อวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ ได้แก่ ตา สำหรับการเห็น จมูก สำหรับรับกลิ่น ลิ้น สำหรับรับรส หู สำหรับการฟัง และผิวหนัง รับความรู้สึก ทั่วไป ได้แก่ เจ็บ สัมผัส กด ร้อน เย็น ตา เป็นอวัยวะสำหรับการเห็นภาพ แสง สีประกอบด้วย ลูกตา (eye ball) และหนังตา เยื่อบุตา และอวัยวะสำหรับการหลั่งน้ำตา ลูกตา เป็นรูปกลม อยู่ในส่วนหน้าของเบ้าตา แต่ไม่กลมทีเดียว วัดจากหน้าไปหลัง วัดตามขวาง และวัดตามสูงได้เกือบเท่ากัน ยาวประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ปริมาตรประมาณ ๘ มิลลิลิตร หญิงมีลูกตาใหญ่กว่าชายเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว หรือเทียบกับขนาดของเบ้าตา ลูกตาของทารกก็ใหญ่กว่าผู้ใหญ่ เมื่อเทียบกับขนาดของเบ้าตา |
ลูกตาผ่ากลางแสดงส่วนประกอบภายในลูกตา |
ผนังของลูกตาประกอบด้วยผนังโดยรอบ ๓ ชั้น คือ ชั้นนอก (fibrous coat) เป็นพังผืด แข็ง ชั้นกลาง (vascular coat) เป็นชั้นหลอดเลือดขนาดเล็กปะปนกับเซลล์สี (pigmented cells) บางส่วนเป็นกล้ามเนื้อเรียบ และชั้นใน เป็นชั้นประสาท ชั้นนอก แบ่งได้เป็นส่วนทึบแสงทางข้างหลัง เรียกว่า สเคลอรา (sclera) กับส่วนที่โปร่งแสงทางข้างหน้า เรียกว่า คอร์เนีย (cornea) สเคลอรา มีประมาณ ๕ ใน ๖ ของลูกตา มีสีขาว แข็ง และมีสีน้ำเงินอ่อนในทารก แต่ในผู้ใหญ่และคนชราจะมีสีเหลือง หนาประมาณ ๐.๕-๐.๖ มิลลิเมตร ชาวบ้านเรียกว่า ส่วนตาขาว คอร์เนีย มีประมาณ ๑ ใน ๖ ของลูกตา เป็นส่วนใส หนากว่าสเคลอราเล็กน้อย และโค้งมากกว่าสเคลอรา ในคน หนุ่มสาว ส่วนนี้จะโค้งมากกว่าในคนชรา ถ้าความโค้งผิดปกติ หรือไม่เท่ากัน จะทำให้มองเห็นไม่ชัด เรียกว่า สายตาเอียง คอร์เนีย ต่อกับ สเคลอรา ตรงรอยต่อที่เห็นได้จาก ภายนอก ตรงขอบตาดำต่อกับตาขาว ชั้นกลาง เป็นชั้นที่ประกอบด้วยหลอดเลือดขนาดเล็ก หลอดเลือดฝอย และมีเซลล์ที่มีสี ทำให้เกิดเป็นชั้นสีดำ ทางส่วน หลัง แนบชิดกับด้านในของสแคลอรา เรียกว่า คอรอยด์ (choroid) ทางส่วนหน้าใกล้กับรอยต่อของคอร์เนีย และ สเคลอรา จะดัดแปลงเป็น ซิลิอารีบอดี (ciliary body) และ ม่านตา (Iris) ซิลิอารีบอดี แบ่งได้เป็น ๓ เขต คือ เขต ๑ เป็นเขต เรียบกว้างประมาณ ๔ มิลลิเมตร ต่อจากคอรอยด์ เขต ๒ เป็น เขตที่มีสันนูนชัดเจน เรียงเป็นรัศมีโดยรอบขอบของม่านตา กว้าง ๒ มิลลิเมตร อยู่ระหว่าง เขต ๑ กับขอบของม่านตา เขต ๓ ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียงตัวโดยรอบ และเป็นรัศมี เมื่อกล้ามเนื้อนี้หดตัวจะทำให้เอ็นยึดเลนส์ และเลนส์ของลูกตา หย่อน จึงเกี่ยวกับการเพ่งให้เห็นชัด ม่านตา เป็นเยื่ออยู่หน้าเลนส์ ตรงกลางมีรูกลม เรียกว่า รูม่านตา (pupil) ม่านตาหนาเกือบเท่ากันตลอด ขอบนอกของม่านตา ติดต่อกับ ซิลิอารีบอดี สีของตาจึงขึ้นอยู่จำนวนเม็ดสีภาย ในม่านตา ในชนเชื้อชาติยุโรป มีเม็ดสีในม่านตาน้อย หรือไม่มีเม็ดสีเลย ตาจึงมีสีฟ้าหรือเทา ในชนเชื้อชาติเอเชีย มีเม็ดสีในม่านตา มาก ตาจึงมีสีดำ ภายในม่านตา มีกล้ามเนื้อเรียบ ควบคุมให้รูม่านตา แคบลงหรือกว้างขึ้นได้ ในขณะที่ตื่นอยู่ จะมีการเปลี่ยนแปลง ขนาดของรูม่านตาตลอดเวลา เพื่อควบคุมจำนวนแสงที่เข้าสู่ลูกตา ชั้นใน เป็นชั้นประสาท เรียกว่า เรตินา ประกอบเป็น ชั้นบางและนุ่ม ประกอบด้วยเซลล์ประสาท เส้นใยประสาท และเซลล์รับแสง (rod and cone cells) เส้นใยประสาทจากชั้นนี้ จะออกทางปลายหลังของลูกตาไปสู่สมอง เพื่อแปลเป็นภาพ แสง และสีต่างๆ ชั้นประสาทของลูกตานี้ โปร่งแสงตลอดชีวิต มีสีม่วงอ่อน แต่ภายหลังตายไม่นานก็จะทึบแสงและมีสีเทา คลื่นแสงที่จะผ่านไปถึงเรตินา ต้องผ่านสิ่งต่างๆ ที่มี ความหนาแน่นแตกต่างกัน เช่น คอร์เนีย สารน้ำ (aqueous humour) เลนส์ และสารวุ้น (vitous body) เหล่านี้ประกอบเป็น ตัวกลางหักเหแสง (refracting media) ของลูกตา และอยู่ภาย ในลูกตา สารน้ำ มีดัชนีหักเห ๑.๓๓๖ ประกอบด้วยน้ำ ๙๘% โซเดียมคลอไรด์ ๑.๔๑% และ อัลบูมิน (albumin) เล็กน้อย อยู่ระหว่างคอร์เนีย กับ เลนส์ เลนส์ อยู่หลังม่านตา มีรูปร่างคล้ายกระจก กลมนูน โค้ง ใส โปร่งแสง ตรงกลางหนาประมาณ ๔ มิลลิเมตร เส้นผ่าน ศูนย์กลางประมาณ ๙-๑๐ มิลลิเมตร ทางด้านหลังโค้งมาก กว่าด้านหน้า ความโค้งของเลนส์โดยเฉพาะทางด้านหน้าจะ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในขณะมีชีวิต เพื่อควบคุมให้ภาพตกลง บนเรตินา สำหรับการมองให้เห็นชัด ในทารก เลนส์จะนุ่มและมีสีชมพูอ่อน ในคนชราจะมี ลักษณะแข็งขึ้น แบนขึ้น และมีสีเหลืองอ่อน จึงทำให้การมอง เห็นชัดค่อยๆ ลดสมรรถภาพลงเรื่อยไปตามอายุ เรียกว่า สายตา ยาว (presbyopia) บางทีเลนส์ในคนชราขุ่นและทึบแสง เรียกว่า ต้อกระจก (cataract) สารวุ้น เป็นของเหลว เหนียว ใส โปร่งแสง อยู่ใน ลูกตาระหว่างเลนส์ กับ เรตินา หนังตาหรือเปลือกตา มีเปลือกตาบนและล่างเคลื่อนไหวได้ อยู่หน้าลูกตา หนังตาบนใหญ่กว่า และเคลื่อนไหวได้มากกว่า โดยการดึงของกล้ามเนื้อดึงหนังตาบน |
ตาและเปลือกตาข้างขวา |
ช่องระหว่างหนังตา วัดตามขวางประมาณ ๓๐ มิลลิเมตร แต่ก็แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และแต่ละเชื้อชาติ เมื่อลืมตา ช่องระหว่างหนังตาเป็นรูปรี เมื่อหลับตาในขณะนอนหลับ มันเป็นเพียงร่องตามขวาง ปลายทั้งสองของเปลือกตาบน และล่างมาจดกัน เรียกว่า มุมหัวตา และมุมหางตา ขอบของเปลือกตา แบน เรียบ และที่ขอบหน้ามีขนตา งอกออกมา และหลังขนตามีรูเปิดของต่อมเปลือกตา (tarsal gland) เรียงเป็นแถว ประมาณ ๖ มิลลิเมตร จากมุมหัวตาของ เปลือกตา มีรอยนูนเป็นปุ่ม เรียกว่า ปุ่มน้ำตา และที่ยอดของ ปุ่มนี้มีรูเปิดเล็กๆ ของท่อน้ำตาจากปุ่มนี้ถึงมุมหัวตา ขอบเปลือกตา จะกลมแบน และไม่มีขนตา ภายในแต่ละเปลือกตา มีแผ่นเนื้อเยื่อพังผืดค่อนข้างแข็ง เรียกว่า แผ่นเปลือกตา (tarsal plate) แผ่นเปลือกตาอันบน ใหญ่กว่า คล้ายครึ่งรูปไข่ ซึ่งขอบล่างหนาและตรง แต่ขอบบน โค้ง แผ่นเปลือกตาอันล่าง มีลักษณะเป็นแถบแคบๆ กว้างเท่ากัน โดยตลอด ประมาณ ๕ มิลลิเมตร ภายในแผ่นเปลือกตานี้มีต่อม เปลือกตาเรียงเป็นแถวประมาณ ๒๐-๓๐ ต่อม ซึ่งมีรูเปิดอยู่ หลังต่อมขนตา หน้าแผ่นเปลือกตา เป็นกล้ามเนื้อลายบางๆ เพื่อใช้ใน การหลับตา และมีผิวหนังคลุมกล้ามเนื้ออีกชั้นหนึ่ง ผิวหนังของ เปลือกตาค่อนข้างบาง และเยื่อใต้หนังค่อนข้างหลวม และ ไม่มีไขมัน เยื่อบุตา เป็นเยื่อบุบางๆ บุด้านลึกของเปลือกตา และติดกันแน่น และยังคลุมด้านหน้าของลูกตาส่วนสเคลอราด้วยอย่างหลวมๆ รอยพับระหว่างเยื่อบุตาของเปลือกตา และของด้านหน้าลูกตา เรียกว่า ฟอร์นิกซ์ (fornix) อวัยวะสำหรับหลั่งน้ำตา ได้ ต่อม ขนาด หลอด เป็น ถุง อยู่ |
หู เป็นอวัยวะสำหรับการฟัง และการทรงตัว หูประกอบ ด้วย ๓ ส่วน คือ หูส่วนนอก หูส่วนกลาง และหูส่วนใน หูส่วนนอก ประกอบด้วยใบหู และรูหู ใบหู ยื่นเป็นมุมประมาณ ๓๐ องศา จากด้านข้างของศีรษะ แกนกลางของใบหูเป็นกระดูกอ่อนชนิดยืดหยุ่นได้ (elastic) ชิ้นเดียว หุ้มด้วยผิวหนังทั้งสองด้าน ยกเว้นติ่งหู ไม่มีกระดูกอ่อน มีแต่เยื่อพังผืด และไขมันหลวมๆ กระดูกอ่อนนี้ ไม่เรียบ แต่มีส่วนนูนยื่นขึ้นมา และระหว่างส่วนที่นูนก็เป็นแอ่ง ใบหูจึงไม่เรียบทั้งสองด้าน |
หูส่วนนอก |
รูหู เป็นช่องทางติดต่อระหว่างแอ่งลึกสุดของใบหู ไปจนถึงเยื่อแก้วหูลึกประมาณ ๒๔ มิลลิเมตร ประกอบด้วย ๒ ส่วนคือ รูหูส่วนกระดูกอ่อน ยาว ๘ มิลลิเมตร เป็นส่วนที่ต่อจากกระดูกอ่อนของใบหู และรูหูส่วนกระดูกยาว ๑๖ มิลลิเมตร เป็นส่วนที่มีผนังเป็นกระดูก ติดต่อลึกเข้าไปจากส่วนกระดูกอ่อน รูหูทั้งหมดไม่เป็นช่องตรงทีเดียว แต่จะโค้งเล็กน้อย รูหูจะคอดเป็นบางแห่ง เช่น ที่รอยต่อระหว่างส่วนกระดูกและ ส่วนกระดูกอ่อน และที่ส่วนกระดูกห่างจากเยื่อแก้วหู ๒-๓ มิลลิเมตร รูหู จะบุด้วยผิวหนัง ที่ส่วนกระดูกอ่อน ผิวหนังค่อน ข้างหนา และมีขน และยังมีต่อมขี้หูด้วย เยื่อ รูป หูส่วนกลาง เป็นโพรงอากาศเล็กๆ ในกระดูก อยู่ระหว่างเยื่อแก้วหูกับหูส่วนใน ภายในโพรงนี้มีกระดูกหูเล็กๆ ๓ ชิ้น คือ กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน ซึ่งต่อกันจากเยื่อแก้วหูไปยังผนังใกล้ริมของหูส่วนใน เพื่อนำคลื่นเสียงที่มากระทบเยื่อแก้วหูไปยังหูส่วนในได้ หูส่วนกลางยาวและสูงประมาณ ๑๕ มิลลิเมตร แต่กว้างเพียง ๖ มิลลิเมตรที่ส่วนบน ๔ มิลลิเมตรที่ส่วนล่าง และ ๑.๕-๒.๐ มิลลิเมตรที่ส่วนกลาง โพรงอากาศของหูส่วนกลางยังมีท่อทางข้างหน้า ไปติดต่อกับคอหอยส่วนจมูก (nasopharynx) และมีท่อทางข้างหลัง ไปติดต่อกับโพรงอากาศ ในปุ่มกระดูกหลังใบหูด้วย หูส่วนใน เป็นช่องที่มีสารน้ำอยู่ค่อนข้างสลับซับซ้อนอยู่ภายใน กระดูกที่เรียกว่า โบนีลาบีรินธ์ (bony labyrinth) และภายในโบนีลาบีรินธ์ ยังมีท่อหรือถุงซึ่งมีผนังบางๆ อยู่อีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า เมมเบรนัสลาบีรินธ์ (membranous labyrinth) โบนี |
หูผ่าตามยาว แสดงส่วนประกอบภายใน |
เว ช่อง ช่อง เมมเบรนั ยู |