เล่มที่ 21
การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
ปะการังน้ำตื่น
ปะการังน้ำตื่น  

ปะการังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ
ปะการังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ
ปะการัง

ปะการัง

            เป็นสัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลัง อาศัยอยู่ในโครงสร้างหินปูน มีลักษณะการดำรงชีพ ๒ แบบ คือ อยู่ตัวเดียว หรืออยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ปะการังพวกที่เจริญเติบโตในน้ำลึก จะมีลักษณะเป็นก้อนขนาดไม่ใหญ่ ส่วนปะการังที่เจริญได้ดีจะอยู่ในเขตน้ำตื้น จนถึงน้ำลึก ๕๐ เมตร มีการเจริญเติบโตแบบรวมเป็นกลุ่ม จะเกิดเป็นแนวปะการังขนาดใหญ่ ปะการังแต่ละตัวที่มารวมกัน จะสร้างโครงสร้างในรูปของหินปูน เป็นรูปร่างต่างๆ กัน แล้วแต่ชนิดของปะการังนั้นๆ การเจริญเติบโตของปะการังค่อนข้างช้ามาก ทั้งนี้ ขึ้นกับปัจจัยสภาพแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ อุณหภูมิของน้ำ และแสงสว่าง โดยจะเจริญ เติบโตได้ดีในบริเวณที่มีน้ำสะอาด สภาพท้อง ทะเลค่อนข้างแข็งหรือมีการเปลี่ยนแปลงน้อย ความเค็มของน้ำค่อนข้างสูง มีแสงสว่างมาก พอควร อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ ๒๐-๒๙ องศาเซลเซียส

            ปะการังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ บริเวณชายฝั่งทะเล เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์จำนวนมาก อีกทั้งเป็นแหล่งอาหาร เพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพาะพันธุ์วางไข่ และหลบภัย ปะการังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทาง ทะเล การประมง และมีส่วนช่วยรักษาสภาพ สมดุลธรรมชาติของชายฝั่ง ช่วยลดความรุนแรง ของคลื่นที่กระทบต่อชายฝั่ง ความสวยงามของ แนวปะการังช่วยในด้านพักผ่อนหย่อนใจและเป็น จุดดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างดี สามารถนำรายได้ มาสู่ท้องถิ่น รวมทั้งในปัจจุบัน ได้มีการค้นคว้า เพื่อสกัดสารเคมีต่างๆ จากปะการัง สัตว์ และ พืชที่อยู่ในแนวปะการัง เพื่อประโยชน์ทางการ แพทย์ แต่ถ้าหากปะการังถูกทำลายหรือตายไป จะต้องใช้เวลานานมากกว่าที่จะฟื้นตัวขึ้นมาได้

การอนุรักษ์ปะการัง

            การอนุรักษ์ปะการัง เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจกัน และจะต้องรู้จักใช้อย่างถูกวิธีการ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดการทำลาย เพื่อจะได้รับประโยชน์จากมรดกทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะประชาชนในท้องถิ่นจะ สามารถมีส่วนร่วมกับส่วนราชการ หรือรวมตัวกัน เพื่อดูแลรักษาแนวปะการังในท้องถิ่นของตนให้ คงอยู่ได้ ในการจัดการปะการังอาจดำเนินการ ดังนี้ คือ

            ๑. ทำการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในแนวปะการัง พร้อมทั้งจัดทำแผนที่รายละเอียด แสดงบริเวณปะการัง ซึ่งแบ่งเป็น ๔ เขต ได้แก่ เขตการดูแลของท้องถิ่น เขตการใช้ประโยชน์ เพื่อการท่องเที่ยว และนันทนาการ เขตอนุรักษ์ เพื่อความสมดุลของระบบนิเวศ และการวิจัย โดยกำหนดมาตรการในการบริหารการจัดการปะการัง ในแต่ละเขต เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์และ ควบคุมการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับ มาตรการที่กำหนดไว้

            ๒. ติดตั้งทุ่นผูกเรือในเขตการใช้ประโยชน์ ในแนวปะการัง ที่มีความสำคัญสูง สำหรับให้จอดเรือ โดยไม่ให้ทิ้งสมอ

            ๓. ห้ามการจับปลาทุกประเภทในบางบริเวณ เพื่อให้มีปลาเข้ามาหลบในบริเวณนั้นมากขึ้น

            ๔. นำเรือท้องกระจกเพื่อให้ดูปะการัง

            ๕. ประชาสัมพันธ์ให้มีการตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรปะการัง โดยให้มีการศึกษา และเผยแพร่ความรู้ และคุณค่าของปะการังให้กับบุคคลทุกประเภท ทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ในการป้องกัน และฟื้นฟูปะการัง

            ๖. ส่งเสริมให้กลุ่มชุมชน องค์กรเอกชน สมาคม หรือชมรมการท่องเที่ยว ร่วมกันจัดกิจกรรมในเรื่องการรักษาความสะอาด เพื่อการคุ้มครองปะการัง