ธนาคารโค-กระบือ ปัจจุบันเกษตรกรยากจนในชนบทประมาณ ร้อยละ ๒๐ ต้องประสบปัญหาเรื่องขาดโค-กระบือ เพื่อใช้งานในการประกอบอาชีพ จำเป็นต้องเสียค่าเช่าโค-กระบือ ในอัตราสูง คิดเป็นผลิตผลข้าว ไม่น้อยกว่า ๕๐-๑๐๐ ถัง ต่อโค-กระบือ ๑ ตัว ในหนึ่งฤดูการทำนา นอกจากนี้ เกษตรกรยากจนเหล่านี้ ก็ไม่มีโอกาสเป็นเจ้าของโค-กระบือได้เลย เนื่องจากราคาสูง และต้องใช้เงินสดในการซื้อ ดังนั้น กรมปศุสัตว์จึงได้ดำเนินการจัดตั้งโครงการ ธนาคารโค-กระบือขึ้น เพื่อให้เกษตรกรยากจนได้พ้นจากสภาพปัญหาดังกล่าว "...ธนาคารโคและกระบือ ก็คือ การรวบรวม โคและกระบือโดยมีบัญชีควบคุมดูแลรักษา แจก- จ่าย ให้ยืม เพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตร และเพิ่มปริมาณโคและกระบือตามหลักการของธนาคาร ธนาคารโคและกระบือเป็นเรื่องใหม่ของโลก ที่มีความจำเป็นเกิดขึ้น เพราะปัจจุบัน มีความคิดแต่จะใช้เครื่องกลไกเป็นเครื่องทุ่นแรง ในกิจการเกษตร แต่เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแพงขึ้น ความก้าวหน้าในการใช้เครื่องกลไกเสียไป จำเป็นต้องหันมาพึ่งแรงงานจากสัตว์ที่เคยใช้อยู่ก่อน เมื่อหันกลับมาก็ปรากฏว่า มีปัญหามาก เพราะชาวนาไม่มีเงินซื้อโคกระบือมาเลี้ยง เพื่อใช้แรงงาน ธนาคารโคและกระบือพอจะอนุโลมใช้ได้ เหมือนกับธนาคารที่ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน เพราะโดยความหมายทั่วไป ธนาคารก็ดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งที่มีค่ามีประโยชน์ การตั้งธนาคารโคและกระบือก็มิใช่ว่าตั้งโรงขึ้นมาเก็บโคหรือกระบือ เพียงแต่มีศูนย์กลางขึ้นมา เช่น อาจจัดให้กรมปศุสัตว์เป็นศูนย์รวม ใครจะสมทบ ธนาคารโคและกระบือก็ไม่จำเป็นต้องนำโคหรือกระบือไปมอบให้ อาจบริจาคในรูปของเงิน..." พระบรมราโชวาทซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่สมาชิกกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ ณ บริเวณโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เมื่อวันพืชมงคล ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๒๓ เพื่อให้เกิดประสิทธิผล วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้เกษตรกรยากจนเป็นเจ้าของ ลูกโค-กระบือ ซึ่งเกิดจากแม่โค-กระบือที่ให้ยืม เพื่อการผลิตลูกและใช้งาน โดยแบ่งครึ่งจำนวนลูกโค-กระบือกับธนาคาร | |
กระบือ ปัจจัยในการผลิตที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในการทำนา ของเกษตรกร | |
๒. เพื่อให้เกิดระบบธนาคารโค-กระบือ อย่างแท้จริง ลูกโค-กระบือที่เกิดใหม่ จะเป็นของหมู่บ้าน โดยมอบให้คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) หรือ อพป. เป็นผู้บริหารงานการจัดสรร และคัดเลือกเกษตรกรที่สมควรให้ยืม เพื่อการผลิตต่อไป ซึ่งเป็นการใช้โค-กระบืออย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิผล ๓. เพื่อเป็นแกนกลางและเป็นแบบอย่าง ให้องค์กรเอกชนดำเนินการในลักษณะเดียวกัน วิธีดำเนินการ ๑. การจัดหาโค-กระบือให้ยืมเพื่อการผลิตและใช้งาน โครงการจะจัดหาแม่โค-กระบือ ให้แก่เกษตรกรยากจนยืมครอบครัวละ ๑ ตัว โดยผู้ยืมจะต้องแบ่งลูกโค-กระบือที่เกิดมาคนละครึ่ง กับธนาคารโค-กระบือ ซึ่งมีคณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นผู้บริหารธนาคาร ทั้งนี้โดยราษฎรในหมู่บ้าน มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของธนาคาร โดยลูกตัวที่ ๑ จะเป็นของธนาคาร และลูกตัวที่ ๒ จะเป็นของราษฎรผู้ยืม ทั้งนี้ แม่โค-กระบือยังเป็นของโครงการฯ อยู่ เมื่อลูกตัวที่ ๒ โตพอที่จะใช้งานได้แล้ว ธนาคารจะนำแม่โค-กระบือคืน เพื่อนำไปให้ราษฎรรายอื่นยืมต่อไป โดยการยืมนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากปศุสัตว์อำเภอ เพื่อทำสัญญาการยืมกับโครงการฯ ส่วนลูกโค-กระบือที่เป็นของธนาคาร ทางคณะกรรมการ กม. หรือ อพป. จะเป็นผู้พิจารณาว่า จะให้ราษฎรผู้ใดยืม ทั้งนี้โดยให้ปศุสัตว์อำเภอร่วมให้ความเห็นชอบด้วย ๒. การคัดเลือกเกษตรกรผู้ยืมโค-กระบือ พิจารณาจาก ๒.๑ ระดับรายได้สุทธิต่อปี คือ จัดกลุ่มเกษตรกร ที่มีรายได้ที่หักค่าใช้จ่าย ในการประกอบอาชีพแล้ว ที่อยู่ในจำนวนใกล้เคียงกัน ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ๒.๒ การเช่าที่ดิน และโค-กระบือ เกษตรกรผู้ใดที่เช่าทั้งที่ดิน และโค-กระบือ จะได้รับการพิจารณาก่อนคนที่เช่าเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ในที่นี้จะพิจารณาระดับรายได้ด้วย คณะกรรมการหมู่บ้านจะเป็นผู้คัดเลือก เกษตรกรยากจนที่มีรายได้ต่ำ จำเป็นต้องเช่าโค- กระบือ มีความประพฤติดี และขยันขันแข็ง จะเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกก่อน แล้วจะลดหลั่นลงมา โดยดูจากรายได้และการเช่าปัจจัยการผลิต นอก จากนั้นในหมู่บ้านใดที่มีวัด จะได้เชิญพระภิกษุ- สงฆ์หรือเจ้าอาวาสมาร่วมในการพิจารณาคัดเลือกตัวบุคคลด้วย เพื่อให้ได้บุคคลที่เชื่อถือได้ และมีความรู้สึกผูกพันกับวัด ซึ่งจะทำให้โครงการนี้ ดำเนินการไปอย่างได้ผล | |
โค ปัจจัยในการผลิตที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการทำนาของเกษตรกร การจัดตั้งธนาคารโค-กระบือ เพื่อให้เกษตรกรที่ยากจนยืม เพื่อการผลิตและใช้งาน นับเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีทุนหรือมีปัจจัยอย่างหนึ่ง ในการดำเนินงาน | |
๓. การจัดหาโค-กระบือ เมื่อกรมปศุสัตว์ได้รับอนุมัติงบประมาณแล้ว จะพิจารณาจัดสรรเงินให้จังหวัดต่างๆ เพื่อจัดซื้อโค-กระบือ สำหรับใช้ตามโครงการ ในการจัดซื้อ ควรให้เกษตรกรผู้ได้รับการคัดเลือกให้ยืมโค-กระบือ เป็นผู้ร่วมในการจัดหา และควรที่จะจัดซื้อในท้องที่ ที่จะดำเนินโครงการ ถ้าจำเป็นต้องซื้อในท้องถิ่นอื่น ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ ถือเป็นงบประมาณดำเนินการ ๔. การทำสัญญา ทางจังหวัดจะมอบอำนาจให้อำเภอทำสัญญาแทน โดยมีประธานสภาตำบล ประธานกรรมการหมู่บ้านเป็นพยาน และให้ใช้เอกสาร ตามที่โครงการนี้ได้กำหนดไว้ โดยผู้ยืมโค-กระบือจะต้องมีผู้ค้ำประกัน หรือผู้รับรอง ในกรณีที่หาไม่ได้ คณะกรรมการจะเป็นผู้หาให้ ๕. การดำเนินการเกี่ยวกับการยืมโค-กระบือเพื่อการผลิต เมื่อลูกโค-กระบือของธนาคารฯ มีอายุ ๑๘ เดือน ให้ดำเนินการ ดังนี้ ๑) หากลูกโค-กระบือของธนาคารฯ เป็นตัวเมีย ให้คณะกรรมการหมู่บ้านพิจารณา คัดเลือกเกษตรกรยากจนตามข้อ ๒ และนำโค-กระบือไปให้ผู้ได้รับการคัดเลือกยืม เพื่อการผลิตและใช้งานต่อไป ทั้งนี้ต้องรายงานเสนอให้ปศุสัตว์อำเภอเห็นชอบด้วย อนึ่ง ถ้าคณะกรรมการหมู่บ้านเห็นว่า จะสามารถหาผู้ยืมลูกโค-กระบือได้ ก่อนที่ลูกโค-กระบือจะมีอายุถึง ๑๘ เดือน ก็สามารถดำเนินการได้ ๒) หากลูกโค-กระบือของธนาคาร เป็นตัวผู้ ให้ กม. พิจารณาแลกเปลี่ยนเป็นตัวเมียกับเกษตรกรที่ต้องการจะแลกเปลี่ยนด้วย ในกรณีที่ไม่สามารถแลกเปลี่ยนได้ ให้จำหน่าย และรวบรวมเงินไว้เป็นทุน สำหรับซื้อโค-กระบือตัวเมีย เพื่อใช้ในการดำเนินงาน ๓) เมื่อลูกโค-กระบือตัวที่ ๒ อายุ ครบ ๑๘ เดือน ผู้ยืมจะได้รับลูกโค-กระบือตัวนี้ และทางโครงการฯ จะนำแม่โค-กระบือไปให้ราษฎรยากจนรายอื่นยืม เพื่อการผลิตต่อไป |