เล่มที่ 21
พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
ขลู่
ขลู่

น้ำเต้า
น้ำเต้า

กระชาย
กระชาย

ผลมะตูม
ผลมะตูม

ผลดิบมะเกลือ
ผลดิบมะเกลือ

เล็บมือนาง
เล็บมือนาง

สะแกนา
สะแกนา

ต้นทองพันชั่ง
ต้นทองพันชั่ง
พืชสมุนไพรพื้นบ้าน

            พืชสมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นยารักษาโรค โดยใช้ส่วนต่างของพืชชนิดเดียว หรือหลายชนิดพร้อมกัน พืชสมุนไพรเป็นกลุ่มพืชที่อยู่ในความสนใจ และมีผู้ศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านมากที่สุด ยารักษาโรคปัจจุบันหลายขนาน ที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรม ได้มาจากการศึกษาวิจัย การใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านของกลุ่มชนพื้นเมือง ตามป่าเขา หรือในชนบท ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ที่ได้สังเกตว่า พืชใดนำมาใช้บำบัดโรคได้ มีสรรพคุณอย่างไร จากการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ และการทดลองแบบพื้นบ้าน ที่ได้ทั้งข้อดี และข้อผิดพลาด

            พืชสมุนไพรพื้นบ้านในตำรับยาไทยมีหลายร้อยชนิด จะนำมากล่าวถึงเป็นตัวอย่างเพียงบางชนิด แยกตามกลุ่มพืชที่ใช้บำบัดโรคต่างๆ ดังนี้

กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้แก้ไข้และขับปัสสาวะ

เช่น
  • เปลือกพญาสัตบรรณหรือตีนเป็ด (Alstoniascholaris)
  • เปลือกและใบทุ้งฟ้า (Alstonia macrophylla)
  • ใบหนาด (Blumea balsamifera)
  • ราก เปลือก และใบ ขลู่ (Pluchea indica)
  • ใบ เนื้อไม้ ผล และเมล็ดมะคำไก่ หรือประคำไก่ (Drypetes roxburghii)
  • ต้นและรากอ้อเล็ก (Phragmites australis)
  • รากและใบกรุงเขมา (Cissampelos pareira)
  • เถาบอระเพ็ด (Tinospora crispa)
  • เถาขมิ้นเครือ (Arcangelisia flava)
  • ราก เหง้า และใบหญ้าคา (Imperata cylindrica) 
  • ผลน้ำเต้า (Legenaria siceraria)
กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย

เช่น
  • เนื้อไม้สีเสียดหรือสีเสียดเหนือ (Acaciacatechu)
  • ใบและผลมะตูม (Aegle marmelos)
  • เปลือกประดู่บ้าน (Pterocarpus indicus)
  • เหง้าไพล (Zingiber purpureum)
  • เหง้าและรากกระชาย (Boesenbergia rotunda)
  • แก่นฝาง (Caesalpinia sappan)
  • ราก เปลือก เนื้อไม้ ใบและดอกแก้ว (Murraya paniculata)
  • เปลือกโมกหลวง (Holarrhena pubescens)
กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาระบายและขับพยาธิ

เช่น
  • ผลดิบมะเกลือ (Diospyros mollis) 
  • แก่นไม้มะหาด (Artocarpus lakoocha)
  • เมล็ดเถาเล็กมือนาง (Quisqualis indica) 
  • เมล็ดสะแกนา (Combretum quadran-gulare) 
  • เมล็ดแห้งฟักทอง (Cucurbita moschata) 
  • เนื้อในเมล็ดมะขาม (Tamarindus indica)
 กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาขับลม

เช่น
  • เหง้าแก่ขิง (Zingiber officinale) 
  • เหง้าว่านน้ำ (Acorus calamus) 
  • ผลกระวาน (Amomum krervanh) 
  • เหง้าข่า (Alpinia galanga) 
  • ผลพริกไทย (Piper nigrum)
  • ต้นตะไคร้  (Cymbopogon citratus)
กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้แก้โรคผิวหนัง
  • เปลือก ใบ และเมล็ดสารภีทะเลหรือกระทิง (Calophyllum inophyllum)
  • ใบและเมล็ดชุมเห็ดไทย (Cassia tora) 
  • ใบชุมเห็ดเทศ หรือ ชุมเห็ดใหญ่ (Cassia alata)
  • ใบ ดอกและเมล็ดเทียนบ้าน(Impatiens balsamina) 
  • รากและใบทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus) 
  • เปลือก ใบ ดอกและผลโพธิ์ทะเล (Thespesia populnea)
  • ใบและเมล็ดครามป่า(Tephrosia purpurea) 
  • ยางสลัดไดป่า (Euphorbia antiquorum)
  • น้ำยางสบู่ดำ(Jatropha curcas) 
  • เมล็ดทองกวาว (Butea monosperma)
  • เปลือกเถาสะบ้ามอญ(Entada rheedii) 
  • เมล็ดกระเบาใหญ่ (Hydnocarpus anthelminthicus) 
  • เหง้าข่า (Alpiniaa galanga) 
  • หัวหรือกลีบกระเทียม (Allium sativum)
กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลงและไล่แมลง

เช่น
  • รากเถาโล่ติ๊น หรือหางไหล (Derris elliptica) 
  • ใบและเมล็ดน้อยหน่า (Annona squamosa) 
  • รากหนอนตายหยาก (Stemona tuberosa) 
  • เมล็ดงา (Sesamun indicum) 
  • ผลมะคำดีควายหรือมะซัก (Sapindus rarak) 
  • ใบเสม็ด หรือเสม็ดขาว (Melaleuca cajuputi) 
  • ต้นขอบชะนาง หรือหญ้าหนอนตาย (Pouzolzia pentandra)
  • เปลือก ใบและผลสะเดา(Azadirachta indica) 
  • เปลือกกระเจาหรือกระเชา (Holopteleaintegrifolia)
  • ใบสดกว้าว (Haldina cordifolia)