ประเภทของเครื่องถมไทย เครื่องถมเป็นศิลปหัตถกรรมประเภทประณีตศิลป์ เครื่องถมมีอยู่ ๓ แบบ คือ ถมเงิน (หรือถมดำ) ถมทอง และถมตะทอง ถมเงินหรือถมดำ |
ถมเงินที่ดี จะต้องไม่มีตามด ลายเด่นชัด การถมพื้นนั้น เริ่มด้วยการโปรยผงถม ลงในช่องพื้นที่สลักหรือตอกลายเหยียบพื้น เมื่อเต็มพื้นแล้ว นำไปอบ จนผงถมละลายทั่วหุ่น หลังจากนั้นจึงขัดให้เนื้อสม่ำเสมอกัน จนเห็นลายเด่นชัดบนพื้นสีดำ ต้องอาศัยความชำนาญในการเขียน และการแลลาย การแลลาย หมายถึง การ ต้องแลเป็นเส้นเล็กๆ ตามลวดลายที่สลักดุน เพื่อให้เกิดความวาว ดูแล้วเหมือนเคลื่อนไหวได้ ถมเมืองนครผลิตและสลักด้วยมือ นครศรีธรรมราชยังได้ชื่อว่า มีฝีมือในการทำถมดำ ถมทอง |
การเขียนน้ำทองละลายปรอทนี้ จะต้องใช้ความประณีตเป็นอย่างมาก ต้องเขียนทับลงบนเส้นเงินเท่านั้น เมื่อเขียนเสร็จแล้ว จะใช้ความร้อนไล่ปรอทออกจากทอง ทองก็จะติดแน่นอยู่ บนพื้นที่เขียนน้ำทองนั้น ถมทองมีความงามตรง ที่เป็นสีทอง ลวดลายกระจ่างเด่นชัด ทองที่ทาทับ ก็จะมีความคงทนนับร้อยปี ถมตะทอง |
ถมปัด มีเครื่องใช้สอยอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "ถมปัด" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ ให้คำนิยามไว้ว่า "ภาชนะทองแดงที่เคลือบน้ำยา ประสมด้วยลูกปัดป่นให้เป็นผง ให้เป็นสีและลวดลายต่างๆ" ส่วนคำว่า "ปัด" ที่เป็นนาม ให้คำนิยามว่า "เม็ดแก้วมีรูกลาง สำหรับร้อยเป็นเครื่องประดับต่างๆ ที่เรียกว่า ลูกปัด" ดังนั้น แม้จะมีคำว่า ถม อยู่ด้วย ถมปัดก็ไม่ใช่เครื่องถม ดังที่กล่าวถึงมาแล้วข้างต้นนี้ เพราะเหตุว่า รูปพรรณถมปัดเป็นโลหะทองแดง และน้ำยา เคลือบประสมด้วยแก้ว ถมปัดนี้ยังไม่ทราบ ว่าเคยมี ณ ที่ใด ในประเทศไทยเครื่องลงยา ของไทยใช้น้ำยาผสมด้วยแก้ว แต่โลหะก็เป็นเงิน หรือทองคำ และหาได้เรียกกันว่า ถมปัด ไม่ ในประเทศญี่ปุ่น มีเครื่องใช้สอยชนิดหนึ่งเรียกเป็น ภาษาญี่ปุ่น ชิปโป (Shippo) ทำด้วยทองแดง หรือโลหะอื่นเคลือบน้ำยาประสมด้วยแก้ว ทาง ยุโรปก็มีเรียกว่าคลัวซอนเน (Cloisonne) ทั้งนี้ก็ ตรงกันกับถมปัด เข้าใจว่าโลหะลงยาชนิดนี้ใน ประเทศไทยคงมีขึ้นหลังเครื่องถม เมื่อเห็นลงยามี วิธีการทำคล้ายถม ก็เลยใช้คำว่าถม และเพราะ เหตุที่เคลือบด้วยแก้วสีไม่ดำ จึงเอาคำว่า "ปัด" ซึ่งหมายถึง เม็ดแก้วสีต่างๆ ประกอบเข้าไปไว้ด้วย ให้เป็นที่เข้าใจว่า เป็นชนิดที่ทำวิธีถมด้วยแก้วสี |