เล่มที่ 6
ฟังก์ชัน
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
ในชั้นประถมปีที่ 6 ของโรงเรียนประชาทำนุ จำนวนนักเรียนที่ขาดเรียนในสัปดาห์หนึ่งเป็นดังนี้

            วันจันทร์นักเรียนขาดเรียน 5 คน
            วันอังคารนักเรียนขาดเรียน 1 คน
            วันพุธนักเรียนขาดเรียน 0 คน
            วันพฤหัสบดีนักเรียนขาดเรียน 2 คน
            วันศุกร์นักเรียนขาดเรียน 3 คน

อาจเขียนโดยใช้แผนภาพดังนี้
นั่นคือ

            จันทร์จับคู่กับ 5
            อังคารจับคู่กับ 1
            พุธจับคู่กับ 0
            พฤหัสบดีจับคู่กับ 2
            ศุกร์จับคู่กับ 3

จะเห็นว่าสมาชิกแต่ละตัวใน ก. จับคู่กับสมาชิกใน ข. เพียงตัวเดียวเท่านั้น เรียกการจับคู่เช่นนี้ว่า ฟังก์ชัน

            แทนที่จะเขียนฟังก์ชันโดยใช้แผนภาพ อาจเขียนในรูปเซตของคู่ลำดับดังนี้
{(จันทร์, 5), (อังคาร, 1), (พุธ, 0), (พฤหัสบดี, 2), (ศุกร์,3)}

ในคู่ลำดับ (จันทร์, 5) เรียกจันทร์ว่า สมาชิกตัวหน้า และเรียก 5 ว่าสมาชิกตัวหลังของคู่ลำดับ

            ถ้าพิจารณาในเชิงเซตของคู่ลำดับ ฟังก์ชันคือเซตของคู่ลำดับ ซึ่งในสองคู่ลำดับใดๆ ถ้าสมาชิกตัวหน้าเหมือนกันแล้ว สมาชิกตัวหลังต้องเหมือนกันด้วย

            ถ้าเรียกเซตของคู่ลำดับว่า ความสัมพันธ์ ฟังก์ชันก็คือความสัมพันธ์ซึ่งในสองคู่ลำดับใดๆ ถ้าสมาชิกตัวหน้าเหมือนกันแล้ว สมาชิกตัวหลังต้องเหมือนกันด้วย

            ตัวอย่าง พิจารณาความสัมพันธ์

{(1,2), (1,3), (1,4), (2,3), (2,4), (3,4)}

จะเห็นว่าคู่ลำดับ (1,2) และ (1,3) มีสมาชิกตัวหน้าเหมือนกัน แต่สมาชิกตัวหลังไม่เหมือนกัน ดังนั้นความสัมพันธ์นี้ไม่ใช่ฟังก์ชัน

ตัวอย่าง ในชั้นมัธยมปีที่ 1 ของโรงเรียนมารดาพิทักษ์ จำนวนนักเรียนที่ขาดเรียนในสัปดาห์หนึ่งเป็นดังนี้
ถ้าเขียนในรูปเซตของคู่ลำดับจะได้

{(จันทร์, 2), (อังคาร, 3), (พุธ, 1), (พฤหัสบดี, 2),(ศุกร์, 0)}

เนื่องจากไม่มีสมาชิกตัวหน้าของคู่ลำดับใดซ้ำกัน ความสัมพันธ์นี้จึงเป็นฟังก์ชัน

ตัวอย่าง

พิจารณาความสัมพันธ์ "เป็นพ่อของ"

            เนื่องจาก ถ้านายมนัส เป็นพ่อของเด็กชายสง่า และเด็กหญิงราตรี จะได้ว่า คู่ลำดับ (มนัส,สง่า) และ (มนัส,ราตรี) ต่างก็อยู่ในความสัมพันธ์นี้ คู่ลำดับ 2 ตัวนี้มีสมาชิกตัวหน้าเหมือนกัน แต่สมาชิกตัวหลังไม่เหมือนกัน ความสัมพันธ์จึงไม่เป็นฟังก์ชัน
ตัวอย่าง

เนื่องจากรถยนต์แต่ละคัน จะมีเลขทะเบียนรถเพียงหมายเลขเดียวเท่านั้น ความสัมพันธ์นี้จึงเป็นฟังก์ชัน
            ตัวอย่างในการเขียนสมการ หรืออสมการ เช่น y = 2x เราหมายถึงเซตของคู่ลำดับ (y,x) ซึ่งทำให้ข้อความ y=2x เป็นจริง เช่น (1,2) อยู่ในความสัมพันธ์ y=2x เพราะถ้าให้ x=1 และ y=2 แล้ว ข้อความ y=2x เป็นจริง

ความสัมพันธ์ y=2x เป็นฟังก์ชัน แต่ความสัมพันธ์ y2=x ไม่เป็นฟังก์ชัน เพราะ (1,1) และ (1,-1) ต่างก็อยู่ในความสัมพันธ์ y2=x