เล่มที่ 7
การเลี้ยงปลา
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
อาหารที่ให้พลังงานและการเจริญเติบโต

๑. อาหารแป้ง

            แป้งเป็นอาหารพลังงานที่มีราคาถูก แต่ปลาใช้อาหารแป้งได้ดีไม่เท่าเทียมกันทั้งหมด มีแต่แตกต่างในการย่อย ของอาหารแป้งแต่ละชนิด ระดับส่วนผสมของอาหารที่เป็นแห้งมีจำกัด ส่วนผสมของแป้งไม่ควรเกินร้อยละ ๑๒ ของน้ำหนักอาหาร การให้แห้งสูงกว่านี้จะเพิ่มไกลโคเจนในตับ ซึ่งจะทำให้ปลาตาย

            ในสัตว์ชั้นสูงที่ใช้แป้งเป็นกำลังงาน จะเก็บไกลโคเจนเป็นกำลังสำรอง ซึ่งพร้อมที่จะใช้ได้ทันที และจะเก็บไขมันไว้ สำหรับใช้ในอนาคต ในปลาเทรา และปลาแซลมอน ปรากฏว่า การใช้แป้งเป็นกำลังงานใช้ได้ทันที และอาจเก็บไว้ในรูปไกลโคเจน ในตับ และในกล้ามเนื้อ ประโยชน์ของการเก็บกำลังงานดังกล่าวจะช่วยให้ปลามีอัตราการรอดตายสูง เมื่อสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป

๒. อาหารโปรตีน

            ปลาส่วนใหญ่ต้องการอาหารโปรตีน ซึ่งได้จากพืชและสัตว์ ปลาเทรา และปลาแซลมอน ซึ่งตามธรรมชาติเป็นปลากินเนื้อ แต่สามารถกินพืชได้ เมื่อเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูป

            ความต้องการอาหารโปรตีนเปลี่ยนแปลงไปตามขนาด ปลาขนาดเล็กซึ่งเจริญเติบโตเร็ว ต้องการอาหารโปรตีนสูงกว่าปลาใหญ่ ซึ่งเติบโตช้า ก่อนฤดูวางไข่ ปลามีความต้องการอาหาร ที่มีโปรตีนสูง เพื่อผลิตไข่และเชื้อตัวผู้

            ความต้องการอาหารโปรตีนจะเพิ่มมากขึ้น เมื่ออุณหภูมิ สูง และจะใช้อาหารโปรตีนน้อยลงเมื่ออุณหภูมิต่ำ ปลาอาจใช้โปรตีนเป็นแหล่งพลังงานทดแทน หากแหล่งพลังงานจากไขมัน และแป้งมีไม่เพียงพอ ปลามีความต้องการโปรตีน ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน (amino acid) ทั้ง ๑๐ อย่างในระดับเดียวกับ สัตว์ชั้นสูง

            อาหารโปรตีนมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต โปรตีน ที่ดีขึ้นอยู่กับคุณภาพและปริมาณของกรดอะมิโนที่สัตว์ต้องการ อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาควรจะมีกรดอะมิโนใกล้เคียงกับอาหารธรรม- ชาติ กรดอะมิโนที่มีอยู่ในตัวปลาช่วยเป็นเครื่องชี้ความต้องการ ของปลา อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาไนควรจะมีส่วนประกอบที่เป็น พืชและสัตว์ การใช้พวกพืชในส่วนผสมอาหารสูง จะทำให้ดุล ของกรดอะมิโนในอาหารไม่พอดี

            ปลากินเนื้อต้องการโปรตีนสูงประมา๖ร้อยละ ๗๕ แต่ปลากินอาหารไม่เลือก เช่น ปลาไน ต้องการโปรตีนน้อย อัตราส่วนโปรตีนต่อแป้ง เป็น๑:๗ - ๑:๘ ซึ่งใกล้เคียงกับสัตว์บก

๓. อาหารไขมัน

            ไขมันจะถูกดูดซึมเข้าทางผนังบุทางเดินอาหาร ไพโลริคซีคา (pyloric caeca) ทำหน้าที่ดูดซึมไขมัน อัตราการดูดซึมไขมันจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับจุดหลอมตัวของไขมัน

            อาหารไขมันจำเป็นสำหรับปลาเช่นเดียวกับสัตว์ชั้นสูง เมื่อให้ในอัตราที่พอเหมาะ จะทำหน้าที่เป็นพลังงาน และเสริมอาหารโปรตีน ในการเจริญเติบโต ทำให้การใช้อาหารโปรตีนลดลงร้อยละ ๑๘

            การเพิ่มไขมันในส่วนประกอบอาหารที่มีโปรตีนพออยู่แล้ว จะทำให้ปลามีไขมันมาก และบางทีจะทำให้ปลาตายได้ เนื่องจาก การสะสมน้ำมันในตับ

            การเก็บไขมันไว้ในตัวปลา เกิดจากมีปริมาณแคลอรีเหลือเฟือในอาหาร ความต้องการแคลอรีจะเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ความต้องการพลังงานในฤดูร้อนจะสูงกว่าในฤดูหนาว

            ปฏิกิริยาทางสรีรวิทยามีส่วนทำให้ปลาเก็บไขมันไว้ในตัวปลาก่อนระยะการสุกของรังไข่ ไขมันดังกล่าวอาจเก็บไว้ในกล้ามเนื้อ ในตับ การเก็บไขมัน ก็เพื่อสำรองพลังงานสำหรับการทำงานของร่างกายในระยะที่ปลาไม่กินอาหาร

            ปลาก็เช่นเดียวกันกับสัตว์ชั้นสูง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นจะเพิ่มไขมันในตัว ทั้งนี้เนื่องมาจากจะลดอัตราการเจริญเติบโต ลดการเคลื่อนไหว และลดอัตราการทำงานของส่วนต่างๆ ในร่างกาย เมื่อเติบโตขึ้น

            อาหารเกลือแร่และวิตามิน

            แคลเซียม ฟอสฟอรัส โคบอลต์ คลอโรด์ซัลเฟตและ สตรอนเชียมเป็นธาตุที่ปลาต้องการ ธาตุเหล่านี้อาจดูดซึมได้โดยตรง จากในน้ำ และจากอาหาร การให้อาหารที่มีธาตุสูงกว่า ระดับที่จะขับถ่ายได้ อาจทำให้ปลาตายได้

            ปลาจะดูดซึมเอาคลอไรด์จากเกลือ (โซเดียมคลอไรด์) ที่ละลายอยู่ในน้ำไปใช้ ปลาจะเอาไอโอดีนจากอาหารเข้าไปยัง ต่อมไทรอยด์และส่งกลับสู่เส้นทางเดินโลหิตในรูปของไทรอกซิน วัฏจักรของไอโอดีนของปลาคล้ายคลึงกับสัตว์ชั้นสูง การทดสอบการใช้โคบอลต์ผสมกับอาหารปลาในอัตรา ๐.๐๘ มิลลิกรัม ปรากฏว่า ทำให้เม็ดเลือดแดงในปลาไนสูงขึ้น และทำให้ลูกปลาไน มีอัตรารอดตายสูงและเจริญเติบโตดี

            วิตามินจำเป็นสำหรับปลา ปลาที่ขาดวิตามินจะเกิดโรค หลายอย่าง ทำให้ระบบการทำงานของเซลล์ผิดปกติ ปลาสามารถเก็บวิตามินที่ละลายในไขมันไว้ในตัวได้มากพอควร