แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕ - ๒๕๓๙)
การที่ประเทศไทยประสบผลสำเร็จ ในการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๖ ทั้งทางด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การลงทุน การส่งออก และการท่องเที่ยว แต่ขณะเดียวกัน ยังคงมีปัญหาหลายประการตามที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น ดังนั้น ในการวางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๗ จึงกำหนดวัตถุประสงค์หลัก ที่จะเสริมสร้างความสมดุล ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต และทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทาง ๔ ประการ คือ
การกระจายบริการพื้นฐานสู่ภูมิภาค
๑) การรักษาอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ อยู่ในระดับที่เหมาะสมและมีเสถียรภาพอย่าง ต่อเนื่อง
๒) การกระจายรายได้และกระจาย การพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบท
๓) การพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม และ
๔) การพัฒนากฏหมายและระบบราชการ ให้เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
การกระจายบริการพื้นฐานสู่ภูมิภาค
ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดเป้าหมายสำคัญๆ ใน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๗ ไว้ดังนี้
- ให้เศรษฐกิจขยายตัวโดยเฉลี่ยร้อยละ ๘.๒ ต่อปี โดยให้สาขาเกษตรขยายตัว ร้อยละ ๓.๔ สาขาอุตสาหกรรมขยาย ตัวร้อยละ ๙.๕ ต่อปี และการส่งออก เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๑๔.๗ ต่อปี
- ให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวเพิ่มจาก ๔๑,๐๐๐ บาท ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็น ๗๑,๐๐๐ บาท ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙
- กำหนดเป้าหมายการเสริมสร้าง เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยรักษา ระดับเงินเฟ้อเพิ่มเฉลี่ยไม่ให้เกินร้อยละ ๕.๖ ต่อปี การขาดดุลการค้าและ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเฉลี่ยไม่ให้ เกินร้อยละ ๙.๔ และ ๕.๒ ของ ผลผลิตรวม
- กำหนดเป้าหมายการพัฒนาบริการ พื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยให้มีการ ผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘ ต่อปี เพิ่มเลขหมายโทรศัพท์จาก สัดส่วน ๓.๖ เลขหมาย ต่อประชากร ๑๐๐ คน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นไม่ ต่ำกว่า ๑๐ เลขหมาย ต่อประชากร ๑๐๐ คน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙
- กำหนดเป้าหมายการกระจายรายได้ โดยดูแลบุคคลในกลุ่มเป้าหมาย ๖ กลุ่ม ไม่ให้มีการกระจายรายได้ที่เลวลง ลด สัดส่วนประชาชนที่อยู่ภายใต้ขีดความ ยากจนจากร้อยละ ๒๓.๗ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ เหลือไม่เกินร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙
- กำหนดเป้าหมายการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น ลดอัตราการเพิ่มของประเทศเหลือ ไม่เกินร้อยละ ๑.๒ ขยายการจัดการ ศึกษาขั้นพื้นฐานจาก ๖ ปี เป็น ๙ ปี ขยายการมีงานทำเพิ่มขึ้น ๒.๘ ล้านคน กำหนดเป้าหมายพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้ได้ ร้อยละ ๒๕ ของพื้นที่ประเทศ ฯลฯ
ผลการดำเนินการในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๗ ปรากฏว่า มีบางเรื่องประสบผลสำเร็จ เป็นที่น่าพอใจ เช่น เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ ๘.๒ ต่อปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๗ - ๒๕๓๘ เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ ๙ ต่อปี ซึ่งสูงกว่าที่กำหนดไว้ในแผนการส่งออก เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๑๔.๒ สัดส่วนคนยากจน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ลดลงเหลือร้อยละ ๑๓.๗ ของประชากรทั้งประเทศ บริการพื้นฐานทั้งถนน ไฟฟ้า และประปา ขยายครอบคลุมทั่วประเทศ คนไทยมีโอกาสได้รับการศึกษามากขึ้น และได้ รับบริการทางสาธารณสุขครอบคลุมกว้างขวางขึ้น
อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงมีปัญหาสำคัญๆ เช่น ปัญหาการกระจายรายได้ ปัญหาสังคม และความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และยังมีประชาชน ซึ่งอยู่ห่างไกลบางกลุ่ม ยังไม่ได้รับบริการพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังมีปัญหาเสถียรภาพทาง เศรษฐกิจ เช่น เงินเฟ้อและปัญหาการขาดดุล บัญชีเดินสะพัด และปัญหาหนี้สินของประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว