ผลิตผลจากป่า ป่าที่สมบูรณ์จะช่วยลดความรุนแรงของฝนที่ตกลงมาสู่ผิวดิน และช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน หญ้าแฝกช่วยป้องกันการพังทลายของดิน ป่าที่ได้รับการฟื้นฟู จะเป็นเสมือนแนวป้องกันการเกิดไฟป่าได้ ป่าไผ่ | ทรัพยากรป่าไม้ ป่าไม้ คือ สังคมของต้นไม้ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อันมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และปกคลุมเนื้อที่กว้างใหญ่ มีการใช้ประโยชน์จากอากาศ น้ำ และวัตถุธาตุต่างๆ ในดิน เพื่อการเจริญเติบโต มีการสืบพันธุ์ รวมทั้งให้ผลิตผล และบริการ ที่จำเป็นต่อมนุษย์ ความสำคัญของป่าไม้ ป่าไม้มีคุณค่า และความสำคัญ ที่ให้ประโยชน์แก่มนุษยชาติ ทั้งทางตรง และทางอ้อมอเนกประการ โดยเฉพาะประโยชน์ทางอ้อมนั้นน้อยคนนักที่จะเห็นความสำคัญ บางทีอาจจะไม่รู้ หรือคิดไม่ถึง ซึ่งความจริงแล้ว ประโยชน์ทางอ้อม มีไม่น้อยไปกว่าประโยชน์ทางตรง ประโยชน์ทางตรงของป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ๑. ไม้ เป็นผลิตผลจากป่า และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่โบราณกาล เนื่องจากมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ซึ่งบางครั้ง ใช้สิ่งอื่นทดแทนไม่ได้ ไม้จึงยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง ๒. เชื้อเพลิง ที่ได้จากป่าคือ ฟืนและถ่าน ใช้ในการหุงต้ม และใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ๓. วัตถุเคมี ที่ได้จากไม้ ได้แก่ เซลลูโลส และลิกนิน เซลลูโลส ใช้ในการทำกระดาษ ไหมเทียม วัตถุระเบิด น้ำตาล แอลกอฮอล์ และยีสต์ ส่วนลิกนินใช้ในการทำวานิลา น้ำหอม เครื่องสำอาง ยาถนอม อาหารไม่ให้บูดเน่า และยารักษาโรคผิวหนัง ๔. อาหาร มนุษย์ได้อาหารหลายอย่าง จากป่า เช่น ดอก ผล ใบ เมล็ด หน่อไม้ เห็ด มันต่างๆ และอาหารที่ได้จากสัตว์ป่า ๕. ยารักษาโรค ที่ได้จากป่าที่สำคัญมี สมุนไพร ๖. ชัน น้ำมัน และยางไม้ ๗. อาหารสัตว์ มนุษย์ใช้ป่าไม้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ และหาอาหาร สำหรับเลี้ยงสัตว์ เพราะในป่ามีหญ้า ใบไม้ เปลือกไม้ผล และเมล็ดที่สัตว์ชอบกินอยู่หลายชนิด ในประเทศไทยการเลี้ยงสัตว์ป่ายังไม่แพร่หลายนัก หากมีการส่งเสริมการเลี้ยง และกำหนดขอบเขตการเลี้ยงให้เหมาะสมแล้ว ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ประโยชน์ทางอ้อมของป่าไม้ ได้แก่ ๑. ช่วยให้ฝนตกเพิ่มขึ้น และทำให้มีความชุ่มชื้นในอากาศสม่ำเสมอ เนื่องจากอากาศเหนือท้องที่ที่ป่าไม้ขึ้นอยู่ย่อมมีความชุ่มชื้น และเย็นกว่าในที่ที่ไม่มีต้นไม้ เมฆฝนที่ลอยผ่านมา เมื่อกระทบความเย็น จะกลั่นเป็นหยดน้ำตกลงมาเป็นฝน ช่วยทำให้มีฝนตกมากขึ้นเฉพาะที่เฉพาะแห่งได้ ปริมาณฝนที่ตกเพิ่มขึ้นในที่ที่เป็นป่านี้ ถ้าเป็นที่มีความสูงมาก ปริมาณน้ำฝนที่ตกจะยิ่งเพิ่มขึ้นตามส่วน ๒. บรรเทาความรุนแรงของลมมรสุม ในที่ที่มีป่าไม้เป็นฉากกำบัง หรือมีการปลูกต้นไม้ไว้เป็นแนวป้องกันลม จะช่วยลดความเร็วของลมลงอย่างรวดเร็ว จึงช่วยป้องกันบ้านเรือน และไร่นา ที่อยู่ด้านใต้ลม มิให้ถูกพายุทำอันตราย หรือทำความเสียหาย อีกทั้งช่วยป้องกันความชุ่มชื้นของดินและผิวดิน ที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ให้ถูกลมพัดพาไป ๓. ป้องกันการพังทลายของดิน ในเวลาที่มีฝนตกลงมา เรือนยอดของป่าไม้ จะสกัดกั้นความรุนแรงของฝน มิให้ตกกระทบผิวดินโดยตรง ๔. บรรเทาอุทกภัย ป่าไม้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของอุทกภัยให้เบาบางลงได้ และเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาเพียงสั้นๆ ซึ่งไม่ยืนยาวเหมือนการไม่มีป่าไม้อยู่เลย ๕. ทำให้น้ำไหลอย่างสม่ำเสมอตลอดปี เมื่อฝนตกลงมา น้ำฝนถูกกิ่งไม้ใบไม้ตามพื้นป่า และดินอันร่วนซุยดูดซับน้ำไว้ และค่อยๆ ซึมลง ดินสะสมไว้เป็นน้ำใต้ดิน แล้วค่อยๆ ปล่อยออกสู่ลำห้วย ลำธาร ทำให้ฤดูแล้ง ซึ่งไม่มีฝนตก แต่ลำธารต่างๆ ก็ยังคงมีน้ำไหลอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เนื่องจากพื้นดินใต้ป่าไม้เป็นอ่างเก็บน้ำธรรมชาติ ที่สะสมน้ำเอาไว้ในตอนฤดูฝน แล้วระบายออกในฤดูแล้งนั่นเอง ๖. เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และช่วยรักษาความสมดุลของธรรมชาติไว้ด้วย ซึ่งหากไม่มีป่าไม้ สัตว์ป่าต่างๆ ดังกล่าวก็จะสูญพันธุ์ไป เพราะจะไม่มีแหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งหากิน ๗. เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เพื่อให้ประชาชนสามารถไปพักผ่อนในที่ที่มีความสงบ ร่มเย็น อากาศบริสุทธิ์ และมีทิวทัศน์ธรรมชาติอันสวยงาม ตามป่าเขาลำเนาไพร โดยรัฐบาลได้จัดป่าไม้บางแห่ง ที่มีทิวทัศน์สวยงาม ไว้ให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ประชาชนพลเมือง เช่น จัดทำเป็นอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในป่า ซึ่งนับวันความสำคัญของป่าไม้ ในการที่จะใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน จะมีมากขึ้น และถือว่า จะเป็นประโยชน์ทางอ้อมของป่าไม้ ที่มีความสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในขณะนี้ การจัดการทรัพยากรป่าไม้ จากการที่พื้นที่ป่าไม้ลดลงอย่างมาก อันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนานัปการ และผลิตผลป่าไม้ลดลง ในขณะที่ความต้องการใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องอาศัยหลักวิชาการในการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้อย่างจริงจัง โดยแยกเป็น ๒ ประเภทหลักๆ ได้แก่ ๑. พื้นที่ป่าอนุรักษ์ ประกอบด้วยพื้นที่ป่า ต้นน้ำลำธาร หรือพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การจัดการควรมุ่งเน้นที่จะรักษาไว้ สำหรับเป็นป่าป้องกันภัย หรือเป็นป่าอเนกประสงค์ให้มากที่สุด เนื่องจากเป็นป่าสาธารณประโยชน์ โดยในการบริหารการ จัดการจะต้องให้ความสำคัญระดับสูงต่อการ ป้องกันรักษาป่าที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ ส่วนบริเวณ ที่มีสภาพเสื่อมโทรม โดยเฉพาะบริเวณที่เป็น แหล่งต้นน้ำลำธาร ควรรีบเร่งแก้ไขปรับปรุงให้มี สภาพดียิ่งขึ้น ดังนี้ ๑.๑ กำหนดขอบเขตที่ยอมให้เป็นแหล่งทำมาหากินของชาวเขา โดยควบคุมไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน และทำไร่เลื่อนลอย และพยายามส่งเสริมช่วยเหลือ ให้ปลูกพืชผลต่างๆ ที่เป็นไม้ยืนต้น ส่วนกรณีที่ส่งเสริมให้ปลูกพืชไร่ ก็จะต้องแนะนำ หรือสาธิตการใช้ประโยชน์ที่ดินบนภูเขา ให้ถูกหลักการอนุรักษ์ดินและน้ำ ๑.๒ ในบริเวณป่าที่ถูกบุกรุกทำลาย ถ้าอยู่ในสภาพที่สามารถฟื้นตัวตามธรรมชาติได้ ก็ควรควบคุม และป้องกัน มิให้มีการเข้าไปใช้พื้นที่ป่าไม้ดังกล่าว และปล่อยให้ป่าไม้ค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ถ้าพื้นที่บริเวณใด ถูกแผ้วถาง กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่า หรือปราศจากพืชปกคลุมดิน ก็ควรจะปลูกสร้างป่าหรือพืชคลุมดินขึ้น เพื่อป้องกันการกัดเซาะของน้ำฝน ชนิด ของไม้ที่ปลูกควรเป็นไม้โตเร็ว มีการคายน้ำน้อย และสามารถที่จะยึดดินและปกคลุมให้ดินชุ่มชื้น อยู่เสมอ ๑.๓ ป้องกันมิให้เกิดไฟไหม้ป่า เพราะไฟป่าเป็นปัจจัยที่ทำลายพืชป่า และพืชคลุมดินอย่างร้ายแรงที่สุด ทำให้เกิดการชะล้างหน้าดิน ทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเกิดการสูญเสียน้ำที่ไหลบ่าหน้าดิน จึงควรหามาตรการป้อง กัน รวมทั้งจัดกำลังคนคอยตรวจตราป้องกัน หรือช่วยลดอัตราการเกิดไฟไหม้ให้ลดน้อยลง ๑.๔ บริเวณที่สภาพภูมิประเทศมีความ ลาดชันมาก และดินอยู่ในสภาพที่ไม่คงทน ห้ามมิให้ใช้ประโยชน์ เพื่อการอื่น นอกจากปลูกป่า และพืชคลุมดินเท่านั้น ๑.๕ ให้การศึกษา อบรม และเผยแพร่ความรู้ แก่ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทุกระดับ ให้ทราบถึงประโยชน์ และคุณค่าของทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้งวิธีการอนุรักษ์ ดิน น้ำ และป่าไม้ ๒. พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ ในชั้นต้นจะต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันรักษาป่า ทั้งที่เป็น ธรรมชาติ และสวนป่า รวมทั้งหาวิธีเพิ่มผลิตผลของป่าไม้ในเนื้อที่ป่าที่เหลืออยู่นี้ ให้อำนวยประโยชน์ ทั้งทางตรง และทางอ้อมแก่ประเทศชาติ และประชาชนให้มากที่สุด ดังนี้ ๒.๑ ให้รัฐทุ่มเทการดำเนินงานปลูกสร้างสวนป่าให้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากพื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายลงไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะให้หามาตรการในการส่งเสริม และสนับสนุนให้เอกชน บริษัท หรือหน่วยงานองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการป่าไม้ ตลอดจนโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย และประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้วย ๒.๒ การปลูกสร้างสวนป่า เพื่อเพิ่มผลิตผลป่าไม้ ควรปลูกไม้ที่ใช้เป็นสินค้าได้ โดยปลูกสร้างป่า เพื่อผลิตไม้ที่มีราคาสูง และคุณภาพดี เช่น ไม้สัก โดยเฉพาะในบริเวณที่เป็นถิ่นกำเนิด องไม้สัก ควรมุ่งปลูกให้มากยิ่งขึ้น ในบริเวณที่ถูกแผ้วถางเป็นที่รกร้างว่างเปล่า หรือที่ให้ผลิตผล ต่ำ อย่างไรก็ตาม การปลูกสร้างสวนป่าควรใช้ เมล็ดและกล้าไม้พันธุ์ดีที่ได้รับการคัดเลือกแล้ว เท่านั้น เพื่อว่าผลิตผลจากสวนป่าในอนาคตจะได้ แต่ไม้ที่มีคุณภาพดี และนอกเหนือจากไม้สักแล้ว ควรส่งเสริมให้ปลูกไม้กระยาเลยและพันธุ์ไม้โต เร็วอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย รวมทั้งส่งเสริมให้มีการ ปลูกไม้ไผ่และไม้สนเขา เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ ในการทำเยื่อกระดาษให้กว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ ยังสามารถทำได้ในรูปของการส่งเสริมเกษตรกร ให้ทำการปลูกสร้างป่าตามหัวไร่ปลายนา หรือที่รกร้างว่างเปล่าของตน โดยไม้ที่ปลูก อาจเป็นไม้ไผ่ หรือไม้โตเร็ว ที่ใช้รอบหมุนเวียนสั้นๆ ทั้งนี้ เพื่อจะได้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกพืชเกษตรอีกส่วนหนึ่ง อีกทั้งทำให้เกิดความร่มเย็น และเป็นแนวกันลม ให้แก่พืชสวนไร่นาด้วย ตลอดจนการส่งเสริม และสนับสนุนให้ประชาชนในท้องถิ่น ดำเนิน การพัฒนาในรูปของป่าชุมชน โดยทำการปลูกป่า ประเภทไม้ใช้สอยที่โตเร็ว และสามารถขึ้นได้ดี ในสภาพพื้นดินของท้องถิ่นนั้น และควรเป็นต้น ไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้หลายประเภท ตลอดจนการ ปลูกไม้สมุนไพรในบริเวณที่เป็นที่รกร้างว่างเปล่า หรือที่สาธารณประโยชน์ เพื่อใช้ประโยชน์ใน ท้องถิ่นของตน และเพื่อช่วยรักษาสภาวะแวดล้อม |