ความรู้ทั่วไปในเรื่องปลา
นักวิทยาศาสตร์จัดความรู้และเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ การจำแนกแยกชนิด และชีวประวัติของปลาไว้ในหมวดวิชา มีนวิทยา ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของวิชาสัตววิทยา ในภาษา อังกฤษเรียกวิชานี้ว่า ichthyology (ichthyo + logy) คำว่า ichthyo มาจากภาษากรีก "ichthys" ซึ่ง แปลว่า ปลา และตรงกับคำว่า มีน ส่วน "logy" แปลว่า วิชาหรือวิทยา
แผนภาพแสดงจำนวนชนิดของปลา เปรียบเทียบกับจำนวนชนิดของสัตว์ประเภทที่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ
ปลาเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มของสัตว์จำพวกเลือดเย็น (poikilothermal animals) ซึ่งหมายความว่าอุณหภูมิของเลือดในตัวของมันไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงได้ ตามสภาพแวดล้อม โดยทั่วไปอุณหภูมิของตัวปลาแตกต่างจากน้ำรอบตัวของมันเพียง ๐.๕-๑ องศา เซลเซียส แต่อย่างไรก็ตาม ปลาบางจำพวก เช่น ปลาทูนา (Yellow Fin Tuna;
Thunnus albacares) ซึ่งว่ายน้ำเร็วและใช้พลังงานมาก อาจมีอุณหภูมิที่แตกต่างจากน้ำที่มันอยู่อาศัยมากกว่า ๑๐ องศา เซลเซียส
ลักษณะและครีบของปลาชนิดต่างๆ
๑) ปลาลำตัวแบนข้าง
๒) ปลาจำพวกปักเป้าในวงศ์เตตราโอดอนติดี (Tetraodontidae) รูปร่างกลมแบบลูกโลก
๓) ปลาจำพวกปลาสี่เหลี่ยมในวงศ์ออสตราไซออนติดี (Ostraciontidae) รูปร่างเป็นเหลี่ยม
๔) ปลาจำพวกกระเบนลำตัวแบนลง
๕) ปลาจำพวกปลาผีเสื้อหรือโสร่งแขก ในวงศ์โมโนดักทิลิดี (Monodactylidae)ลำตัวแบนข้าง
๖) ปลาที่มีครีบหลังและครีบทวารเจริญเติบโตดีมาก (Pteraclis spp.)
๗) ปลาคางคกในวงศ์โลฟิอิดี (Lophiidae) ลำตัวแบนลง
๘) ปลากระเบนลำตัวแบนลง
๙) ปลาหูช้างในวงศ์แพลทาซิดี (Platacidae) ลำตัวแบนข้าง
๑๐) ปลาซีกเดียว ลำตัวแบนข้าง
๑๑) ปลาม้าน้ำ ลำตัวมีเกล็ดเชื่อมกันเป็นเกราะหุ้มตัว
๑๒) ปลาจำพวกปลาบู่
๑๓) ปลาตูหนา ลำตัวยาวคล้ายงู
๑๔) ปลาทูนา ลำตัวเป็นแบบกระสวย
๑๕) ปลาจำพวกปลาหลังเขียว ลำตัวเป็นแบบกระสวย
๑๖) ปลากระทุงเหว ลำตัวยาวเป็นสี่เหลี่ยม หน้าตัด
ปลาหายใจด้วยเหงือก ส่วนใหญ่มีครีบเพื่อช่วยในการทรงตัวและเคลื่อนไหว ปลาใช้น้ำ เป็นแหล่งในการดำรงชีวิต
จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ปรากฏว่าปลามีจำนวนชนิดมากที่สุดในบรรดาสัตว์ที่มีกระ- ดูกสันหลังด้วยกัน โดยสามารถเปรียบเทียบอย่างประมาณดังต่อไปนี้