เยาวชนเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ มีจำนวนมากประมาณสองในสามของประชากรทั่วประเทศ จึงถือว่า เยาวชนเป็นพลังที่มีความสำคัญยิ่ง |
เยาวชนของชาตินั้นย่อมมีทั้งผู้ที่มีความสมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และผู้ที่ด้อยความสามารถทางร่างกาย สมอง จิตใจ ซึ่งเยาวชนกลุ่มนี้อาจแบ่งตามลักษณะของความบกพร่อง เป็น ๘ กลุ่ม คือ |
๑. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้แก่ เด็กเรียนช้า เด็กปัญญาอ่อน ๒. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องทางการอ่าน เด็กที่มีความบกพร่องทางเลขคณิต |
๓. เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ ๔. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา เช่น เด็กที่มีเสียงสูงหรือต่ำผิดปกติ |
๕. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ได้แก่ เด็กหูหนวก หูตึง ๖. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น ได้แก่ เด็กตาบอด เด็กที่เห็นเลือนลาง |
๗. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ ได้แก่ เด็กแขนขาพิการแต่กำเนิด เด็กเป็นโรคหัวใจ ๘. เด็กพิการซ้อน ได้แก่ เด็กที่มีความพิการมากกว่าหนึ่งอย่างขึ้นไป |
ทุกชีวิตไม่ว่าเกิดมาอยู่ในสภาพใดก็ตาม จะต้องต่อสู้ และดิ้นรน เพื่อความอยู่รอด ด้วยเหตุนี้เยาวชนผู้ที่มีความบกพร่องดังกล่าว จึงมีความต้องการเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป คือ
|
ความต้องการเหล่านี้ใช่ว่าจะหมดโอกาสได้รับการตอบสนอง ในการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในวัยเรียน รัฐได้เร่งขยายและพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแก่ประชากรกลุ่มที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง และจิตใจ ให้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนตามความสามารถของบุคคลนั้นๆ โดยจัดและสนับสนุนให้ผู้มีความพิการทางร่างกาย สมอง และจิตใจ ให้ได้รับการศึกษาโดยทั่วถึงกัน ด้วยเหตุนี้รัฐจึงได้จัด "การศึกษาพิเศษ" ให้แก่บุคคลกลุ่มนี้ |
ในประเทศไทยได้มีการจัดให้เด็กพิการกลุ่มแรกคือ เด็กตาบอด เรียนหนังสือเป็นครั้งแรกเมื่อ ๕๒ ปีมาแล้ว คือ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๒ การสอนให้เด็กพิการเรียนได้นั้น เราต้องใช้วิธีพิเศษช่วย เช่น ฝึกหัดให้เด็กตาบอดใช้นิ้วมือสัมผัสอ่านอักษร ที่แทนด้วยจุดนูน แทนการอ่านหนังสือปกติด้วยตา หรือฝึกให้เด็กหูหนวก ใช้ภาษามือในการพูดคุย และเรียนรู้ |