เครื่องเบญจรงค์ การเขียนสีทองลงบนเครื่องเคลือบ ความสวยงามของเครื่องเคลือบเบญจรงค์ ทำให้เป็นที่ต้องการของคนไทย จึงมีผู้สั่งทำ เครื่องเคลือบชนิดนี้จากจีน โดยกำหนดรูป ภาชนะเป็นแบบไทย เขียนลายเป็นตัวอย่างลงบน ภาชนะแบบต่างๆ ส่งเป็นตัวอย่างให้ช่างจีนเขียน ลวดลาย กำหนดสีตามความนิยมของคนไทย เครื่องเคลือบเบญจรงค์ที่ทำจากจีน จึงให้ความ รู้สึกในความเป็นของไทย ยิ่งกว่าเครื่องเคลือบจีน ชนิดอื่นๆ แต่ช่างจีนซึ่งไม่คุ้นเคยกับลวดลายแบบ ไทย การเขียนจึงไม่เป็นไปตามแบบที่ต้องการ แม้กระนั้นก็ยังเป็นที่นิยมของคนไทยในสมัยนั้น เครื่องเบญจรงค์ชนิดที่มีความละเอียด มีความประณีตในการผลิต น่าจะสั่งเข้ามา เพื่อใช้ในราชสำนัก หรือเจ้านายข้าราชการชั้นสูง มักผลิตจากแหล่งจิ่งเต๋อเจิ้น ใกล้เมืองหลวงจีน เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตที่มีชื่อเสียง และมีฝีมือดี ส่วนชนิดที่รองลงมา มักสั่งทำจากแหล่งผลิตในมณฑลฝูเจี้ยน และมณฑลกวางตุ้ง เป็นที่คาดกันว่า ในช่วงที่เครื่องเคลือบแบบเบญจรงค์ เป็นที่นิยมกันในสมัยอยุธยานั้น ไทยน่าจะสั่งเครื่องเคลือบ โดยให้เคลือบรองพื้นเป็นสีขาวสีเดียว เพื่อให้ช่างไทยเขียนลวดลายตามต้องการ แล้วส่งกลับไปให้ช่างจีนตกแต่งลงยา แล้วเผาอีกครั้งหนึ่ง วิธีนี้น่าจะทำเฉพาะงานที่ ต้องใช้ในราชสำนักหรือเจ้านาย หรือผู้มี สถานภาพสูงทางสังคมเท่านั้น เครื่องเบญจรงค์อีกชนิดหนึ่งคือ เบญจรงค์พื้นดำ เริ่มทำขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน ในรัชสมัยจักรพรรดิคังซี (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๒๐๕-๒๒๖๕) ราชวงศ์ชิง เครื่องเบญจรงค์พื้นดำ ไทยสั่งทำตามรูปแบบ และลวดลาย ที่เคยผลิตแต่เดิมจากจีนเช่นเดียวกัน และได้รับความนิยมแพร่หลายมาก รวมทั้งเครื่องเบญจรงค์พื้นสีนวลคล้ายสีครีม ซึ่งเริ่มทำครั้งแรก ในรัชสมัยจักรพรรดิยงเจิ้ง (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๒๖๖-๒๒๗๘) ก็ได้รับความนิยม และสั่งให้ผลิตตามแบบและลวดลายไทยเข้ามาใช้ด้วย เครื่องกังไสจีน เป็นชุดน้ำชา เครื่องเบญจรงค์พื้นสีครีม |