โรงเรียนเพาะช่างหลังใหม่ รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเมื่อวันที่๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๖ วิชาช่างถมโรงเรียนเพาะช่าง
วิชาช่างถมที่เปิดสอนในโรงเรียนเพาะช่างเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ (ตำรา "ถม นคร") เรียกว่า วิชารูปพรรณและถม ได้แก่ การขึ้นรูป สลักลาย และลงถม
ดำรง โมลีกุล เขียนอธิบายเกี่ยวกับวิชาช่างถมในโรงเรียนเพาะช่างไว้ในเรื่อง "การ ทำบล็อกแม่พิมพ์" ดังนี้
พ.ศ.๒๔๖๑ - ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ในขณะที่เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ มาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง พระองค์ได้ทรงตั้งแผนกช่างทองแผนกเจีย ระไนเพชรพลอย (แผนกโลหะรูปพรรณ) และได้นำวิธีการทำบล็อกโลหะ (ดูรายละเอียดในเรื่อง "การ ทำบล็อกแม่พิมพ์") เข้ามาทำ เครื่องถมที่ต่างกับ เครื่องถมนครศรีธรรมราช คือ "ถม นคร" ใช้กรรมวิธีขึ้นรูป และสลักดุน ส่วนใดที่ต้องการลวดลายก็ดุนขึ้นมา การทำต้องใช้เวลานานมากในการขึ้นรูป สลักดุน
เมื่อเป็นเช่นนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ได้ทรงคิดค้นวิธีที่จะทำถมให้เร็วขึ้น ด้วยการนำวิธีการทำบล็อกมาช่วย โดยใช้เขียนต้นฉบับเป็นลวดลายต่างๆ และนำมาถ่ายเป็นกระจกเปียก (WET COLODION) (สมัยก่อนยังไม่ใช้ฟิล์ม) เป็นภาพ เพื่อใช้อัดลงแผ่นเงินที่ปรับแผ่นให้เรียบด้วยวิธีการรีดโลหะ นำแผ่นเงินมาเคลือบน้ำยาไวแสงเพื่อใช้อัดภาพลงไป และทำตามกรรมวิธีทำบล็อก โลหะ โดยนำแผ่นเงินไปกัดกรด ส่วนที่ถูกกรดกัดลึกก็จะนำยาถมมาลง ส่วนที่ไม่ถูกกรดกัดก็เป็นเนื้อเงิน การทำถมแบบนี้ทำได้รวดเร็วและสวยงามไป อีกแบบ แต่ต้องแกะ และประดิษฐ์ลวดลาย เพื่อเพิ่มความสวยงามใช้การตัดติดต่อแผ่น โดยใช้วิธีทำแพทเทิร์น "PATTERN" ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ เช่น กล่องถม รูปแบบกล่องที่มีฝาปิดเปิดได้ หรือเป็นกล่องเครื่องใช้
แต่ถ้าเป็นเครื่องเงินที่ขึ้นรูปของที่มีความโค้ง เช่น ขัน ตลับ แจกัน เป็นต้น ใช้วิธีการเขียน กัดกรด โดยนำของขึ้นรูปมาเขียนด้วย กาวกระถิน (GUMARABIC) ผสมสีย้อมผ้า (สีม่วง) แล้วใช้ หมึกพิมพ์คลึง และนำไปกัดกรดเช่นเดียวกัน เรียกว่า "ถม จุฑาธุช" (จากเรื่อง "การ ทำบล็อกแม่พิมพ์" หน้า ๓๑๙-๓๒๐ "ในหนังสือ ๑๐๐ ปี สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุช) |