โรคพิษสุนัขบ้า
โรคนี้มีชื่อพ้องว่า โรคกลัวน้ำหรือโรคหมาบ้า หรือโรคหมาว้อ
เชื้อต้นเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งมีชื่อว่า เรบีส์ (rabies virus) ซึ่งเป็นไวรัสที่อยู่ในกลุ่มแรพโดไวรัส (rhabdovirus)
ระยะฟักตัว
โดยทั่วไป พบได้ในเวลา ๑ เดือน ถึง ๑ ปี ระยะฟักตัวนั้น โดยเฉลี่ยในมนุษย์ประมาณ ๔๕ วัน อาจสั้นได้ถึงต่ำกว่า ๑ สัปดาห์ อาจนานได้ถึง ๓ ปีเศษ เมื่อผ่านพ้นระยะฟักตัวของโรคไปแล้ว จึง จะมีอาการของโรค
ลักษณะอาการ
ระยะเริ่มแรกผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำๆ ใน ๒-๓ วันแรก เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ต่อ มามีอาการคันบริเวณแผลที่ถูกสัตว์กัด และเริ่มเข้าระยะ ตื่นเต้น ผู้ป่วยคันมากขึ้น กระสับกระส่าย กระวนกระวาย ไม่ชอบแสงสว่าง ไม่ชอบลม รู้สึกกลืน ลำบาก โดยเฉพาะของเหลวหรือน้ำ เจ็บมากเวลา จะกลืน เนื่องจากมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเกี่ยวกับ การกลืน แต่ยังมีสติ พูดรู้เรื่อง ต่อไปเริ่มเอะอะมาก ขึ้น ในที่สุดมีอาการชัก อัมพาต หมดสติ และ ถึงแก่ความตาย เนื่องจากส่วนที่สำคัญของสมองถูกทำลาย เช่น ศูนย์การหายใจ ศูนย์ควบคุมระบบไหลเวียน เลือด ทำให้หยุดหายใจ และระบบไหลเวียนเลือด ล้มเหลว เป็นต้น
การติดต่อ
มนุษย์จะติดโรคพิษสุนัขบ้า ส่วน ใหญ่โดยการถูกสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดหรือถูก เลียหรือข่วน เชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำลาย จะเข้าทางบาดแผล หรือรอยถลอก ในประเทศไทยร้อยละ ๙๗ ของ ผู้ป่วยที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากการที่ถูกสุนัขกัด และร้อยละ ๑ ถูกแมวกัด นอกนั้นเกิดจากสัตว์อื่นกัด เช่น ชะนี กระรอก และกระแต เป็นต้น
สัตว์เลี้ยงที่นำเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ามาสู่มนุษย์ได้ โดยอาจมีเชื้อไวรัสอยู่ในน้ำลายของสัตว์นั้น : กระต่าย
การป้องกันและควบคุมโรค
ก. การป้องกันล่วงหน้า
๑. ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโรค พิษสุนัขบ้า และผู้ที่ปฏิบัติงานคลุกคลีกับสัตว์ เช่น สัตวแพทย์ ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัข บ้าไว้ล่วงหน้า
๒. ผู้ที่เลี้ยงสุนัขและแมวไว้ในบ้าน ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้แก่สัตว์เลี้ยงเหล่านี้ ตั้งแต่อายุ ๓ เดือนขึ้นไป และฉีดให้ทุกปี
๓. ทางการจะต้องทำการกำจัดสัตว์เลี้ยง ที่ไม่ปรากฏเจ้าของอย่างเข้มงวด
สัตว์เลี้ยงที่นำเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ามาสู่มนุษย์ได้ โดยอาจมีเชื้อไวรัสอยู่ในน้ำลายของสัตว์นั้น : สุนัข
ข. การป้องกันเมื่อถูกสัตว์กัด
เนื่องจากในประเทศของเราเป็นประเทศที่มีโรคชุกชุม เมื่อถูกสัตว์กัดหรือแม้แต่ถูกน้ำลายสัตว์ การปฏิบัติอาจจะแตกต่างไปจากการปฏิบัติ ในอาณาบริเวณอื่นๆ ที่ปลอดโรคหรือโรคไม่ชุกชุม
สัตว์เลี้ยงที่นำเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ามาสู่มนุษย์ได้ โดยอาจมีเชื้อไวรัสอยู่ในน้ำลายของสัตว์นั้น : หนูตะเภา
การฉีดวัคซีน
๑. หากถูกสัตว์ป่ากัด หรือสัตว์เลี้ยงที่ ไม่ปรากฏเจ้าของกัด จะต้องฉีดวัคซีน
๒. ถ้าถูกสัตว์เลี้ยงในบ้านกัด และสัตว์นั้นมีประวัติฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้รอดู ประมาณ ๑๐ วัน ถ้าสัตว์ไม่เจ็บ และไม่ตาย ก็ไม่ต้องฉีดวัคซีน ยกเว้นถ้าถูกกัดเป็นแผลเหวอะหวะ ให้ฉีดวัคซีนไป ก่อน ถ้า ๑๐ วันไปแล้ว สัตว์ไม่เจ็บไม่ตาย ให้เลิก ฉีดวัคซีนได้
๓. ถ้าเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้าน แต่ไม่มีประวัติ ฉีดวัคซีน ถ้าถูกกัดเล็กๆ น้อยๆ และสัตว์นั้นไม่มี อาการเจ็บป่วย ก็ให้รอดูไปก่อนได้ ๑๐ วัน แต่ถ้าหาก สัตว์แสดงพฤติกรรมผิดแปลกไปและหรือแผลที่ถูกกัด ลึกเหวอะหวะให้ฉีดวัคซีนเช่นเดียวกันกับข้อ ๒
๔. ถ้าเป็นสัตว์เลี้ยงบางประเภท เช่น กระต่าย หนูตะเภา โค กระบือ และม้า ให้พิจารณา ดูเป็นรายๆไป เพราะสัตว์พวกนี้โอกาสที่จะนำโรคน้อยกว่าสุนัข โดยพิจารณาว่าทำไมสัตว์เหล่านั้นจึงกัด
๕. ถ้าถูกสัตว์ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด บาดแผลชัดเจน ลึก หรือกัดบริเวณหน้าหรือ ใกล้ศีรษะ ควรฉีดเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าร่วมด้วย โดยเร็วที่สุด