ประติมากรรมรูปเคารพ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) พระประธานพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประติมากรรมที่เป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญของไทย
พระศาสดา พระประธานพระวิหารพระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปของไทยเป็นรูปเปรียบ หรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า แต่มิได้หมายความว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระพุทธลักษณะดั่งพระพุทธรูป ช่างไทยส่วนใหญ่มักศึกษาธรรม จนเข้าถึงแก่นแท้ สามารถสร้างพระพุทธรูปได้งดงามยอดยิ่ง ดูดั่งรูปเนรมิต รวมพระลักษณะของพระองค์เข้าด้วยหลักธรรม ที่แสดงความรู้แจ้ง เห็นจริง การบรรลุพระอรหัตผล การสร้างพระพุทธรูปมิได้มุ่งหมายแสดงคุณลักษณะของพระพุทธเจ้าแต่เพียงส่วนเดียว แต่ต้องทำให้งาม ต้องรวมใจคนทั้งหลายด้วย เพราะพระพุทธรูปเป็นศูนย์รวมของศาสนิกชน เพื่อกราบไหว้บูชา สิ่งที่แฝงอยู่ในองค์พระพุทธรูป เป็นเรื่องชวนศึกษาอยู่ไม่น้อย ดังเช่น เมื่อเรามองดูพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย นอกจากจะทำให้ผู้ดูรำลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ประติมากรรมยังแสดงคุณค่าความงามทุกส่วน ตั้งแต่ปลายพระบาทจรดปลายพระรัศมี แสดงความสมบูรณ์ลงตัวของธาตุต่างๆ (องค์ประกอบ) ทางทัศนศิลป์ ทั้งเส้นรูปนอกที่อ่อนหวานประสานกลมกลืนกับเส้นที่แบ่งส่วนต่างๆ ภายในขององค์พระพุทธรูป ปริมาตรความนูนโค้งเว้าของส่วนต่างๆ ที่เปล่งปลั่งกลมกลึง พื้นผิวของพระวรกายที่มันวาว เกลี้ยงเรียบและตึงเหล่านี้ ล้วนก่อให้เกิดรูปร่าง และรูปทรงที่ให้ความรู้สึกถึงความอุดมสมบูรณ์พูนสุข ให้ความรู้สึกอิ่มเอิบใจ ทัศนธาตุทุกสิ่งประสานกันเป็นเอกภาพ สร้างคุณค่าความงามทางศิลปะอย่างเต็มที่ ประติมากรรมพระพุทธรูปของไทย แม้จะเป็นประติมากรรมรูปคน หรือเลียนแบบคน แต่เน้นความงามที่ถือเอาคุณค่าทางสุนทรียภาพเป็นสำคัญ โดยไม่ถือความถูกต้องของความงดงามตามระบบร่างกายมนุษย์ ที่เป็นอยู่ในธรรมชาติจริงๆ ประสงค์สะท้อนความงามให้รูปลักษณ์ที่ต้องตาต้องใจ เป็นสิ่งเจริญศรัทธา อิ่มเอิบใจ น่ากราบไหว้บูชา แสดงรสนิยม คตินิยม และความเป็นเชื้อชาติในงานประติมากรรมไว้ได้อย่างชัดเจนยิ่ง
พระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยสุโขทัย ประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
๑. ไม่แสดงความแตกต่างของพื้นผิว มักทำเป็นผิวเกลี้ยงเรียบ สร้างความงามของรูปให้เกิด โดยการแสดงความสูงต่ำของพื้นผิว รูปทรง ช่องไฟ แสดงความโค้งเว้าของปริมาตร ทั้งส่วนพระเศียร พระศอ พระอุระ พระวรกาย พระพาหา จนเกิดความอ่อนหวานคดโค้งของเส้นรูปนอก และเส้นภายใน มีความอ่อนหวาน ทั้งส่วนละเอียด และส่วนรวม ก่อให้เกิดแสงเงา ความมันวาวของตัวประติมากรรมเอง เกิดการแบ่งแยกในส่วนย่อย แล้วรวมกันเป็นเอกภาพในส่วนใหญ่ มีความงามจากการประสานกลมกลืนทางทัศนธาตุของศิลปะ พระพุทธรูปทองคำ ศิลปะสมัยอยุธยา พบที่กรุองค์ปรางค์ วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒. ไม่แสดงความเหมือนจริง และไม่แสดงการเลียนแบบรูปคนในธรรมชาติ ที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงของกล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูกชัดเจน รวมทั้งไม่แสดงอารมณ์แบบมนุษย์ ประติมากรรมรูปคนของไทย ทั้งพระพุทธรูป เทวรูป หรือพระโพธิสัตว์ แม้จะมีอวัยวะทุกสิ่งทุกส่วนเลียนแบบคน ที่มีอยู่ในธรรมชาติ แต่ไม่มีส่วนใด ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าของรูปประติมากรรม เหมือนความเป็นจริงในธรรมชาติเลย มิใช่ช่างไทยขาดฝีมือ และความเข้าใจ แต่ช่างไทยเจตนาสร้างประติมากรรมรูปคน เพื่อต้องการเน้นความงามตามอุดมคติ สร้างลักษณะของศิลปะเป็นศิลปะแบบประดิษฐ์ มีลักษณะเหนือความจริง เน้นความสมบูรณ์ทางทัศนธาตุของศิลปะมากกว่า ๔. ลีลาท่าทางของประติมากรรมรูปเคารพของไทยล้วนเป็นแบบแผนที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์ ขึ้นอย่างมีระเบียบ และถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เรียกลีลาท่าทางของรูปเคารพ โดยเฉพาะพระพุทธรูปนี้ว่า ปาง แต่ละปางจะมีความหมาย และแสดงเรื่องราว หรือเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในพุทธประวัติที่เป็นเรื่องยาว แต่สรุปด้วยท่าทาง หรือปางแบบง่ายๆ เพียงท่าเดียวเท่านั้น เช่น ปางสมาธิ ปางมารวิชัย ปางห้ามสมุทร และปางลีลา เป็นต้น ธรรมจักรสลักหิน ประติมากรรมรูปสัญลักษณ์ เครื่องหมายแห่งการปฐมเทศนา ดอกบัว เป็นเครื่องหมายแห่งการประสูติ | |
พระเครื่อง
นอกจากรูปสัญลักษณ์ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีรูปสัญลักษณ์อื่นที่ช่างชาวพุทธศาสนานิยมสร้างกันมากคือ รอยพระพุทธบาท อันเป็นเครื่องหมายแห่งการประทับรอยแห่งพุทธศาสนา ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลงบนผืนแผ่นดิน ที่พระธรรมของพระองค์เผยแพร่ไปถึง ใบเสมาเป็นสัญลักษณ์แห่งการสมมติกำหนดเขตขัณฑสีมา ส่วนที่เป็นพุทธาวาสแดนบริสุทธิ์แห่งศาสนา และพระพิมพ์ หรือพระเครื่องเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าปางต่างๆ ขนาดเล็ก สำหรับติดตัวไว้ เพื่อเคารพบูชา |