ถม จุฑาธุช สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ลักษณะของถมจุฑาธุช ถมจุฑาธุช (ด้านหลังของลวดลายจะเป็นพื้นเรียบ) ๑. วิธีการทำเครื่องถม โดยการเขียนลวดลายแล้วกัดกรด ๒. วิธีการทำเครื่องถมโดยการถ่ายแบบลวดลายที่กัดกรดแล้ว ๒.๑ การถ่ายแบบลวดลายลงในแผ่นกระจก โดยอาศัยน้ำยาโคโลเลียน (ใช้ในยุคที่การถ่ายภาพยังไม่เจริญ) ๒.๒ การถ่ายแบบลวดลายลงบนแผ่นฟิล์ม ซึ่งยังมีใช้อยู่ในปัจจุบัน ขั้นตอน และวิธีการดังกล่าว ที่พระองค์ท่านได้ทรงคิดค้นขึ้นมานี้ ทำให้วงการทำเครื่องถมไทยสามารถพัฒนางานได้รวดเร็ว และตัดขั้นตอน ในการทำเครื่องถมไปถึง ๔ ขั้นตอน (จากการทำเครื่องถมแบบโบราณ) การที่พระองค์ท่านทรงนำเอาวิธีการดังกล่าวมา เผยแพร่นี้ นอกจากได้ประโยชน์ในเชิงวิชาการแล้ว ยังส่งผลให้เครื่องถมนั้นมีแพร่หลายในหมู่ผู้ใช้ มากขึ้น และเจริญก้าวหน้าสืบทอดมาเป็นมรดก ของชาติจนถึงปัจจุบันอีกด้วย เป็นที่รู้จักกัน ทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลกว่า ถ้าเป็นถมลักษณะอย่างนี้ต้องเป็นถมจุฑาธุช ซึ่ง เรียกตามพระนามของท่านผู้คิดค้นนั่นเอง ลักษณะของถมจุฑาธุชมีข้อสังเกตได้ดังนี้ ๑. ด้านหลังของลวดลายจะเป็นพื้นเรียบ สวยงาม ๒. ลวดลายจะทำได้ละเอียดมาก และคมชัด ๓. ลักษณะของรูปทรงจะเรียบร้อย และสวยงาม ๔. โดยทั่วไปแล้วจะมีแต่ถมสีเงิน (ถมดำ) เท่านั้นไม่นิยมทาทอง เพราะพื้นถมจะหลุดง่าย ๕. ใช้วิธีแต่งลายโดยวิธีแกะแร เพราะจะ ป้องกันการกะเทาะของพื้นถม ๖. พื้นถมนั้นจะไม่มีตามด เพราะพื้นลวดลายที่เกิดจากการกัดกรดจะลึก และเรียบเท่ากันหมด ๗. สามารถทำเป็นรูปแบบเครื่องถมยากๆ ได้ทุกรูปแบบ ๘. สามารถผลิตเครื่องถมที่เหมือนกันได้ เป็นจำนวนมาก ๙. เนื้อวัสดุที่เกิดจากการกัดกรดรูปพรรณ และแต่งลวดลายรูปพรรณจะหลุดหายไป วิชาช่างถมที่เปิดสอนในโรงเรียนเพาะช่าง ได้รับการส่งเสริมจากผู้บริหารทุกยุคทุกสมัย ทั้งวิธีทำเครื่องถมแบบโบราณ (ตำราถมนครฯ) และ "ถม จุฑาธุช" (ซึ่งมีแห่งเดียวในประเทศไทย) เพราะมีครูช่างถมที่มีฝีมือชำนาญสืบต่อจากครู ช่างถมชุดบุกเบิก (พ.ศ. ๒๔๕๖) ถึง ๔ คน คือ ครูปลอด เทียนศิริ (เมื่อเกษียณอายุได้มีโอกาส เป็นครูช่างถมของศูนย์ศิลปาชีพ ปัจจุบันถึงแก่ กรรม) ครูสะท้าน ครูเฉื่อย ชินสิริ และครูสุพัฒน์ มาลินนท์ ในด้านการเรียนการสอน แม้ว่าทางราชการให้ทุนเป็นค่าวัสดุฝึกน้อยมากคือ ๓๐๐ บาท และแม้จะเพิ่มขึ้นเป็น ๗๐๐ บาทต่อคนต่อปี โรงเรียนก็สอนให้ทำเครื่องถมได้เพียงงานชิ้นเล็กๆ เช่น กำไล ตุ้มหู กระดุม เข็มกลัด และได้นำ กรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์และเครื่องทุ่นแรงมาใช้ บ้างบางขั้นตอน คือ ปั๊มรูป และปั๊มลาย ในด้านอนุรักษ์ โรงเรียนเพาะช่างยังคงรักษาวิธีทำเครื่องถมแบบโบราณ คือ ทำด้วยมือล้วนๆ ซึ่งเป็นเครื่องถมที่ทำทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตามพระราชประสงค์ ปัจจุบันอยู่ที่พระที่นั่งวิมานเมฆ และในพระบรมมหาราชวังจะมีกลุ่มเครื่องถม พ.ช. มีการอนุรักษ์ "ถม จุฑาธุช" เพื่อรักษา และส่งเสริม ซึ่งศิลปะของไทย อาทิ การวาดเขียน การแกะสลัก การทำเครื่องลงหิน การทำเครื่อง เงินเครื่องทอง และการลงถมในลักษณะ และวิธีการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อว่า "ถม จุฑาธุช" ให้เป็นที่นิยมยิ่งๆ ขึ้น ทั้งภายใน และภายนอกประเทศ "มูลนิธิ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุช" ซึ่งมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา ทรงเป็นองค์ประธาน และเป็นองค์อุปถัมภ์สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง ได้ให้ทุนอุดหนุนการทำเครื่อง ถมจุฑาธุชปีละหลายหมื่น ชุดเครื่องถมจุฑาธุช งดงามวิจิตรตระการตาอีกแบบหนึ่งมีอยู่ที่ตึก "จุฑาธุช" ในบริเวณสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง เปิดสอนวิชาช่างถม ในระดับปริญญาตรี แผนกเครื่องโลหะ คณะศิลปหัตถกรรม มีอาจารย์สอน ๒ ท่านคือ อาจารย์มนตรี จันทพันธ์ และอาจารย์มานะ แก้วดี ท่านทั้งสองจบหลักสูตร ปวส. จากวิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวศึกษา นครศรีธรรมราช (โรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราชเดิม) แล้วมาศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่สถาบัน เทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง นับเป็น ความก้าวหน้าของสถาบันที่มีอาจารย์มีฝีมือ ถ่ายทอดวิชาช่างถมแก่อนุชนรุ่นต่อๆ ไป เพื่ออนุรักษ์ให้ "เครื่อง ถม" เป็นมรดกแผ่นดินไทย ชั่วกัลปาวสาน อาจารย์มานะ แก้วดี การเรียนการสอนแผนกเครื่องโลหะ คณะศิลปหัตถกรรม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง |