นพรัตน์ : ๒. ทับทิม
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า มีการใช้อัญมณีอย่างแท้จริงในสมัยอียิปต์โบราณ จีน และอินเดีย หลายพันปีก่อนพุทธกาล ในอียิปต์ ซึ่งเป็นชาติที่มีอารยธรรมต่อเนื่องกันยาวนาน มีการใช้อัญมณีชนิดต่างๆ เช่น ลาพิส-ลาซูลี แอเมทิสต์ เทอร์คอยส์ คาร์นีเลียน ออบซิเดียน ไข่มุก มรกต เป็นต้น ในประเทศจีนซึ่งเป็นชาติที่มีอารยธรรมเก่าแก่เช่นกัน อัญมณีที่นิยมใช้คือ หยก สำหรับประเทศอินเดียนั้น ถือได้ว่า เป็น ประเทศที่มีอัญมณีที่มีค่า และมีความสำคัญหลายชนิด เช่น เพชร ทับทิม มรกต ไพลิน เป็นต้น
ความรู้ ความเชื่อถือ และการใช้อัญมณีของคนไทยในสมัยโบราณ เริ่มมีมาแต่สมัยใดยังไม่มีหลักฐานกำหนดแน่ชัด เราอาจทราบเรื่องอัญมณีของไทยในอดีต ได้จากวรรณคดีไทย บางเรื่อง บางตอน เริ่มตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คนไทยเริ่มรู้จัก และใช้อัญมณีไม่กี่ชนิด มีการจัดแบ่งอัญมณีออกเป็น ๙ ชนิด เรียกว่า นพรัตน์ หรือนวรัตน์ หรือแก้วเก้าประการ เป็นต้น ในตำรานพ รัตน์ มีคำกลอนที่มีอิทธิพล ทำให้คนไทยไม่น้อยรู้จักสนใจและนิยมนับถืออัญมณีว่า เป็นสิริมงคล มีการจัดแบ่งเป็นลักษณะ สี ชนิด ลำดับชั้นคุณภาพแตกต่างกันไป คำกลอนนั้นคือ
นพรัตน์ : ๓. มรกต
๑. เพชร (น้ำ) ดี หมายถึง เพชร - Diamond
๒. มณีแดง หมายถึง ทับทิม - Ruby
๓. เขียวใสแสง มรกต หมายถึง มรกต - Emerald
๔. เหลืองใสสด บุษราคัม หมายถึง บุษราคัม - Yellow - Sapphire or Topaz*
๕. แดงแก่ก่ำ โกเมนเอก หมายถึง โกเมน - Garnet
๖. ศรีหมอกเมฆ นิลกาฬ หมายถึง ไพลิน - Blue Sapphire
๗. มุกดาหาร หมอกมัว หมายถึง ไข่มุก - Pearl or Moonstone
๘. แดงสลัว เพทาย หมายถึง เพทาย - Zircon
๙. สังวาลสาย ไพฑูรย์ หมายถึง ไพฑูรย์ - Chrysobery Cat's eye
*ในสมัยโบราณ คำว่า บุษราคัม จะหมายถึง โทแพซ แต่เมื่อเราพบว่า พลอยสีเหลืองของจันทบุรี ซึ่งเป็นแซปไฟร์สีเหลือง (Yellow Sapphire) มีคุณภาพเหนือกว่า เราจึงใช้ Yellow Sapphire แทน
นพรัตน์ : ๔. บุษราคัม
อัญมณีทั้ง ๙ ชนิดนี้ ประเทศไทยมีเกือบครบ ยกเว้น มรกต และไพฑูรย์ ซึ่งยังไม่พบ ชนิดที่มีชื่อเสียงระดับโลก ทั้งในอดีตและปัจจุบันคือ ทับทิมสยาม รองลงมาคือ ไพลิน หรือนิลกาฬนั่นเอง เรื่องของอัญมณี โดยเฉพาะแก้วเก้าประการ คนไทยโดยทั่วไปนิยมเลื่อมใสนับถือว่า เป็นของมีค่าสูง และเป็นสิริมงคล นำมาใช้ประโยชน์ทั้งในด้าน ศาสนา และในสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ทำเป็นพระพุทธรูปต่างๆ ตลอดจนใช้ประดับเครื่องทรง และที่ประทับ ใช้เป็นเครื่องประดับแสดงถึง ตำแหน่ง และเกียรติยศ เครื่องราชูปโภคในพระราชพิธีสำคัญ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตลอดจน สิ่งของเครื่องใช้ของที่เป็นบำเหน็จรางวัล เครื่องประดับต่างๆ ของพระราชวงศ์ ขุนนาง และข้าราชการชั้นสูง ประชาชนโดยทั่วไปทุกระดับชั้น ก็สามารถหามาได้ตามกำลังฐานะ นอกจาก เพื่อความสวยงาม และความเป็นสิริมงคลต่างๆ แล้ว ก็ยังใช้เป็นหลักทรัพย์ที่ถือเป็นมรดกสืบทอดแก่ทายาทในวงศ์ตระกูล เป็นของกำนัลตอบแทนผู้มีน้ำใจช่วยเหลือ ยามที่เคยตกทุกข์ได้ยาก เป็นของสำหรับหมั้นหมาย เป็นต้น
๕. โกเมน
นอกจากนพรัตน์หรือแก้วเก้าประการแล้ว ยังมีอัญมณีอื่นๆ อีกหลายชนิด ที่คนไทยนำมาใช้ประโยชน์ ทางด้านเครื่องประดับ เป็นของสวยงาม และมีความหมายทางโหราศาสตร์เช่นเดียวกัน เช่น แก้วโป่งข่าม โมรา โมกุล ฯลฯ สำหรับแก้วโป่งข่ามเป็นแร่ควอตซ์ชนิดหนึ่ง หรือที่เรียกว่า หินเขี้ยวหนุมาน มีความโปร่งใสโปร่งตา และมักมีมลทินแร่บางชนิดอยู่ภายในเนื้อ ทำให้เกิดมีรูป ร่าง สีสัน ลวดลายแปลกประหลาดต่างๆ สวย งาม มีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น ขนเหล็ก เข็มเหล็ก เข็มทอง ไหมทอง สายรุ้ง ฯลฯ แหล่งกำเนิดสำคัญอยู่ที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และอำเภอสา จังหวัดน่าน เป็นอัญมณีที่ได้รับความนิยมเลื่อมใส รู้จักกันมากในหมู่คนไทยทั่วประเทศ เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๓ มีเหตุการณ์ตื่นแก้วโป่งข่าม ซึ่งอาจถือได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์วงการอัญมณีไทยเลยก็ว่าได้
ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงมานานมาก ในเรื่องของอัญมณี โดยเป็นแหล่งสำคัญแห่งหนึ่งของโลก ที่มีอัญมณีหลายชนิด เช่น ทับทิม ไพลิน บุษราคัม เขียวส่อง เพทาย โกเมน ไข่มุก เป็นต้น อุตสาหกรรม และการค้าอัญมณี และเครื่องประดับของไทย ได้รับการยกย่อง และยอมรับ ทั้งในด้านคุณภาพ และราคา จากนานาประเทศทั่วโลก สินค้าอัญมณี และเครื่องประดับ นับเป็นสินค้าส่งออกหมวดหนึ่งของไทย ที่ได้สั่งสมบทบาท ในการเป็นสินค้าที่สำคัญ ทำรายได้สูงให้แก่ประเทศโดยติดอันดับต้นๆ ๑ ใน ๕ ของสินค้าส่งออกประเภทต่างๆ ของประเทศ และยังคงมีแนวโน้ม ที่เพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี นับเป็นสินค้าที่มีอนาคตที่สดใสมาก มีการผลิต และการทำเหมืองแร่อัญมณีในหลายจังหวัด เช่น กาญจนบุรี จันทบุรี ตราด ค่าแรงงานถูก ช่างฝีมือมีคุณภาพ มีทักษะ มีความรู้ความชำนาญในการเจียระไน การออกแบบ และประดิษฐ์งานประณีตศิลป์นานาชนิด ทั้งในกรุงเทพ ฯ และต่างจังหวัด อุตสาหกรรมการผลิต การค้า การส่งออกอัญมณี และเครื่องประดับ จึงขยายตัวอย่างรวดเร็วมากในระยะ ๑๐ ปีที่ผ่านมา ดังจะเห็นได้จากตัวเลขของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ที่แสดงถึงสถิติของมูลค่ารวมของการส่งออกสินค้าประเภทนี้ ที่มีค่าเพิ่มมากขึ้นทุกปี ดังใน ปี ๒๕๒๖ มีมูลค่าการส่งออก ๗,๒๐๑.๑ ล้านบาท เพิ่มเป็น ๑๙,๘๒๗.๕ ล้านบาท ในปี ๒๕๓๐ เป็น ๓๔,๘๙๑.๓ ล้านบาท ในปี ๒๕๓๓ เป็น ๓๕,๙๖๒.๖ ล้านบาท ในปี ๒๕๓๔ และในปี ๒๕๓๖ ประมาณการไว้ที่ ๔๒,๕๐๐ ล้านบาท และยังมีเป้าหมายที่ ๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ใน อีกไม่กี่ปีข้างหน้า
มูลค่าการส่งออกอัญมณี ที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปีนั้น เป็นมูลค่าจากอัญมณี ที่ผลิตได้ในประเทศส่วนหนึ่ง ซึ่งนับวัน ก็จะขาดแคลน และหมดไป ไม่เพียงพอ ต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งเป็นอัญมณี ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งนับวัน ก็จะยิ่งมีมูลค่าการนำเข้า เพิ่มมากขึ้นทุกปีเช่นกัน อัญมณีในส่วนนี้ จะมีทั้งที่เป็นอัญมณีแท้ อัญมณีสังเคราะห์ เทียม เลียนแบบต่างๆ นำมาเจียระไน ตกแต่งเป็นเครื่องประดับ แล้วส่งออก จะเห็นได้ว่า อัญมณี และเครื่องประดับ มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก เป็นอุตสาหกรรมการผลิต และการค้า ที่ทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลายด้าน เช่น การทำเหมือง การผลิตเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การออกแบบ การเจียระไน และทำเครื่องประดับ การโฆษณา การบรรจุภัณฑ์ การขนส่ง ฯลฯ ล้วนแต่มีส่วนสำคัญ ที่ช่วยผลักดัน ส่งเสริมการพัฒนาประเทศ กล่าวได้ว่า ประเทศไทยมีแนวโน้ม มีความพร้อมสูงมาก ที่จะเป็นศูนย์กลางสำคัญของอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับของโลกอย่างแท้จริง
๖. ไพลิน
นพรัตน์ : ๗. ไข่มุก
นพรัตน์ : ๘. เพทาย