ไม่มีบันทึกว่า การดำน้ำเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อไหร่ และใครเป็นนักดำน้ำคนแรก เชื่อว่า นักดำน้ำสมัยแรกเริ่มนั้น ดำน้ำได้นาน๑-๒ นาที หรือมากกว่า และลงลึก ๘๐-๑๐๐ ฟุต ในสมัยโบราณได้มีบันทึกเกี่ยวกับการดำน้ำอย่างกล้าหาญไว้หลายเรื่องส่วน ใหญ่เกี่ยวข้องกับสงครามทางเรือ โดยกล่าวถึงการใช้นักดำน้ำในการรบทางเรือและค้นหาสมบัติจากเรือรบที่ อับปาง เมื่อกว่า ๔๐๐ ปีก่อนคริสตกาล อเล็กซานเดอร์มหาราชได้นำยุทธวิธีทำลายเครื่องกีดขวางใต้น้ำโดยใช้นักดำ น้ำในสงครามทางทะเล และในตอนต้นปีคริสต์ศักราช ๑๘๐๐ เรือรบสเปนได้ลำเลียงบรรดาชายฉกรรจ์มาทำหน้าที่ว่ายน้ำและดำน้ำให้กับ กองทัพเรือ โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยหายใจใช้
การดำน้ำควรจะมีผู้ควบคุม (พี่เลี้ยงดำน้ำ) และผู้ช่วยเหลือ(เพื่อนคู่หู ผู้รักษาเวลา) ในการดำน้ำทุกครั้ง
สำหรับอุปกรณ์ในการดำน้ำ มีบันทึกในช่วงประมาณปีคริสต์ศักราช ๗๗ โดยนักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน ชื่อ พลินี (PLINY) กล่าวถึงนักดำน้ำทหาร ซึ่งหายใจผ่านท่อที่มีทุ่นลอยพยุงเอาไว้ที่ผิวน้ำ ภายหลังความสนใจในการดำน้ำมีเพิ่มขึ้น และมีการออกแบบชุดดำน้ำอีกมากมาย หลังจากปีคริสต์ศักราช ๑๕๐๐ มนุษย์มีความต้องการลงไปเคลื่อนไหวอย่างอิสระใต้ทะเล จึงพยายามพัฒนาวิธีการดำน้ำและอุปกรณ์ดำน้ำมาตลอดเวลานับร้อยปี ความงดงามและมหัศจรรย์ของโลกใต้ทะเลยังคงเป็นสิ่งที่เร้นลับหวงห้าม เฉพาะนักดำน้ำอาชีพเท่านั้นที่มีโอกาสสัมผัสจนกระทั่งหลังสงครามโลก ครั้งที่ ๒ วิธีการดำน้ำและอุปกรณ์ดำน้ำได้รับการพัฒนามากขึ้น จนบุคคลทั่วไปสามารถฝึกปฏิบัติการและฝึกใช้ได้เป็นผลให้การดำน้ำเพื่อ การท่องเที่ยวและการกีฬาเริ่มเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประเทศไทยได้ชื่อว่ามีภูมิประเทศชายฝั่งทะเลที่ งดงาม โดยเฉพาะแถบฝั่งทะเลอันดามัน ที่มีชื่อเสียงด้านความงามของแนวปะการังใต้ทะเลติดอันดับ ๑ ใน ๕ ของโลก กอปรกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีมากขึ้น จึงเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวรวมถึงนักดำน้ำทั้งชาวไทยและชาวต่าง ประเทศให้นิยมการดำน้ำใต้ทะเล ชาวเล ซึ่งเป็นชนพื้นเมือง อาศัยอยู่ตามริมฝั่งทะเลทางตอนใต้ของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต กระบี่ ระนอง สุราษฎร์ธานี สตูล ฯลฯ ก็เป็นกลุ่มชน ที่อาศัยการดำน้ำเป็นหลัก ในการประกอบอาชีพประมง และงมทรัพยากรต่างๆ ใต้ท้องทะเลมาขาย คาดว่า ทั่วประเทศมีมากถึง ๑๐,๐๐๐ คน ปัจจุบันแม้ว่า จะมีการพัฒนาระบบการป้องกันอุบัติเหตุในการดำน้ำ พัฒนาระบบการดำน้ำลึก วิธีการนำนักดำน้ำขึ้นสู่ผิวน้ำ การพัฒนาระบบก๊าซที่ใช้ในการหายใจ รวมทั้งการพัฒนาตารางสำหรับลดความกดหลังการดำน้ำ และอื่นๆ แล้วก็ตาม แต่จำนวนผู้เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตจากการดำน้ำ ก็ยังคงเพิ่มมากขึ้นจนน่าเป็นห่วง