เล่มที่ 39
การศึกษาของสงฆ์
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

            มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ขยายการศึกษาไปที่จังหวัดต่างๆ มีวิทยาเขต ๑๐ แห่งและวิทยาลัยสงฆ์ ๖ แห่ง รวมทั้งมีห้องเรียนอีก ๑๑ จังหวัด และหน่วยวิทยบริการ ๑๘ แห่ง

วิทยาเขต ๑๐ แห่ง ได้แก่ 

            ๑. วิทยาเขตหนองคาย  อำเภอเมืองฯ  จังหวัดหนองคาย 
            ๒. วิทยาเขตเชียงใหม่  วัดสวนดอก  จังหวัดเชียงใหม่ 
            ๓. วิทยาเขตนครศรีธรรมราช  วัดแจ้ง  จังหวัดนครศรีธรรมราช 
            ๔. วิทยาเขตขอนแก่น  อำเภอเมืองฯ  จังหวัดขอนแก่น 
            ๕. วิทยาเขตนครราชสีมา  อำเภอเมืองฯ  จังหวัดนครราชสีมา 
            ๖. วิทยาเขตแพร่  วัดพระบาทมิ่งเมือง  อำเภอเมืองฯ  จังหวัดแพร่ 
            ๗. วิทยาเขตสุรินทร์  อำเภอเมืองฯ  จังหวัดสุรินทร์ 
            ๘. วิทยาเขตอุบลราชธานี  อำเภอเมืองฯ  จังหวัดอุบลราชธานี 
            ๙. วิทยาเขตพะเยา  วัดศรีโคมคำ  อำเภอเมืองฯ  จังหวัดพะเยา 
            ๑๐. วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆสนครปฐม  อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม 

วิทยาลัยสงฆ์ ๖ แห่ง ได้แก่

            ๑. วิทยาลัยสงฆ์เลย  อำเภอเมืองฯ จังหวัดเลย 
            ๒. วิทยาลัยสงฆ์นครพนม  วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร  จังหวัดนครพนม 
            ๓. วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน  อำเภอเมืองฯ  จังหวัดลำพูน 
            ๔. วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์  อำเภอเมืองฯ  จังหวัดนครสวรรค์ 
            ๕. วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช  อำเภอเมืองฯ  จังหวัดพิษณุโลก 
            ๖.  วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์  วัดพระพุทธบาทเขากระโดง  อำเภอเมืองฯ  จังหวัดบุรีรัมย์ 

ห้องเรียน ๑๑ จังหวัด ได้แก่

            ๑.  ห้องเรียนวิทยาเขตขอนแก่น  วัดสระทอง  จังหวัดร้อยเอ็ด 
            ๒. ห้องเรียนคณะพุทธศาสตร์  วัดไพรสณฑ์ศักดาราม  จังหวัดเพชรบูรณ์ 
            ๓. ห้องเรียนคณะพุทธศาสตร์  วัดพิกุลทอง  จังหวัดสิงห์บุรี 
            ๔.  ห้องเรียนวิทยาเขตแพร่  วัดบุญวาทย์วิหาร  จังหวัดลำปาง 
            ๕. ห้องเรียนวิทยาเขตพะเยา  วัดพระธาตุแช่แห้ง  จังหวัดน่าน 
            ๖.  ห้องเรียนวิทยาเขตอุบลราชธานี  วัดสระกำแพงใหญ่  จังหวัดศรีสะเกษ 
            ๗. ห้องเรียนวิทยาเขตนครศรีธรรมราช  จังหวัดปัตตานี 
            ๘. ห้องเรียนวิทยาเขตนครศรีธรรมราช  วัดพัฒนาราม  จังหวัดสุราษฎร์ธานี 
            ๙. ห้องเรียนคณะพุทธศาสตร์  วัดโสธรวรารามวรวิหาร  จังหวัดฉะเชิงเทรา 
            ๑๐. ห้องเรียนคณะพุทธศาสตร์  วัดไชยชุมพลชนะสงคราม  จังหวัดกาญจนบุรี
            ๑๑. ห้องเรียนวิทยาเขตพะเยา  วัดพระแก้ว  จังหวัดเชียงราย 

หน่วยวิทยบริการ ๑๘ แห่ง  ได้แก่

            ๑. หน่วยวิทยบริการ (คณะพุทธศาสตร์)  วัดหงษ์ประดิษฐาราม  จังหวัดสงขลา 
            ๒. หน่วยวิทยบริการ (คณะสังคมศาสตร์)  วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จังหวัดราชบุรี 
            ๓. หน่วยวิทยบริการ  (วิทยาเขตหนองคาย)  วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร  จังหวัดสกลนคร 
            ๔. หน่วยวิทยบริการ (วิทยาเขตขอนแก่น) วัดอภิสิทธิ์  จังหวัดมหาสารคาม 
            ๕. หน่วยวิทยบริการ (คณะสังคมศาสตร์) วัดต้นสน  จังหวัดเพชรบุรี
            ๖. หน่วยวิทยบริการ (วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช) วัดท่านา  จังหวัดตาก 
            ๗. หน่วยวิทยบริการ (วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์)  วัดหนองขุนชาติ  จังหวัดอุทัยธานี 
            ๘. หน่วยวิทยบริการ (วิทยาเขตนครราชสีมา)  วัดชัยภูมิวนาราม  จังหวัดชัยภูมิ 
            ๙. หน่วยวิทยบริการ (คณะสังคมศาสตร์)  วัดใหญ่อินทาราม  จังหวัดชลบุรี
            ๑๐.  หน่วยวิทยบริการ (คณะสังคมศาสตร์)  วัดไร่ขิง  จังหวัดนครปฐม 
            ๑๑. หน่วยวิทยบริการ (คณะสังคมศาสตร์)  วัดป่าประดู่  จังหวัดระยอง 
            ๑๒. หน่วยวิทยบริการ (วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช)  วัดหมอนไม้  จังหวัดอุตรดิตถ์ 
            ๑๓. หน่วยวิทยบริการ (วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์) วัดบรมธาตุ  จังหวัดกำแพงเพชร 
            ๑๔. หน่วยวิทยบริการ (วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์)  วัดพฤกษะวันโชติการาม จังหวัดพิจิตร 
            ๑๕. หน่วยวิทยบริการ (คณะมนุษยศาสตร์)  วัดสามพราน  จังหวัดนครปฐม 
            ๑๖. หน่วยวิทยบริการ (คณะสังคมศาสตร์)  วัดไผ่ล้อม  จังหวัดจันทบุรี 
            ๑๗. หน่วยวิทยบริการ (คณะสังคมศาสตร์)  วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร  จังหวัดสุพรรณบุรี 
            ๑๘.  หน่วยวิทยบริการ (คณะสังคมศาสตร์)  วัดสระแก้ว  จังหวัดสระแก้ว

ในปัจจุบัน มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศขอเป็น สถาบันสมทบ อยู่ ๗ แห่ง ได้แก่

            ๑. วิทยาลัยพระพุทธศาสนาดองกุก ชอนบอบ  สาธารณรัฐเกาหลี
            ๒. วิทยาลัยสงฆ์ชิง  จู  สาธารณรัฐไต้หวัน
            ๓. มหาปัญญาวิทยาลัย  จังหวัดสงขลา
            ๔.  สถาบันพระพุทธศาสนานานาชาติศรีลังกา
            ๕. ศูนย์การศึกษาพระอาจารย์พรหม  สิงคโปร์
            ๖.  วิทยาลัยพระพุทธศาสนาสิงคโปร์
            ๗. มหาวิทยาลัยธรรมเกต  บูดาเปสต์  ประเทศฮังการี

หน่วยงานในส่วนอื่น ๆ ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่นับว่าสำคัญมาก ได้แก่

            ๑. สำนักงานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ  วังน้อย  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
            ๒. ศูนย์วิจัยพุทธศาสตร์
            ๓. สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
            ๔. ศูนย์ฝึกอบรมและปฏิบัติธรรม  มหาจุฬาอาศรม
            ๕. ศูนย์ฝึกอบรมและปฏิบัติธรรม  วังน้อย
            ๖. ศูนย์พัฒนาศาสนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  แคมป์สน  จังหวัดเพชรบูรณ์
            ๗. อาคารรับรองหอพักอาคันตุกะ (๙๐ ปี ปัญญานันทะ)
            ๘. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ศาสนา  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 
            ๙. สำนักธรรมวิจัย  วัดมหาธาตุฯ  กรุงเทพฯ
            ๑๐. โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ก่อตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ ขณะนี้มีสาขาทั่วประเทศทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

            เป้าหมาย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเป้าหมาย คือ การพัฒนาการศึกษาพระพุทธศาสนาให้แพร่หลายไปทั่วโลก เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยนาลันทา ที่ประเทศอินเดียในอดีต ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีนักศึกษานานาชาติทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ในอัตรา ๑,๐๐๐ รูปต่อคน และยังได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการมหาเถรสมาคม และองค์การสหประชาชาติให้เป็นประธาน ในการจัดประชุมพุทธศาสนิกชน ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ทั่วโลก ที่มาประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาโลก โดยองค์การสหประชาชาติให้การสนับสนุนในด้านสถานที่ขององค์การสหประชาชาติ และจัดอาหารบริการแก่ผู้เข้าร่วมประชุม ตลอดการประชุม

            มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่ง คือ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย และมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แม้จะเปิดดำเนินการสอน ระดับมหาวิทยาลัยมาหลายสิบปีแล้ว แต่รัฐบาลก็ยังไม่ได้ออกพระราชบัญญัติรับรองวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยทั้ง ๒ แห่งนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่งสามารถเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยต่างๆ ได้ทั่วโลก รวมทั้ง มหาวิทยาลัยเยล ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับยอดเยี่ยม ๑ ใน ๑๐ อันดับของสหรัฐอเมริกา ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๒๗ รัฐบาลจึงได้ออกพระราชบัญญัติรับรองวิทยฐานะของผู้ที่จบการศึกษาเฉพาะระดับปริญญาตรีเท่านั้น และใน พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐสภาจึงได้ออกพระราชบัญญัติรับรองสถานภาพของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่ง ว่าเป็นนิติบุคคล และเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งแต่นั้นมามหาวิทยาลัยสงฆ์จึงได้รับงบประมาณแผ่นดินทุกปี โดยเฉพาะมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งได้รับการพัฒนา จนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก

            นับตั้งแต่รัฐสภาออกพระราชบัญญัติรับรองมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ให้เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐและเป็นนิติบุคคลเท่าเทียมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่งจึงมีชื่อตามพระราชบัญญัติว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เนื่องจากคำว่า "ราชวิทยาลัย" อาจเป็นเพียงโรงเรียนเท่านั้น เช่น โรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย