สภากาชาดไทย ความคิดที่จะให้มีสภากาชาดไทย เริ่มมีขึ้นตั้ง แต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒) ซึ่งเป็นปีที่เกิดกรณีพิพาทแย่งดินแดน ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส อันเป็นผลให้เกิดมีการสู้รบกันขึ้น ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ หัวหน้าหญิงไทยสกุลสูงในสมัยนั้น มีความห่วงใยในทหารบาดเจ็บ จึงนำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาบรมราชเทวี ขอให้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ ในการจัดตั้งองค์การบรรเทาทุกข์ทหาร ในทำนองเดียวกับสภากาชาดในต่างประเทศ ซึ่งในที่สุด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งองค์กรดังกล่าว โดยใช้ชื่อว่า "สภาอุณาโลมแดง" โดยมีเจ้านายฝ่ายในชั้นสูง และหญิงผู้มีเกียรติอาสาสมัครเข้าปฏิบัติงานในองค์กรที่จัดตั้งขึ้น มีกิจกรรมสำคัญ คือ การส่งเวชภัณฑ์อาหาร เสื้อผ้า และของใช้ไปบำรุงทหารในสนามรบ | |
ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ | กิจกรรมของสภาอุณโลมแดงได้ซบเซา ภายหลังกรณีพิพาทระหว่างไทย กับฝรั่งเศสได้สิ้นสุดลง และได้กลับมาฟื้นฟูขึ้นใหม่ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระราชทานที่ดิน และทุนทรัพย์ ก่อสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้ขึ้นอยู่กับสภากาชาดสยาม ที่วิวัฒนาการมาเป็นสภากาชาดไทยในปัจจุบัน คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ได้รับรองสภากาชาดไทย เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ และสันนิบาตสภากาชาดได้รับสภากาชาดไทยเข้าเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔ |
สภากาชาดไทยมีตัวแทนอยู่ในจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ใน นามของ "เหล่ากาชาดจังหวัด" ซึ่งมีหน้าที่ บรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย และราษฎรที่ยากจนในท้องถิ่นทุรกันดาร ตลอดจนสนับสนุน และส่งเสริมกิจการอนุกาชาด อาสากาชาด บริการโลหิต และบริการดวงตาอีกด้วย ในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกาสภากาชาดไทย และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงดำรงตำแหน่ง อุปนายิกาสภากาชาดไทย |