เล่มที่ 15
มลพิษทางอากาศ
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
เรือยนต์
เรือยนต์

รถไฟ
รถไฟ


การปรับแต่งเครื่องยนต์เป็นประจำ เป็นการควบคุมการเกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ก๊าซไฮโดรคาร์บอนและก๊าซไนทริกออกไซด์ให้ ลดน้อยลง

การจราจรที่ติดขัด นอกจากจะเผาผลาญน้ำมันโดยเปล่าประโยชน์แล้วยังทำให้เกิดปัญหามลพิษตามมาด้วย
การจราจรที่ติดขัด นอกจากจะเผาผลาญน้ำมันโดยเปล่าประโยชน์แล้วยังทำให้เกิดปัญหามลพิษตามมาด้วย
แหล่งกำเนิดของมลพิษในอากาศ

            มลพิษในอากาศเกิดจากแหล่งกำเนิด ๒ ประเภทคือ แหล่งซึ่งเคลื่อนที่ได้ กับแหล่งซึ่งเคลื่อนที่ไม่ได้ ตามปกติยานยนต์ ทำให้เกิดมลพิษ ขณะเคลื่อนที่ จึงจัดรวมเป็นประเภทแรก เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง เครื่องบิน รถไฟ เรือหางยาว และเรือยนต์ต่างๆ ส่วนประเภทที่สอง ได้แก่ การอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งโรงจักรไฟฟ้า ฯลฯ แหล่งเหล่านี้ระบายสารพิษออกสู่บรรยากาศขณะอยู่กับที่

            ยานยนต์ทำให้เกิดมลพิษจากการสันดาปเชื้อเพลิงภายในเครื่องยนต์เป็น หลัก แต่เชื้อเพลิงอาจรั่วไหลก่อนการสันดาปจากถังน้ำมัน ท่อส่ง และรูในคาร์บูเรเตอร์ ฯลฯ จึงเกิดมลพิษได้อีกเช่นกัน ในการอุตสาหกรรมนั้น จำเป็นต้องใช้พลังงาน ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าจากโรงจักร หรือความร้อนจากหม้อน้ำภายในโรงงาน ดังนั้นจึงเกิดมลพิษจากการสันดาป เพื่อผลิตพลังงาน ควบคู่ไปกับส่วนที่เกิดจากกระบวนการต่างๆ เพื่อผลิตสินค้า

            การคมนาคมใช้เชื้อเพลิงเกินกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณเชื้อเพลิงทั้ง ประเทศ ใน พ.ศ. ๒๕๓๒ ในส่วนนี้รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถรับจ้าง (แท็กซี่) และรถบรรทุกขนาดเล็ก (ปิกอัพ) ทำให้เชื้อเพลิงหมดเปลืองไปเสียกึ่งหนึ่ง เมื่อลองคาดคะเนปริมาณสารมลพิษแต่ละชนิดของทั้งประเทศ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ พบว่า เกิดไฮโดรคาร์บอน ไนโตรเจนออกไซด์ และคาร์บอนมอนอกไซด์ จากการขนส่งคมนาคมเป็นหลัก หรือคิดเป็นร้อยละ ๔๐, ๖๗ และ ๘๗ ตามลำดับ ภายในยี่สิบปีต่อจากนั้นคาดว่า อัตราส่วนเหล่านี้จะกลายเป็น ร้อยละ ๘๘, ๖๐ และเกือบ ๑๐๐ ตามลำดับ ส่วนสารตะกั่วในอากาศมาจากการขนส่งทั้งสิ้น จึงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของรถยนต์ต่างๆ ในเรื่องมลพิษทางอากาศ

            ในเมืองใหญ่เช่น กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และนครราชสีมา เป็นต้น มักมีการจราจรติดขัดอยู่เนืองๆ จะสังเกตเห็นฝุ่นฟุ้ง บางครั้งละอองเหล่านี้จับตัวเป็นกลุ่มควันลอยหนาตา ประกอบกับมีรายงานยืนยันว่า มีฝุ่นละอองเกินมาตรฐานอยู่มากมาย และมีแนวโน้มสูงขึ้นชัดเจน จึงสรุปได้ว่า ในเมืองใหญ่ๆ นั้น

            ก. รถยนต์ทำให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศอย่างรุนแรง และสารมลพิษสำคัญเหล่านี้คือ ฝุ่นละออง คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน และตะกั่ว เป็นต้น

            ข. จะมีมลพิษทางอากาศมากขึ้นอีกในอนาคต

            ค. ควรควบคุม และแก้ไขปัญหาโดยด่วน

            รถยนต์เคลื่อนที่ เพราะได้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง แรงขับเคลื่อนเกิดขึ้นจากการจุดระเบิดน้ำมันในเครื่องยนต์ แล้วส่งกำลังไปกำกับล้อรถ ดังนั้น สารมลพิษส่วนใหญ่จึงเกิดจากการสันดาปในเครื่องยนต์ แล้วออกสู่บรรยากาศทางท่อไอเสีย ได้แก่

            ก. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์

            ข. สารตะกั่วร้อยละ ๗๐-๘๐ ส่วนที่เหลือ ร้อยละ ๒๐-๒๕ ตกค้างอยู่ในท่อไอเสียและน้ำมัน หล่อลื่น

            ค. ไฮโดรคาร์บอน (รวมทั้งเชื้อเพลิงที่ยัง ไม่ผ่านการสันดาป) ร้อยละ ๖๕ อีกร้อยละ ๒๐ เล็ดลอดในรูปไอน้ำมัน และไอเสียผ่านตัวเครื่อง ที่เหลือร้อยละ ๑๕ เป็นเชื้อเพลิงที่ระเหยออกจากถังน้ำมัน และคาร์บูเรเตอร์