หลักเกณฑ์การดำน้ำอย่างปลอดภัย
มี ๓ ประการ คือ
ประการที่ ๑ ผู้ดำน้ำต้องมีสภาพร่างกายที่เหมาะสม
มีประสบการณ์การดำน้ำ สามารถแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือตนเอง และผู้อื่นได้ เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน มีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคที่ห้ามสำหรับงานดำน้ำ ได้แก่ โรคลมชัก โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคตับอ่อนอักเสบ โรคแก้วหูทะลุ หรือเคยผ่าตัดแก้วหู โรคระบบหมุนเวียนโลหิต โรคระบบทางเดินหายใจ โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร โรคกระดูก โรคไต ไม่มีประวัติใช้สารเสพย์ติดหรือสารกระตุ้น ไม่มีอาการหรือโรค หรือมีสภาพร่างกายอื่นๆ อันเป็นปัจจัยเสริมต่อการเกิดของโรคใต้น้ำ เป็นต้น วิธีที่ดีที่สุดควรทำการตรวจสุขภาพก่อนการดำน้ำ ต้องไม่มีพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่เป็นเหตุให้สภาพร่างกายไม่เหมาะสมต่อการดำ น้ำ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชอบเที่ยวเตร่ดึกๆ ติดสารเสพย์ติด
ประการที่ ๒ เครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ดำน้ำ ต้องได้มาตรฐานและปลอดภัย
ผู้ดำน้ำต้องมีความสามารถในการใช้อุปกรณ์ รู้จักวิธีการดูแล และรักษาอุปกรณ์ทุกประเภท เป็นอย่างดี ควรทำการดูแลตรวจตราอุปกรณ์ที่ใช้ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ตลอดเวลา อุปกรณ์พื้นฐานที่ต้องให้ความเอาใจใส่ ได้แก่ หน้ากากดำน้ำและสายส่งอากาศอัด เครื่องอัดอากาศและอากาศอัด
ประการที่ ๓ เรียนรู้และปฏิบัติตามวิธีการดำน้ำที่ปลอดภัย
องค์ประกอบสำคัญเกี่ยวกับการดำน้ำอย่างปลอดภัย ได้แก่ ระดับความลึกของน้ำที่ปลอดภัย ระยะเวลาที่สามารถอยู่ใต้น้ำได้ วิธีการขึ้นสู่ผิวน้ำ เพื่อให้ร่างกายปรับสภาพได้ทัน ดังนั้นผู้ดำน้ำจึงควรมีประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญ และผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติการดำน้ำมาเป็นอย่างดี ควรมีผู้ควบคุม (พี่เลี้ยงดำน้ำ) และผู้ช่วยเหลือ (เพื่อนคู่หู ผู้รักษาเวลา) ในการดำน้ำทุกครั้ง
การเตรียมตัวลงปฏิบัติงานใต้น้ำ