ใน พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้มีการปรับปรุงรูปแบบการบริหารของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอีกครั้งหนึ่ง และยังคงเป็นอยู่ถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๒๖) ดังต่อไปนี้
การบริหารงานสาธารณสุขกลาง แบ่งออก ได้เป็นสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี และส่วนราชการ ระดับกรม คือ
๑. สำนักงานปลัดกระทรวง
๒. กรมการแพทย์
๓. กรมอนามัย
๔. กรมควบคุมโรคติดต่อ
๕. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
๖. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
สำนักงานปลัดกระทรวง
ส่วนราชการระดับกองมีดังนี้
๑. กองกลาง
๒. กองคลัง
๓. กองการเจ้าหน้าที่
๔. กองนิติการ
๕. กองแบบแผน
๖. กองช่างบำรุง
๗. กองสถิติสาธารณสุข
๘. กองแผนงานสาธารณสุข
๙. กองการสาธารณสุขต่างประเทศ
๑๐. กองสุขศึกษา
๑๑. กองการประกอบโรคศิลปะ
๑๒. กองระบาดวิทยา
๑๓. กองการพยาบาล
๑๔. กองฝึกอบรม
๑๕. กองงานวิทยาลัยพยาบาล
๑๖. กองโรงพยาบาลภูมิภาค
๑๗. กองสาธารณสุขภูมิภาค
๑๘. สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน
กรมการแพทย์
ส่วนราชการระดับกองมีดังนี้
๑. สำนักงานเลขานุการกรม
๒. กองคลัง
๓. กองการเจ้าหน้าที่
๔. กองวิชาการ
๕. กองสุขภาพจิต
๖. โรงพยาบาลเด็ก
๗. โรงพยาบาลธัญญารักษ์
๘. โรงพยาบาลประสาท
๙. โรงพยาบาลราชานุกูล
๑๐. โรงพยาบาลเลิดสิน
๑๑. โรงพยาบาลศรีธัญญา
๑๒. โรงพยาบาลสงฆ์
๑๓. โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
๑๔. โรงพยาบาลราชวิถี
๑๕. สถาบันพยาธิวิทยา
๑๖. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
๑๗. สถาบันโรคผิวหนัง
กรมอนามัย
ส่วนราชการระดับกองมีดังนี้
๑. สำนักงานเลขานุการกรม
๒. กองคลัง
๓. กองการเจ้าหน้าที่
๔. กองทันตสาธารณสุข
๕. กองประปาชนบท
๖. กองโภชนาการ
๗. กองสุขาภิบาล
๘. กองอนามัยครอบครัว
๙. กองอนามัยโรงเรียน
๑๐. กองอนามัยสิ่งแวดล้อม
๑๑. กองอาชีวอนามัย
กรมควบคุมโรคติดต่อ
ส่วนราชการระดับกองมีดังนี้
๑. สำนักงานเลขานุการกรม
๒. กองคลัง
๓. กองการเจ้าหน้าที่
๔. กองกามโรค
๕. กองมาลาเรีย
๖. กองโรคติดต่อทั่วไป
๗. กองโรคเท้าช้าง
๘. กองโรคเรื้อน
๙. กองวัณโรค
๑๐. โรงพยาบาลบำราศนราดูร
๑๑. โรงพยาบาลพระประแดง
๑๒. โรงพยาบาลโรคทรวงอก
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ส่วนราชการระดับกองมีดังนี้
๑. สำนักงานเลขานุการกรม
๒. กองกีฏวิทยาทางแพทย์
๓. กองพิษวิทยา
๔. กองป้องกันอันตรายจากรังสี
๕. กองพยาธิวิทยาคลินิก
๖. กองวิเคราะห์ยา
๗. กองวิเคราะห์อาหาร
๘. กองวิจัยทางแพทย์
๙. สถาบันวิจัยไวรัส
๑๐. กองมาตรฐานชันสูตรสาธารณสุข
๑๑. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ๑
๑๒. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ๒
๑๓. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ๓
๑๔. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ๔
๑๕. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ๕
๑๖. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ๖
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ส่วนราชการระดับกองมีดังนี้
๑. สำนักงานเลขานุการกรม
๒. กองเผยแพร่และควบคุมการโฆษณา
๓. กองควบคุมเครื่องสำอาง
๔. กองควบคุมยา
๕. กองควบคุมวัตถุเสพติด
๖. กองควบคุมอาหาร
๗. กองวิชาการ
๘. กองสารวัตร
การบริหารงานสาธารณสุขส่วนภูมิภาค
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับปรุง การจัดรูปองค์กร และระบบการบริหารงานสาธารณสุข ในส่วนภูมิภาค เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ในส่วนภูมิภาคได้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หน่วยงานสาธารณสุขส่วนภูมิภาคมีดังต่อไปนี้
๑. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
๒. สำนักงานส่งเสริมวิชาการและบริการ สาธารณสุข
๓. โรงพยาบาลศูนย์
๔. โรงพยาบาลทั่วไป ได้แก่ โรงพยาบาล ขนาดกลาง (๑๕๐-๔๐๐ เตียง) ประจำจังหวัด และ ในบางอำเภอ
๕. โรงพยาบาลชุมชน ได้แก่ โรงพยาบาล อำเภอ
๖. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
๗. สถานีอนามัย
๘. สำนักงานผดุงครรภ์
การดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย
การดำเนินงานสาธารณสุขในประเทศไทยเท่าที่ ผ่านมา แม้ว่าจะสามารถลดอัตราป่วยและตายของประชากร ต่ำลงกว่าที่เป็นมาในอดีต แต่การบริการสาธารณสุข ยังไม่ครอบคลุมประชากรได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบท ซึ่งมีประชากรอยู่ถึงร้อยละ ๘๐ ของประเทศ ในปัจจุบันประชาชนในชนบทยังอยู่ในฐานะยากจน สภาวะทางโภชนาการ การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และการอนามัยครอบครัวยังไม่ดีพอ อีกทั้งได้รับความรู้ในทางสุขศึกษาและบริการให้ภูมิคุ้มกันโรค ยังไม่กว้างขวางทั่วทั้งประเทศ
ภาพวาดจากการประกวดภาพวาด "ทันตแพทย์ในสายตาของข้าพเจ้า" เนื่องในวันสถาปนาคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๒๕
จากการที่ที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้เสนอแนะว่า การแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัย ของประชากรในโลก ในระยะต่อไป ควรจะใช้การดำเนินงานทางสาธารณสุขมูลฐานเป็นมาตรการสำคัญ ใน พ.ศ. ๒๕๒๐ สมัชชาอนามัยโลกจึงได้มีมติ ให้ตั้งเป้าหมายทางสังคมไว้ว่า "เมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ประชากรทุกคนในโลกจะมีสุขภาพอนามัยที่ดีทั่วถึงกัน ในระดับ ซึ่งสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นปกติสุข" ประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์การอนามัยโลก ก็ได้ใช้ความพยายามที่จะดำเนินการตามข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลกดังกล่าว นอกจากนี้ รัฐบาลของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขององค์การอนามัยโลก ได้ใช้ความพยายาม ในอันที่จะยกระดับสุขภาพอนามัยของประชาชน ในแต่ละชาติให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งนี้โดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่แล้วอย่างจำกัด ของแต่ละประเทศในการพัฒนา และในการแก้ปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชน ตลอดจนระดมสรรพกำลัง ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในภูมิภาค ซึ่งมีปัญหา ทางสาธารณสุขที่สำคัญคล้ายคลึงกัน และได้มีการเสนอ "กฎบัตรเพื่อพัฒนาการทางสุขภาพ" อันเป็นหลักการและแนวทาง สำหรับประเทศสมาชิกจะวางแผนและดำเนินการร่วมกันต่อไป ซึ่งรัฐบาลไทยโดยนายกรัฐมนตรี ก็ได้ลงนามในกฎบัตรดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๓
ระบบการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งมีหลักการที่ให้มีการนำเอาทรัพยากรของท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ และให้มีการร่วมมืออย่างใกล้ชิดโดยประชาชนนั้น เป็นสิ่งแทรกซึมอยู่ในสังคมไทยมานานแล้ว เพราะคนไทยเราให้ความสำคัญในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แพทย์ประจำตำบลก็ดี หมอตำแยก็ดี เป็นเรื่องที่มีมาในอดีต ก่อนที่จะมีการฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุข หรือผู้สื่อข่าวสารสาธารณสุข เพื่อปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐาน ในแบบฉบับของการช่วยเหลือกันเองภายในหมู่บ้าน
การดำเนินงานในโครงการสาธารณสุขมูลฐานใน ประเทศไทย ได้เน้นหนักในเรื่องการขยายบริการขั้นพื้นฐาน ให้ครอบคลุมประชากรในทุกท้องที่ นับแต่การให้สุขศึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพอนามัย รวมทั้งวิธีการป้องกัน และควบคุมปัญหาเหล่านั้น การส่งเสริมในเรื่อง อาหารและโภชนาการ การจัดหาน้ำดื่มน้ำใช้ที่ปลอดภัย การจัดให้มีการสุขาภิบาลเบื้องต้น การอนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัว การให้ภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญ การป้องกันและควบคุมโรคที่แพร่หลายอยู่ในท้องถิ่น การรักษาโรคและบาดแผลที่พบบ่อยๆ ตลอดจน การจัดหายาที่จำเป็น เพื่อบำบัดรักษาโรค ทั้งนี้โดยให้มีอาสาสมัครสาธารณสุข และผู้สื่อข่าวสาร สาธารณสุขปฏิบัติงานในชุมชนอย่างใกล้ชิด และให้มีการผสมผสานระหว่างงานสาธารณสุขกับงานพัฒนาชนบทอื่นๆ เป็นส่วนรวมควบคู่กันไป ตลอดจนให้มีการใช้เทคโนโลยี ที่เหมาะสมในราคาประหยัด และเป็นที่ยอมรับของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เป้าหมายระยะยาวกำหนดว่า จะให้มีอาสาสมัครสาธารณสุขที่ได้รับการอบรมแล้ว หมู่บ้านละ ๑ คน และมีผู้สื่อข่าวสารสาธารณสุขหมู่บ้านละ ๑๐ คน ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนบริการสาธารณสุขมูลฐาน และช่วยให้ประชาชนในตำบลหมู่บ้านได้รับการดูแลโดยทั่วถึง