ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ อากาศ น้ำ ดิน แร่ธาตุ ป่าไม้ สัตว์ป่า พลังงานความร้อน พลังงานแสงแดด และอื่นๆ มนุษย์ได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตนับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ทรัพยากรธรรมชาติ จึงเป็นประโยชน์ และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมวลมนุษย์
สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ตามความต้องการของมนุษย์เช่น เขื่อนภูมิพล จ.ตาก
สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่างๆ ทุกสิ่งที่อยู่ล้อมรอบตัวเราทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต สิ่งต่างๆ เหล่านี้ อาจเป็นได้ ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้แก่ บรรยากาศ น้ำ ดิน แร่ธาตุ พืช และสัตว์ ส่วนสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ สาธารณูปการต่างๆ เช่น ถนน เขื่อนกั้นน้ำ ฝาย คูคลอง เป็นต้น
ง. ลิกไนต์
ทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้น
มีอยู่ในธรรมชาติมากมายหลายชนิด เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำ ดิน และอากาศ
เขื่อนสิริกิติ์ เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ให้ประโยชน์ทางด้านเก็บกักน้ำเพื่อการชลประทาน การไฟฟ้า
สัตว์ป่า เป็นทรัพยากรที่ไม่หมดสิ้น และมีประโยชน์ในการทำให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติ
วิธีการสำคัญที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การออกกฎหมายควบคุม การจัดตั้งองค์กรเพื่อบริหารงาน การวางแผนพัฒนาสิ่งแวดล้อม การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม การศึกษา และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากโครงการพัฒนา ทั้งของภาครัฐ และภาคเอกชน และการประชาสัมพันธ์ และสิ่งแวดล้อมศึกษา
ในวิธีการทั้งหลายทั้งปวงนี้ การออกกฎหมาย ซึ่งมีบทลงโทษที่เหมาะสม จะเป็นวิธีการสำคัญวิธีการหนึ่ง สามารถช่วยให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ประสพผลสำเร็จ ตัวอย่างของกฎหมายในเรื่องนี้มีอาทิเช่น พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พระราชบัญญัติแร่ พระราชบัญญัติโรงงาน พระราชบัญญัติการผังเมือง พระราชบัญญัติน้ำบาดาล และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร เป็นต้น
การจัดองค์กรเพื่อการบริหารงานด้านการกำหนดนโยบายแผนการจัดการ การวางแผนงานโครงการ เป็นวิธีการหนึ่ง ของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ในระดับหน่วยงานปฏิบัติ ในปัจจุบันมีหน่วยงานรับผิดชอบ ในด้านสิ่งแวดล้อมโดยตรง ๓ หน่วยงาน ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม คือ สำนักงานนโยบาย และแผนสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดตั้งสำนักงานสิ่งแวดล้อมภูมิภาคขึ้น ๔ ภาค ในภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้การจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ การจัดทำแผนในลักษณะนี้ได้ดำเนินการมาตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๔ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๗ (๒๕๓๖ - ๒๕๓๙) ซึ่งเป็นแผนพัฒนาประเทศฉบับ ปัจจุบัน ได้มีการจัดทำแผน เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมไว้ชัดเจนกว่าแผนที่แล้วมา โดยแยกเป็น แผนการบริหาร และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และแผนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิต
วิธีการสำคัญอีกวิธีหนึ่งในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็คือ การกำหนดมาตรฐาน เพื่อการควบคุมภาวะมลพิษของประเทศ และควบคุมแหล่งกำเนิด เพื่อให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาตรฐานที่กำหนด ตัวอย่างของมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่กำหนดขึ้นแล้ว ได้แก่ มาตรฐานค่าควันดำ และค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่ระบายออกจากท่อไอเสียของรถยนต์ มาตรฐานคุณภาพอากาศเสีย ที่ระบายออกจากโรงงาน มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ มาตรฐานระดับเสียงของรถยนต์ รถจักรยานยนต์และเรือ มาตรฐานและวิธีการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภท และบางขนาด มาตรฐานคุณภาพน้ำดื่ม มาตรฐานวัตถุมีพิษในอาหารและเครื่องสำอาง เป็นต้น
ทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชนได้ส่งเสริมสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนรักสัตว์และสิ่งแวดล้อมโดยการพาไปทัศนศึกษา
วิธีการสำคัญประการสุดท้าย ได้แก่ การประชาสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อมุ่งสร้างจิตสำนึกให้รู้จักคุณค่า และความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชนทุกคน โดยมุ่งเน้นที่เด็กและเยาวชน ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า