แปรงสีฟันที่มีการออกแบบให้เหมาะกับการแปรงฟัน
๔. เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมต่อการใช้
การนำหลักการยศาสตร์ไปใช้ในกลุ่มนี้ เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้เหมาะสมต่อร่างกาย ความต้องการ และความคาดหวังของผู้ใช้ เช่น ในการออกแบบแปรงสีฟัน นักการยศาสตร์ต้องออกแบบด้ามจับ ให้มีความกว้างเพียงพอ และง่ายต่อการจับ คอแปรงต้องโค้งงอ เพื่อซอกซอนเข้าสู่ทุกส่วนของช่องปาก และปลายขนแปรงต้องมีรูปร่างเหมาะสม ต่อการสัมผัสผิวฟัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือ การออกแบบห้องโดยสารภายในรถยนต์ เช่น เก้าอี้นั่ง ได้รับการออกแบบ ที่ทำให้ทุกคน ไม่ว่าจะสูง เตี้ย อ้วน ผอม หรือหญิงตั้งครรภ์ สามารถเข้ามานั่ง และขับขี่ได้อย่างสะดวกสบาย เบาะที่นั่งสามารถปรับให้เข้ากับท่าทาง และการนั่งของแต่ละบุคคลได้ง่าย พวงมาลัยรถได้รับการออกแบบให้จับได้ถนัดมือ และใช้แรงน้อยลง แม้กระทั่งคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ก็ได้รับการออกแบบ ให้ตรงตามหลักการยศาสตร์ เช่น การแสดงผลทางหน้าจอ ต้องง่ายต่อการใช้ และการเข้าใจการออกแบบแป้นพิมพ์และเมาส์ ต้องมีรูปร่างสอดคล้องกับหลักการทางการยศาสตร์ เพื่อไม่ก่อให้เกิดอาการเมื่อย หรือการบาดเจ็บของข้อมือ
กล่าวโดยสรุปคือ การประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์นั้น สามารถพบเห็นได้ทั่วไปใน ที่ซึ่งมีการทำงานร่วมกัน ระหว่างคนกับเครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัย ความสะดวกสบาย และประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน ในระบบหนึ่งๆ
บทความและภาพประกอบที่อยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ นี้ใช้สำหรับเพื่อสนับสนุนการผลิตหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
เป็นการเผยแพร่วิชาการให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยจะนำไปแจกจ่ายให้โรงเรียนทั่วประเทศ และจำนวนหนึ่งนำออกจำหน่ายเพื่อนำเงินมาสมทบทุนในการจัดพิมพ์ต่อไป
ซึ่งเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต ทั้งนี้มูลนิธิได้รับอนุญาตทั้งบทความและภาพประกอบจากผู้เขียนแล้ว หากมีประเด็นขัดข้องสงสัยในเรื่องลิขสิทธิ์อย่างใด ขอได้โปรดแจ้งให้
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ทราบเพื่อพิจารณาแก้ไขความขัดข้องสงสัยนั้นต่อไป จะเป็นพระคุณยิ่ง
ลิขสิทธิ์เป็นของมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
ห้ามนำข้อความและรูปภาพไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต