การได้สารพิษ
การได้รับสารพิษ (poisonings) หมายถึง การที่สารพิษเข้าสู่ร่างกายโดยรับประทาน สูดหายใจ สัมผัสทางผิวหนัง หรือโดยการฉีดผ่านผิวหนัง ทำให้เกิดโรคเป็นอันตราย พิการ หรือถึงแก่ชีวิต ทั้งนี้อาจเกิดขึ้นด้วยความจงใจ หรือด้วยอุบัติเหตุก็ได้
|
 สารพิษต่างๆ ซึ่งร่างกายอาจได้รับโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
| อาการที่ปรากฏออกมานั้น มักแตกต่างออกไปตามประเภทและปริมาณของสารพิษ ระยะเวลาที่สารพิษเข้าสู่ร่างกาย ตลอดจนสภาวะของร่างกายที่สามารถทนทานต่อสารพิษนั้นๆ มากน้อยเพียงใด
|
สารพิษที่เข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทาน
สารพิษที่เข้าสู่ร่างกายด้วยการรับประทาน (ingested poisonings) แบ่งตามผลที่เกิดขึ้นได้ ๔ ประเภท คือ
๑. สารกัดกร่อน (corrosives)
คือ สารที่กัดทำลายเนื้อเยื่อของร่างกายโดยเร็ว เช่น กรด ด่าง ฟีนอล (phenol) ไอโอดีน (iodine) เป็นต้น สารเหล่านี้ทำให้เกิดแผลไหม้บริเวณปาก ลิ้นหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร เจ็บปวดรุนแรง อาเจียนออกมาเป็นเลือดสีดำ
๒. สารระคายเคียง (irritants)
เป็นสารที่ไม่ได้ทำลายเนื้อเยื่อโดยตรง แต่ทำให้อักเสบ ทำให้ผู้ที่รับประทานสารนี้เข้าไปเกิดคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ปวดท้อง หน้ามืดเป็นลม ได้แก่พวก โปแตสเซียมไนเตรต (potassiummitrate) สังกะสีคลอไรด์ (zine chloride) สารหนู (aresenic) และกำมะถัน (phosphorus)
๓. สารกดประสาท (depressants)
เป็นสารที่ผู้ป่วยรับประทานเข้าไปในระยะแรกๆ จะมีอาการตื่นเต้นชั่วคราวต่อมาปรากฏอาการเซื่องซึมหายใจช้า มีเสียงกรน ผิวหนังเย็นชื้นหน้าและมือเขียวคล้ำ กล้ามเนื้อหย่อยยานปวกเปียก ได้แก่ พวกฝิ่น มอร์ฟีน ยานอนหลับ แอลกอฮอล์
๔. สารกระตุ้นประสาท (excitants)
เป็นสารที่ทำให้ผู้ป่วยเพ้อกระวนกระวาย หายใจลำบาก ผิวหนังแห้งและร้อน ชีพจรเต้นเร็วแต่อ่อนแรง มีอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ มีอาการชักเช่น สตริคนิน (strychnine) อะโตรปิน (atropine) การบูร (camphor) และฟลูออกไรด์ (fluoride) เป็นต้น
วิธีปฐมพยาบาล
๑. พยายามเสาะหาชนิดของสารที่ผู้ป่วยรับประทานเข้าไปให้แน่ชัด เก็บไว้ให้แพทย์ตรวจเมื่อต้องการ
๒. พยายามเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหารให้มากและโดยเร็ว ด้วยวิธีทำให้ผู้ป่วยอาเจียน มีข้อห้ามมิให้ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนในกรณีที่สารพิษซึ่งรับประทานเข้าไปเป็นสารกัดกร่อนเช่น น้ำกรดหรือน้ำด่าง เพราะอาจทำให้กระเพาะอาหาร หรือ |