การรับความรู้สึกของปลา
ก) การรับกลิ่น
ปลามีจมูกสำหรับรับกลิ่นเช่นเดียวกับสัตว์บก แต่มิได้ใช้หายใจ จึงไม่มีท่อติดต่อกับคอ หอย ปลาฉลามมีจมูกไวมาก สามารถรับกลิ่นเลือดได้ในระยะไกล
ข) สายตา
ตาปลามีลักษณะคล้ายคลึงกับตาของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังประเภทอื่นๆ แต่มีการเปลี่ยน แปลงบ้าง เพื่อช่วยให้มันสามารถมองได้ในน้ำ ผนังภายนอกของตาปลาแบนกว่าของสัตว์บก แต่เลนส์ของตาปลากลมกว่า และเวลาใช้มอง เลนส์จะไม่เปลี่ยนรูปร่างเหมือนตาของสัตว์ชั้นสูง แต่จะเลื่อนเข้าเลื่อนออกจนภาพชัด ปลาส่วนใหญ่มีสายตาสั้น จากผลของการทดลองปรากฏว่าปลา สามารถจำสีต่างๆ ได้ ในจำพวกปลาที่อาศัยในน้ำขุ่น ตามีขนาดเล็กลง ปลาที่อาศัยอยู่ในถ้ำมีตา เป็นจุดเล็กๆ เท่านั้นหรือไม่มีเลยโดยถูกคลุมอยู่ใต้ผิวหนังก็ได้
ค) การรับฟัง
หูของปลาไม่มีส่วนนอกและส่วนกลางเหมือนสัตว์ชั้นสูง ดังนั้น ปลาจึงมีแต่เพียงหูส่วน ใน ใช้เป็นอวัยวะสำหรับช่วยการทรงตัว ปลาน้ำจืดจำพวกปลาไน ปลาตะเพียน และปลาดุก กระเพาะลมมีส่วนติดต่อกับส่วนหูโดยชิ้นกระดูกเล็กๆ ซึ่งสามารถทำให้ปลาจำพวกนี้รับความสั่น สะเทือนในน้ำได้ดี นอกจากนี้ปลาส่วนใหญ่ยังมีเส้นข้างตัว (lateral line system) สามารถรับความ สั่นสะเทือนในน้ำได้
ง) การรับรส
ปลาหลายชนิดสามารถรับรสต่างๆ ได้ เช่น ปลาพวกตะเพียน แต่หน้าที่การรับรสอาจ ทำโดยอวัยวะพิเศษ ซึ่งอยู่บนหนวด (barbels) หรือบนหัวและตัวปลา โดยบริเวณเหล่านี้จะมีปุ่ม รับรส (taste bud)
จ) การรับความสัมผัส
ปลารับสัมผัสได้ดีมาก อวัยวะรับสัมผัสมีอยู่บนส่วนต่างๆ ของตัวปลา เช่น ตามผิวหนัง ตามผิวของหนวด (barbels of feelers) หรือครีบ สำหรับปลาที่หากินบนพื้นท้องน้ำใช้อวัยวะดังกล่าว ในการหาอาหารโดยการคลำ