เล่มที่ 23
การทำงานใต้น้ำ
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
ข้อควรทราบในการดำน้ำ
  • ร่างกายต้องพร้อมสมบูรณ์ ไม่ควรลงน้ำจนกว่าจะได้รับการตรวจร่างกาย และได้รับอนุญาตจากผู้ควบคุม
  • ได้รับการฝึกมาอย่างดี เข้าใจสัญญาณในการดำน้ำที่เป็นสากลอย่างดี เช่น สัญญาณฉุกเฉิน
  • อุปกรณ์ดำน้ำต้องได้มาตรฐานและมีสภาพสมบูรณ์ 
  • การดำน้ำต้องทำงานเป็นคู่ และเพื่อนคู่หู ต้องคอยดูแล และคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกันเสมอ 

การติดต่อกันระหว่างเพื่อคู่หูและผู้ควบคุม โดยใช้สัญญาณในการดำน้ำที่เป็นสากล

หยุด


  • รู้จักพื้นที่ลงปฏิบัติการดำน้ำ
  • มีเรือช่วยชีวิตในขณะลงปฏิบัติการ
  • วางแผนก่อนการดำน้ำทุกครั้ง
  • เตรียมพร้อมในกรณีฉุกเฉิน 
  • หลีกเลี่ยงการกลั้นหายใจใต้น้ำขณะดำขึ้น โดยใช้ความเร็วไม่เกิน ๖๐ ฟุต/นาที หรือเร็วกว่าฟองอากาศ 
  • หลังการปฏิบัติการทุกครั้ง ควรให้แพทย์ตรวจร่างกาย 
  • ควรดำน้ำหลังรับประทานอาหารหนัก ๒ ชม. อาหารเบา ๑ ชม.
  • อย่ารับประทานยาปฏิชีวนะก่อนดำน้ำ 
  • ไม่ควรดำน้ำเมื่อสภาพจิตใจไม่พร้อม
  • ห้ามดำน้ำหลังการปลูกฝี ฉีดยา ถอนฟัน และหลังจากหายเจ็บป่วยใหม่ๆ รวมถึงเมื่อมีการดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ภายใน ๘ ชม. 
  • เมื่อดำน้ำเกิน ๑๐๐ ฟุต ไม่ควรเดินทางไกลที่ห่างแพทย์ และไม่ควรดำน้ำซ้ำอีกภายใน ๑๗ ชม. นอกจากนี้ไม่ควรเดินทางโดยเครื่องบิน หลังการดำน้ำทันที 
  • เมื่อลงดำน้ำ ควรดำลงช้าๆ เพื่อป้องกันแรงกดของน้ำที่เกิดต่อร่างกาย ควรหยุดดำเมื่อรู้สึกปวดหู และดำต่อเมื่อไม่มีอาการ 
  • อย่าดำน้ำเกินขีดความสามารถของเครื่อง ถ้าไม่จำเป็นอย่าดำลึกและนาน หากจำเป็นควรหยุดลดความกด โดยปฏิบัติตามตารางความกดอย่างเคร่งครัด 
  • เมื่อดำน้ำถึงพื้น อย่าแยกจากเพื่อนคู่หู ถ้าแยกจากกัน ให้มองหา หากไม่พบ ให้ขึ้นสู่ผิวน้ำทันที ในกรณีน้ำขุ่น หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีความมืด ควรมีเชือกต่อกันระหว่างคู่ดำเสมอ