ำที่ควรสร้างฝายทดน้ำ ได้แก่ ลำน้ำลำห้วยที่มีน้ำไหลตลอดปี หรือเกือบตลอดปี โดยฝายจะมีโอกาสทดและผันน้ำไปใช้ เพื่อเพาะปลูกพืชได้ทุกเวลาที่ต้องการ และเมื่อลำน้ำสายใดไม่มีน้ำไหลตลอดเวลา หรือเกือบทั้งปี ถ้าหากภูมิประเทศไม่สามารถสร้างเป็นอ่างเก็บน้ำได้แล้ว ที่ลำน้ำดังกล่าวก็ควรพิจารณาสร้างเป็นฝายแทน ซึ่งจะสามารถทดน้ำไปใช้ในการเพาะปลูกได้ ตลอดระยะฤดูฝนที่มีน้ำไหล ส่วนในฤดูแล้ง เมื่อไม่มีน้ำไหล ฝายจะทำหน้าที่เก็บน้ำไว้ในลำน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค หรืออาจแบ่งไปใช้ปลูกพืชผักสวนครัวได้บ้าง
๒.๕ แหล่งน้ำที่ควรสร้างคลองส่งน้ำ เป็นแหล่งน้ำบนผิวดินประเภทต่างๆ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำถาวรมีน้ำให้ใช้ตลอดปี แหล่งน้ำด้านหน้าฝายและเขื่อนระบายน้ำ และลำน้ำขนาดใหญ่ ที่มีน้ำไหลมามากในฤดูกาลเพาะปลูก จนมีระดับเสมอตลิ่งหรือใกล้เคียงกับตลิ่งทุกปี ๒.๖ แหล่งน้ำที่ควรสูบน้ำไปใช้ ได้แก่ แหล่งน้ำที่มีน้ำตลอดปี หรือมีน้ำให้สูบขึ้นมาใช้ เมื่อต้องการ เช่น อ่างเก็บน้ำ ในกรณีสูบน้ำขึ้น ไปใช้เพาะปลูกในบริเวณของอ่างเก็บน้ำ และ ลำน้ำต่างๆ ซึ่งมีน้ำไหลในฤดูกาลเพาะปลูก เป็นต้น |
๓. สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศ ของบริเวณที่จะก่อสร้าง งานพัฒนาแหล่งน้ำทุกประเภท มีความสำคัญที่จะต้องพิจารณา พร้อมกับสภาพแหล่งน้ำเสมอ ในบางท้องที่ แม้ว่าแหล่งน้ำจะเอื้ออำนวยให้ทำการพัฒนาได้ ถ้าหากภูมิประเทศไม่เหมาะสม อาจเป็นสาเหตุทำให้เสียค่าก่อสร้างจำนวนมาก จนต้องยกเลิกโครงการ เนื่องจากได้รับประโยชน์ไม่คุ้มกับการลงทุนก็ได้ | ภูมิประเทศบริเวณสร้างเขื่อนดิน ต้องมีเนินสองฝั่งลำน้ำใกล้กัน | ||||||||||||||||||||||||||||
แนวทางการเลือกประเภทงานพัฒนา แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้เหมาะสมกับสภาพแหล่ง น้ำ ภูมิประเทศ และความต้องการน้ำไปใช้ประโยชน์ ได้สรุป ไว้ในตาราง ดังนี้
|