ใน พ.ศ. ๒๓๘๖ มอร์สได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล สหรัฐอเมริกาให้สร้างทางสายโทรเลขสายแรกของโลก จากกรุงวอชิงตัน ไปเมืองบัลติมอร์เป็นจำนวน ๓๐,๐๐๐ เหรียญ และเปิดใช้งานได้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๓๘๗ (ตรง กับ ค.ศ. ๑๘๔๕ หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ) | เครื่องรับส่งสัญญาณโทรเลขแบบฟังเสียง ชนิดใช้กระแสไฟสองทาง | ||||||||||
กิจการโทรเลขในสหรัฐอเมริกา อันเป็นแหล่งกำเนิด การโทรเลขชนิดใช้กระแสไฟฟ้า ไม่ได้ดำเนินไปโดยราบรื่น นับว่า แตกต่างกับในทวีปยุโรปที่กิจการโทรเลขอยู่ในความ ควบคุมของรัฐบาลแต่ละประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า รัฐสภา สหรัฐอเมริกา ได้มีมติให้ขายกิจการ และทรัพย์สินของทางสายโทรเลขสายแรก ระหว่างกรุงวอชิงตันกับเมืองบัลติมอร์ ให้แก่เอกชนไป เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๐ เพราะเมื่อมอร์สเสนอยกกิจการโทรเลขให้แก่รัฐบาล รัฐบาลไม่ยอมรับ เนื่องจากรัฐมนตรีการไปรษณีย์สมัยนั้น ให้ความเห็นว่า "ไม่แน่ใจว่า กิจการโทรเลขจะทำรายได้ให้คุ้มกับที่ต้องลงทุนไป" | |||||||||||
เครื่องส่งสัญญาณโทรเลขมอร์สแบบอัตโนมัติ มีแป้นอักษรเหมือนเครื่องพิมพ์ดีด แต่ไม่ได้พิมพ์เป็นตัวอักษร ใช้ปรุหรือเจาะรูแถบกระดาษตามขวางตัวอักษรละ๒ รู ถ้ารูบนกับรูล่างตรงกันจะส่งสัญญาณเป็นจุด ถ้ารูเยื้องกันจะส่งสัญญาณเป็นขีดแล้วป้อนแถบที่ปรุแล้วเข้าเครื่องส่งอัตโนมัติ ส่งเป็นรหัสสัญญาณโทรเลขมอร์สออกไปแทนการเคาะด้วยมือ อาจใช้ความเร็วต่ำเพียง ๕ คำต่อนาทีหรือเพิ่มความเร็วถึง ๑๐๐ คำต่อนาทีก็ได้ (๑ คำโทรเลขเท่ากับ ๕ ตัวอักษรโรมัน) | |||||||||||
กิจการโทรเลขในสหรัฐอเมริกามาได้รับการพัฒนา และขยายงานอย่างรวดเร็ว เมื่อบริษัทเอกชนหลายบริษัทรวมทุนกัน ตั้งบริษัทการโทรเลขชื่อว่า เวสเทิร์นยูเนียน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ (ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ )
ใน พ.ศ. ๒๔๐๙ บริษัทเวสเทิร์นยูเนียน มีที่ทำการ โทรเลข ๒,๒๕๐ แห่ง และมีทางสายโทรเลขเพิ่มจากที่มีอยู่เดิม ๙๐๐ กิโลเมตร เป็น ๑๒๐,๐๐๐ กิโลเมตร การขยายทางสาย โทรเลขเช่นนี้ ช่วยให้การส่งข่าวหนังสือพิมพ์ทางโทรเลข ของสำนักข่าวแอสโซซิเอเต็ด เพรสส์ (Associated Press หรือ ที่เรียกย่อว่า A.P.) ให้แก่หนังสือพิมพ์ในนิวยอร์ก เจริญก้าวหน้า ขึ้นด้วย
ส่วนในทวีปยุโรป เมื่อกิจการโทรเลขมิได้จำกัดใช้อยู่ แต่ในวงการเดินรถไฟ และเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้แล้ว สำนักงานหนังสือพิมพ์ก็เป็นผู้ใช้บริการโทรเลขเป็นกลุ่มแรก และใช้บริการนี้มากที่สุด บุคคลที่มองเห็นประโยชน์ของการ โทรเลขอย่างใหม่นี้มากที่สุดคนหนึ่ง คือ จูเลียส รอยเตอร์ ชาวเยอรมัน (Julius Reuterเกิด พ.ศ. ๒๓๕๙ ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๔๔๒) ใน พ.ศ. ๒๓๙๓ เมื่อทางสายโทรเลขระหว่าง กรุงเบอร์ลินกับเมืองอาเคน ยังไม่บรรจบกับทางสายโทรเลข ระหว่างกรุงปารีสกับกรุงบรัสเซลส์ โดยยังขาดอยู่อีก ๑๕๐ กิโลเมตร รอยเตอร์ก็ใช้นกพิราบบินส่งข่าวสารในช่วงที่ยังขาดอยู่นั้น
ต่อมา รอยเตอร์ได้เดินทางไปกรุงลอนดอน ประเทศ อังกฤษ และได้อยู่ที่นั่นเป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษ พร้อมกับ การสร้างชื่อเสียง และความร่ำรวยจากการขายข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจและการคลัง ให้แก่สำนักงานหนังสือพิมพ์ และบริษัทห้างร้านเอกชน ผู้สนใจในรูปของกิจการ "ข่าวโทรเลขรอยเตอร์" ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก และยั่งยืนมาจนทุกวันนี้
การทวีปริมาณโทรเลขรับส่งในสาย การรับส่งโทรเลขแบบมอร์สแต่เดิมนั้น ใช้กระแสไฟฟ้า ชนิดกระแสตรงส่งไปในสายลวด สามารถส่งโทรเลขได้เพียงครั้งละฉบับเดียว เมื่อสถานีต้นทางเป็นผู้ส่งโทรเลข สถานี ปลายทางต้องเป็นผู้รับโทรเลขจนหมดฉบับ แล้วสถานีปลายทางจึงจะส่งโทรเลขของตนมาสถานีต้นทางได้ วิธีการเช่นนี้ เรียกว่า ระบบซิมเพล็กซ์ (simplex) ต่อมา จึงได้มีการปรับปรุงทางวิชาการ จนสามารถส่งโทรเลขสวนทางกันไปมาได้ ในทางสายเส้นเดียวกัน ระบบนี้เรียกว่าระบบ ดูเพล็กซ์ (duplex) ภายหลังก็มีระบบมัลติเพล็กซ์ (multiplex) ซึ่งสามารถส่งโทรเลขไปมาในเวลาเดียวกัน และใช้สายเส้นเดียวกัน ได้มากกว่าระบบดูเพล็กซ์ ถึง ๔ เท่า
ปัจจุบัน การโทรเลขทางสายได้พัฒนาไปมาก จนถึง กับใช้กระแสสลับความถี่วิทยุขนาดความถี่ต่ำๆ ส่งไปในสายโทรเลข แทนการส่งกระแสตรงอย่างที่เคยใช้กันมา ทำให้ สามารถส่งโทรเลขไปในสายเส้นเดียวได้มากกว่า ๓๐๐ ฉบับ ในเวลาเดียวกัน |