เล่มที่ 21
เครื่องถม
สามารถแชร์ได้ผ่าน :

ถมนครแพร่หลายเข้ามากรุงเทพฯ

สโมสรช่าง ของสามัคยาจารย์สมาคม ใช้เป็นโรงงานและที่เรียนตั้งแต่พ.ศ.๒๔๔๘ ต่อมาถูกรื้อลง และสร้างอาคารเรียนใหม่

ได้รับพระราชทานนามว่าโรงเรียนเพาะช่าง

เครื่องถม ในกรุงเทพฯ

            ในกรุงเทพมหานครมีการทำถมกันมากพอสมควร ราวๆ สมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งเรียกชื่อว่า "บ้าน พานถม" อยู่ใกล้ๆ สะพานเฉลิมวันชาติ ถนนพระสุเมรุ ชาวบ้านในกลุ่มนี้ทำพานถม ขันถมขาย แต่ไม่มีหลักฐาน ว่าทำกันมาตั้งแต่เมื่อไร มีแต่ผู้สูงอายุคนหนึ่งเล่าว่า ชาวบ้านใน "บ้านพานถม" นี้ ได้ประกอบอาชีพทำพานถม ขันถม เป็นแบบเครื่องถมนคร แต่ฝีมือไม่อยู่ในขั้นดีเยี่ยม เช่น น้ำยาถมเป็นสีดำ เหมือนสีถ่านแต่ไม่ขึ้นมันเงา การทำถมก็ไม่เรียบสนิท มักจะเป็น "รูพรุน" หรือ "ตา มด" ปัจจุบันนี้เลิกอาชีพนี้ไปหมดแล้ว

            ใน พ.ศ.๒๔๕๓ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ได้ฟื้นฟูส่งเสริมศิลปหัตถกรรมเครื่องถมนครศรีธรรมราชขึ้น ในกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๔๕๖ ได้เปิดแผนกช่างถมขึ้นเป็นกอง และแผนกหนึ่งใน "โรงเรียน เพาะช่าง" ได้รับความร่วมมือจากพระยาเพชรปราณี เจ้ากรมอำเภอ กระทรวงนครบาล ในขณะนั้น จัดหาตำรา "ถม นคร" มาใช้สอนในโรงเรียนเพาะช่างในแผนกช่างถมสำเร็จ ทำการทดลองใช้ตำราเล่ม นั้น โดยเริ่มให้ศาสตราจารย์หลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมจินดา) เป็นผู้รับหน้าที่ทดลองใช้ และเรียกขุนปราณีถมกิจ (หยุย จิตตะกิตติ) เป็นช่างถมอยู่บ้านพานถม ให้เข้ามารับราชการเป็นผู้สอนร่วมกับ ขุนประดิษฐ์ถมการ (รื่น ทัพวัฒน์) วิชาเครื่องถมนี้ได้รับการส่งเสริม โดยให้มีการเรียนการสอนในโรงเรียนเพาะช่างสืบต่อเนื่องถึงปัจจุบัน