เครื่อง ปั้นหริภุญชัย
อาณาจักรหริภุญชัย หรือลำพูน อยู่ในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ถึงต้นพุทธศตวรรษ ที่ ๑๙ มีเมืองหริภุญชัยเป็นเมืองศูนย์กลางของอาณาจักรแห่งนี้ ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับเตาเผาของอาณาจักรหริภุญชัย พบแหล่งผลิต ๒ แหล่ง ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมืองลำพูน นอกตัวเมือง ลำพูนโบราณ คือที่บ้านศรีย้อย ตำบลต้นธง และ ที่บ้านวังไฮ ตำบลเวียงยอง
เครื่องปั้นแบบหริภุญชัยเป็นเครื่องปั้นเนื้อดิน ส่วนใหญ่มีเนื้อหยาบ สีค่อนข้างขาว ไปจนถึงสีส้ม ส่วนใหญ่มีภาชนะรูปหม้อมีเชิง กุณโฑ จาน ก้นลึก พาน ตะคัน การตกแต่งตัวภาชนะ ประเภทที่เป็นกุณโฑ และหม้อมีเชิง มักเขียนลายเส้นสีแดง วนรอบบริเวณที่เป็นคอ บ่า และเชิงภาชนะ ประกอบกับลายขุดเป็นร่องคล้ายรูป สามเหลี่ยม และลายคล้ายคมมีดสับบนสันของ ตัวภาชนะ
หม้อก้นกลม คอยาว แต่ชำรุดบริเวณไหล่ ควั่นเป็นลายเล็กๆ อยู่ระหว่างเส้นวงกลมคู่ขนานลำตัวขูดขีดลายสามเหลี่ยม แบ่งลำตัวอกเป็นช่องกระจก จากการขุดแต่งที่เวียงท่ากาน จังหวัดเชียงใหม่
หม้อก้นแบน ปากแคบยาว ขอบปากผายออก เป็นลักษณะเฉพาะของเครื่องปั้นหริภุญชัย ภาชนะชนิดนี้มักมีสีนวล เนื่องจากการทาน้ำดินที่ตัวภาชนะ ที่คอมีเส้นนูน เพื่อก้นลื่น เส้นนูนนี้มีอยู่ที่สันของภาชนะเช่นเดียวกัน บางครั้งก็มีหลายเส้น มีการตกแต่งตัวภาชนะด้วยลายกดเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือลายขูดขีด ตามแต่จะเห็นสมควร ใต้เส้นนูนดังกล่าวแล้วมีลายสามเหลี่ยมขีดเป็น ร่องลึก ยอดของสามเหลี่ยมอยู่ที่ขอบก้นหม้อ ลายนี้มีเป็นระยะจนรอบหม้อ มีทั้งที่ขีดลึกลงไป ในเนื้อภาชนะ หรือเขียนด้วยเส้นสีแดง เป็น เอกลักษณ์สำคัญของเครื่องปั้นหริภุญชัย
จากการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของเครื่องปั้นหริภุญชัย ที่มีลักษณะเฉพาะ มีความคล้ายคลึงกับเครื่องปั้นในภาคกลางของพม่าด้วย
|