สี | ||||
ปลาสินสมุทรลาย (Emperor angelfish; Pomacanthodes imperator) ขณะโตเต็มวัย พื้นลำตัวมีสีฟ้าหม่น ซึ่งเป็นสีที่พบไม่บ่อยนักในสัตว์จำพวกปลา | ||||
ธรรมชาติไม่ได้สร้างสีสันของปลาเพียงเพื่อให้มีความ สวยงามเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ปลาสามารถหลบซ่อนเหยื่อหรือ ปรับตัวให้กลมกลืนเข้ากับสภาพแวดล้อม เพื่อหลีกเลี่ยงภยัน- ตรายจากศัตรู หรือเป็นสื่อช่วยกระตุ้นในฤดูที่มีการสืบพันธุ์ (nuptial dress) อีกด้วย
โดยทั่วไปปลามักมีสีเงินและสีฟ้าหรือน้ำเงิน บ้างก็มีสีเขียว สีเทาหรือสีน้ำตาล ปลาทะเลบางจำพวก เช่น ปลาตามโขดหินกองหรือปะการัง มีสีสันสลับสดใสน่าดูมาก เช่น สีเหลือง สีแดง สีม่วง หรือสีน้ำเงินแก่ เป็นต้น นอกจากมีสีต่างๆ เป็นสีพื้น ปลาหลายชนิดยังมีจุดหรือแถบสีอยู่ประปรายโดยทั่วไป ในปลาหลายชนิด ปลาเพศผู้ และเพศเมีย มีสีไม่เหมือนกัน เช่น ปลากินยุง (Poecilia) หรือปลากัด (Betta spp.) ปลาเพศผู้มีสี สวยงามมากกว่าเพศเมีย นอกจากนี้ปลาบางชนิด เช่น ปลา จำพวกกะพงทะเล เมื่อยังมีขนาดเล็กจะมีจุดหรือแถบสีชัดเจน แต่เมื่อปลาโตมากขึ้น จุดหรือแถบสีนั้น ก็จะเลือนราง หรือหายไป กลายเป็นสีอื่น สีต่างๆ ทั้งหมดที่เราเห็นอยู่บนตัวปลา เกิดจากการ ปะปนของเซลล์สร้างสีสองสามชนิดเท่านั้น สีนอกจากนั้น อาจเกิดจากการสะท้อนของแสงในน้ำ (apparent color) ตามปกติ ปลามีเซลล์สร้างสีดำ (melanophores) ซึ่งมีอนุภาคของสารเมลานิน (melanin) อยู่เป็นจำนวนมาก
แสงสะท้อนจากอนุภาคเมลานินเหล่านี้ ผ่านผลึกของ กัวนิน (guanin) ซึ่งเป็นของเสียที่ปลาขับถ่ายออกมากับเมือกที่ เกาะอยู่ตามผิวหนัง ซึ่งอยู่เหนือชั้นที่มีเซลล์สร้างสีดำ ทำให้เรา เห็นปลามีสีเขียว สีฟ้า หรือสีน้ำเงิน แล้วแต่ปริมาณและสัดส่วน ของเมลานินและกัวนินในปลาบางชนิด จุดสีหรือรงควัตถุ (pigment) จากเซลล์สร้างสีเหลืองผสมกับเมลานินและสารที่เรียก ว่า อิร์ริดิโอไซต์ (irridiocytes) ทำให้เกิดเป็นสีเขียวขึ้นมาได้ สีแดงเกิดจากจุดสีที่สร้างด้วยเซลล์สีแดง (erythophres) สีชมพู สีม่วง และสีคล้ายดอกกล้วยไม้ที่ปรากฏบนตัวปลาเกิด จากการผสมเป็นสัดส่วนต่างๆ ของจุดสีจากเซลล์สร้างสีดังกล่าว และจากแสงสะท้อนจากน้ำมายังนัยน์ตาของเรา | ||||
การเปลี่ยนแปลงตามสิ่งแวดล้อม ปลาส่วนใหญ่สามารถปรับสี และลวดลายบนตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก ทั้งยังเพื่อหลบหลีกอันตรายจากศัตรูของมัน ตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ ได้แก่ ปลาจำพวกปลาซีกเดียว (floundr) ซึ่งสามารถเปลี่ยนสีได้รวดเร็วมาก ได้พบว่า การกระตุ้นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีและลวดลายบนตัวปลา เกิดจากการมองเห็นของปลา แล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ทางด้านสรีรวิทยา และการยืดหดของเซลล์สร้างสีในผิวหนังของปลา ในภาพนี้หากหัวปลาอยู่บนพื้นที่มีสีขาว ปลาจะมีสีจางมาก เมื่อเปลี่ยนพื้นเป็นสีดำ ปลาตัวนั้นก็จะเปลี่ยนสีดำเข้มขึ้น หากปลาอยู่บนพื้นที่ที่มีสีดำขาวประปราย ปลาก็จะเปลี่ยนสีและลวดลายให้กลมกลืนเข้ากับสภาพแวดล้อมด้วย | ||||
เซลล์สร้างจุดสีเหล่านี้สามารถหดหรือขยายตัวได้โดยรวดเร็ว การหดหรือขยายตัวเกิดขึ้นจากการกระตุ้นโดยระบบประสาท อันเกี่ยวเนื่องอย่างมากในการเห็นของปลา และการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยาภายในตัวปลาเอง ดังนั้น ปลา จึงสามารถเปลี่ยนสีและลวดลายให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก มนุษย์เราสามารถปรับปรุงให้ปลาเปลี่ยนรูปร่างและสีสัน ได้ โดยการคัดเลือกพันธุ์ (selective breeding) และผสมข้าม พันธุ์ (cross breeding) การคัดเลือกและผสมข้ามพันธุ์ปลาได้ ทำกันมาเป็นเวลานานกว่า ๑,๐๐๐ ปีแล้ว นักเพาะพันธุ์ปลาชาว จีนและญี่ปุ่นสามารถทำให้เกิดปลาแบบใหม่ขึ้นได้โดยวิธีการดัง กล่าว เช่น การทำให้เกิดพันธุ์ปลาเงินปลาทองหัวสิงโต ปลาเงิน ปลาทองที่มีครีบยาวและสวยงาม ปลาแฟนซีคาร์พ ฯลฯ นักเพาะพันธุ์ปลาสวยงามในปัจจุบัน ก็ยังใช้วิธีการดังกล่าวอยู่ เช่น ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาสวยงามของไทยและสิงคโปร์ ทำ ให้เกิดปลาที่มีรูปร่างและสีสันตามความต้องการของตลาด ซึ่ง บังเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ |