ระบบปัสสาวะ หน้าที่สำคัญที่สุดของไตคือ ขับถ่ายปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่อื่นอีก เช่น การควบคุม และการสร้าง อาจสรุปหน้าที่ของไตได้ดังนี้ ๑. การขับถ่ายน้ำและของเสียอื่นๆ ซึ่งเกิดจากเมแทบอลิซึมออกจากร่างกาย และที่ร่างกายได้รับเข้าไป ๒. การควบคุมความเข้มข้นของสารต่างๆ ในร่างกาย คือ ๒.๑ ควบคุมดุลน้ำและอิเล็กโทรไลต์ สำหรับหน้าที่นี้นับว่าไตมีบทบาทสำคัญที่สุด ๒.๒ ควบคุมดุลกรดด่าง ไตมีหน้าที่สำคัญเช่นเดียวกัน ๓. การสร้าง ไตช่วยสร้างสารบางอย่าง เช่น ฮอร์โมน แองจิโอเทนซิน (angiotensin) แอมโมเนีย เป็นต้น การขับถ่ายปัสสาวะ อาจแบ่งได้เป็น ๒ ตอน คือ ก. การเกิดปัสสาวะ (urine formation) ข. การถ่ายปัสสาวะ (micturition) การเข้าใจกลไกของการขับถ่ายปัสสาวะขึ้นอยู่กับความรู้ ในลักษณะทางกายวิภาคของไต ไตประกอบด้วยหน่วยไต (nephron) ซึ่งเป็นหน่วยเล็กที่สุดที่ทำหน้าที่ได้ ไตข้างหนึ่งมี หน่วยไตประมาณ ๑ ล้านอัน แต่ละหน่วยไตประกอบด้วย โกลเมอรูลัส ซึ่งทำหน้าที่กรองเลือด โดยมีหลอดเลือดฝอยโกลเมอรูลาร์ นำเลือดมากรองผ่านเยื่อหุ้มซึ่งเรียกว่า แคปซูลบาวมัน (Bowman's capsule) ได้สารน้ำออกมา แล้วจึงปล่อยลงไปในหลอด ไตฝอย (renal tubule) ซึ่งจะทำหน้าที่ดูดสารบางอย่างกลับและ ขับถ่ายสารบางอย่างออกไป รวมทั้งเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของ ปัสสาวะให้เหมาะสม หลังจากนั้นจะเทเข้าสู่หลอดไตรวม (collecting tubule) และท่อไตรวม (collecting duct) เพื่อเทเข้าสู่กรวยไต (renal pelvis) ไหลผ่านหลอดไต (ureter) ลงไปเก็บไว้ในกระเพาะ ปัสสาวะ (urinary bladder) เพื่อเตรียมถ่ายทิ้งต่อไป |
หน่วยการทำงานของไต แสดงให้เห็นการกรองของโกลเมอรูลัส และการดูดกลับของหลอดไตฝอย |
เลือดไหลผ่านไตทั้งสองข้างประมาณ ๑,๒๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร/นาที (คนน้ำหนัก ๗๐ กิโลกรัม) เรียกว่า การไหลเวียน เลือดของไต (renal blood flow, R.B.F.) แต่ค่านั้นเปลี่ยนแปลง ได้มาก ปริมาณเลือดที่ไหลผ่านไตคิดเป็นร้อยละ ๒๑ (๒๑-๓๐%) ของปริมาณเลือดที่ส่งออกจากหัวใจ/นาที ซึ่งเรียกว่า แฟรคชัน ของไต (renal fraction) การก เป็น เยื่อ ส่วน ไต อัตรา การ หน้า |