เล่มที่ 21
การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
การเลี้ยงสัตว์ป่าในลักษณะเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ช่วยลดการทำลายสัตว์ป่าได้
การเลี้ยงสัตว์ป่าในลักษณะเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ช่วยลดการทำลายสัตว์ป่าได้

หมูป่า
หมูป่า

การท่องเที่ยวชมสวนสัตว์
การท่องเที่ยวชมสวนสัตว์

วัวแดง
วัวแดง

สมันเป็นสัตว์ป่าที่สูญพันธุ์แล้ว
สมันเป็นสัตว์ป่าที่สูญพันธุ์แล้ว
ทรัพยากรสัตว์ป่า

สัตว์ป่า

            โดยทั่วๆ ไป เรามักจะหมายถึง เฉพาะสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ สัตว์จำพวกปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม บางคนก็หมายถึง สัตว์ที่มีกระดูกหลังที่ไม่เชื่อง หรือที่คนไม่ได้เลี้ยงเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ในพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ (ฉบับล่าสุด) ได้ให้คำนิยามของ สัตว์ป่า ว่า หมายถึง สัตว์ทุกชนิด ไม่ว่าสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลง หรือแมง ซึ่งโดยสภาพธรรมชาติ ย่อมเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำ และให้หมายความรวมถึง ไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้น ทุกชนิดด้วย แต่ไม่หมายความรวมถึงสัตว์พาหนะ ที่ได้จดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณตามกฎหมาย ว่าด้วยสัตว์พาหนะแล้ว และสัตว์พาหนะ ที่ได้มาจากการสืบพันธุ์ของสัตว์พาหนะดังกล่าว

ประโยชน์ของสัตว์ป่า


            สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์ มาตั้งแต่สมัยที่คนยังอาศัยอยู่กับธรรมชาติในป่า หรือในถ้ำ ยิ่งในสมัยปัจจุบัน เมื่อมนุษย์มีความเจริญก้าวหน้าขึ้น สัตว์ป่าก็ยิ่งกลับมีบทบาท และเพิ่มความสำคัญให้แก่มนุษย์มากขึ้นเป็นลำดับ

การจัดการสัตว์ป่า

            สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ประเภทที่เพิ่มพูนขึ้นได้ เช่นเดียวกับ ป่าไม้ ทุ่งหญ้า ดิน และน้ำ แต่จะต้องมีการบำรุงรักษา และใช้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันเราใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าอย่าง ไม่ถูกวิธีเท่าที่ควร เป็นการใช้อย่างสิ้นเปลือง และไม่รู้คุณค่า และไม่พยายามหาวิธีทดแทนให้ พอเพียงและเหมาะสม ทำให้สัตว์ป่าบางชนิดได้ สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น สมัน และอีกหลายชนิด กำลังมีจำนวนลดน้อยลง หรือใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น นกยางจีน เป็ดน้ำ กูปรี กระซู่ แรด ละอง กวางผา เป็นต้น และถ้าหากสัตว์ป่าชนิดใดสูญพันธุ์ไปแล้ว ก็ไม่สามารถสร้างพันธุ์ของสัตว์ป่าชนิดนั้นขึ้นมา ได้อีก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการสัตว์ป่า เพื่อการอนุรักษ์ต่อไป โดยมีหลักการจัดการดังนี้

            ๑. การป้องกัน เป็นการป้องกันให้สัตว์ป่าคงอยู่ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งสำคัญของการจัดการสัตว์ป่า โดยสามารถดำเนินการได้ในรูปของการป้องกัน และปราบปราม การลักลอบล่าสัตว์ป่า การจำกัดการล่า การควบคุมสิ่งทำลาย รวมทั้ง การส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมี จิตสำนึก รู้คุณค่าของสัตว์ป่า และให้ความ เมตตาต่อสัตว์ เป็นต้น

            ๒. การอนุรักษ์พื้นที่ คือ การอนุรักษ์ให้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่หลบภัยของสัตว์ป่าอย่างปลอดภัย รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำ และแหล่งอาหารของสัตว์ป่าด้วย โดยทำการป้องกัน บำรุงรักษา และปรับปรุงแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำและ อาหารของสัตว์ป่าให้อยู่ในสภาพที่ดี และไม่ถูก ทำลายให้สูญหายไป เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ สัตว์ป่ามากที่สุด และมนุษย์เราก็จะได้ใช้ ประโยชน์จากสัตว์ป่าอีกทอดหนึ่ง

            ๓. การเพิ่มปริมาณให้มากขึ้น สามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งอาจจะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ โดยการควบคุมปัจจัยต่างๆ หรือทำให้เพิ่มขึ้น โดยการช่วยเหลือของคน และใช้วิทยาการสมัยใหม่เข้าช่วย เช่น การผสมเทียม เป็นต้น

            ๔. การค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ เพื่อนำผลการค้นคว้าวิจัย ไปประยุกต์กับการจัดการสัตว์ป่า ในอนาคตต่อไป และเมื่อกิจการด้านสัตว์ป่าเจริญมากขึ้น งานป้องกันและปราบปรามการลักลอบ ล่าสัตว์ป่าก็จะลดลง จึงควรเริ่มงานค้นคว้าวิจัย ทางวิชาการให้ควบคู่กับงานด้านการป้องกันและ ปราบปราม

            ๕. การใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่า โดยหาวิธี ที่จะนำสัตว์ป่าต่างๆ มาใช้ให้บังเกิดประโยชน์ต่อสังคม ในทางที่เหมาะสม เช่น จัดสถานที่ชมสัตว์ป่า ให้ประชาชนได้เข้าไปใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือศึกษาหาความรู้ตามสมควร และหากมีจำนวนสัตว์ป่ามากพอ ก็อาจเปิดให้มีการล่าสัตว์นั้นๆ โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใต้การใช้กฎระเบียบต่างๆ ที่จะปฏิบัติในการล่าสัตว์ด้วย