สรีรวิทยา
สรีรวิทยาเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาหน้าที่การทำงานของ สิ่งมีชีวิต อาจเป็นพืช สัตว์ หรือมนุษย์ ก็ได้ สรีรวิทยามาจาก คำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Physiology ในสมัยก่อนการศึกษามุ่ง ถึงหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ซึ่งเรียกว่า สรีรวิทยาระดับอวัยวะ (organ physiology) เป็นสำคัญ ต่อมาเมื่อความเจริญทางวิทยา- ศาสตร์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงได้มีการศึกษา มุ่งไปถึงหน้าที่ของเซลล์ ที่เรียกว่า สรีรวิทยาระดับเซลล์ (cell physiology) ซึ่งช่วยให้ ทราบถึงกลไกการทำงานละเอียดและลึกซึ้งขึ้น อย่างไรก็ดีแม้ ความรู้เรื่องกลไกการทำงานเพิ่มขึ้น แต่ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การทำงานในร่างกายนั้น ต้องอาศัยหน้าที่ซึ่งมีการประสานและ เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด จึงมีความจำเป็นจะต้องศึกษาการ เชื่อมโยง ชีววิทยาของเซลล์จนถึงการวิเคราะห์การทำงานระบบ ต่างๆ รวมทั้งทฤษฎีการควบคุมด้วย
ถ้าจะเปรียบร่างกายเหมือนเครื่องกลชนิดหนึ่ง การศึกษา เพื่อให้เข้าใจหน้าที่ของเครื่องกลอันละเอียดอ่อนอย่างร่างกาย นั้น ย่อมลำบากมากกว่าการศึกษาและเข้าใจหน้าที่การทำงานของ เครื่องกลทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ เพราะเครื่องกลจริงๆ นั้น มนุษย์ เป็นผู้ออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์เฉพาะอย่าง จึงย่อม ต้องเข้าใจกลไกการทำงานของเครื่องกลนั้นเป็นอย่างดี ส่วน เครื่องกลอันสลับซับซ้อนของร่างกายนั้น ธรรมชาติเป็นผู้สร้าง และปรุงแต่งมานาน อวัยวะส่วนใดในสัตว์ชั้นต่ำที่ทำหน้าที่ ไม่ได้ดี หรือไม่มีประสิทธิภาพ ธรรมชาติก็ค่อยๆ ดัดแปลง หรือสร้างขึ้นใหม่เพิ่มเติมในสัตว์ชั้นสูง ฉะนั้นปัญหาของนัก ค้นคว้าทางสรีรวิทยาจึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสร้าง หากแต่ เป็นการค้นคว้าเพื่อหากลไกการทำงานที่ได้สร้างมาแล้ว
เนื่องจากสรีรวิทยาเป็นวิชาที่กว้างขวางมาก ไม่สามารถ กล่าวครอบคลุมได้หมด ฉะนั้นในที่นี้จะขอจำกัดอยู่เพียงสรีรวิทยา ของมนุษย์เท่านั้น ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ และแต่ละอวัยวะประกอบด้วยเซลล์ต่างๆ มากมาย อาจประมาณ อย่างคร่าวๆ ได้ว่ามนุษย์มีเซลล์มากถึง ๖๐ ล้านล้านเซลล์ การที่ เซลล์ต่างๆ จะทำงานได้นั้น จะต้องใช้พลังงานที่ได้จากอาหารซึ่ง กินเข้าไป และอาหารจะต้องทำปฏิกิริยากับออกชิเจนเพื่อให้เกิด พลังงาน การทำงานของเซลล์ อาศัยปฏิกิริยาเคมีที่ซับซ้อนมาก มายหลายอย่าง นอกจากนั้นยังมีของเสียเกิดขึ้นจากการทำงาน ของเซลล์ด้วย จากการที่เซลล์ต้องทำงานดังกล่าว ร่างกายจึง ต้องมีระบบงานหลายระบบด้วยกันคือ ระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมีหน้าที่นำอาหารซึ่งเปรียบเสมือนวัตถุดิบเข้าไปย่อยเพื่อเปลี่ยน แปลงให้เป็นสารโมเลกุลเล็กๆ ที่เซลล์ต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์ ได้ ระบบหายใจทำหน้าที่นำออกซิเจนเข้าไปในร่างกายและยังทำ หน้าที่ขับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นของเสียอย่างหนึ่งออกจาก ร่างกายด้วย ร่างกายต้องมีระบบการไหลเวียนเลือดซึ่งเปรียบเสมือน ระบบขนส่ง ทำหน้าที่ขนส่งอาหารและออกซิเจนไปให้เซลล์ใช้และ ทำหน้าที่ขนของเสียที่เกิดจากเซลล์กลับมาด้วย นอกจากนั้น ร่างกายยังต้องมีระบบขับถ่ายของเสียโดยเฉพาะขึ้นอีกระบบ หนึ่ง ร่างกายมนุษย์ต้องมีการเคลื่อนไหวเพื่อกระทำกิจกรรรมต่างๆ เช่น การหาอาหาร การหลีกหนีจากอันตราย เป็นต้น จึงต้องมี ระบบการเคลื่อนไหวซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ ต่อ สิ่งสำคัญที่ต้องกล่าวถึงคือ ระบบควบคุมและประสาน งาน เนื่องจากร่างกายประกอบด้วยอวัยวะหลายอย่าง และเซลล์ ต่างๆ มากมาย ซึ่งจะต้องมีการทำงานประสานกันด้วยดี จึงต้องมี ระบบขนส่ง ทำหน้าที่ขนส่งอาหารและออกซิเจนไปให้เซลล์ใช้ และทำหน้าที่ขนของเสียที่เกิดจากเซลล์กลับมาด้วย นอกจากนั้น ระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งมีการควบคุมโดยการปล่อยสารเคมีออกไป ในเลือด แล้วไหลไปพร้อมเลือดเพื่อไปยังอวัยวะที่ถูกควบคุม หรือปล่อยไปยังอวัยวะที่จะถูกควบคุมโดยตรง ระบบสุดท้าย ที่จะต้องกล่าวถึงคือระบบสืบพันธุ์ ซึ่งเป็นระบบที่สืบทอดเพื่อให้ มีลูกหลานสืบต่อไปเพราะเซลล์ต่างๆ ย่อมมีการเสื่อมและตายไป เรื่อยๆ