เล่มที่ 10
โรคติดต่อและโรคเขตร้อน
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
โรคจากสัตว์เซลล์เดียว

สัตว์เซลล์เดียว (protozoa) มีขนาดเล็ก สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นไปได้เรื่อยๆ มีอยู่หลายชนิดที่ก่อให้เกิดโรคในคน ได้แก่

            ๑. อะมีบา (amoeba) เป็นสัตว์เซลล์เดียวที่เคลื่อนไหวโดยการยึดผนังของเซลล์ไปข้างหน้า ชนิดที่พบบ่อยได้แก่ เอนทามีบา ฮิสโทไลทิกา ซึ่งก่อให้เกิดโรคบิดอะมีบา

            ๒. แผลเจลเลต (flagellate) เป็นสัตว์เซลล์เดียวที่มีเส้นหรือแผลเจลลัม (flagellum) อยู่ที่ส่วนหัวใช้ช่วยในการเคลื่อนไหว ที่พบบ่อยๆ ได้แก่ จิอาร์เดีย แลมเหลีย (Geardia lamlia) ทรีโคโมนัส วาจินาลิส (Trichomonas voginalis) เป็นต้น

            ๓. ซิลิเอต (ciliate) ชนิดนี้มีขน (cilia) อยู่รอบๆ ตัว เช่น บาแลนทิเดียว โคไล (Balantidium coli)

            ๔. สปอโรซัว (sporozoa) มีทั้งชนิดที่อยู่ในเลือด เช่น เชื้อไข้ จับสั่นหรือเชื้อพลาสโมเดียม (Plasmodium) และชนิดที่อยู่ในอวัยวะและเนื้อเยื่ออื่นๆ เช่น ท็อกโซพลาสมา (Toxoplasma)

            ๕. ฮิโมแฟลเจลเลต (hemoflagellate) ชนิดมีแส้และอาศัยในเลือด ได้แก่ เชื้อทรีพาโนโซมา (Trypanosoma) ซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้หลับแอฟริกัน (African sleeping sickness) โรคชากัส (Chagas'disease) และ เชื้อลิชมาเนีย (Leishmania) เป็นต้น

สำหรับโรคจากสัตว์เซลล์เดียวที่พบบ่อยๆในบ้านเรา ได้แก่ โรคบิดอะมีบา และมาลาเรีย

โรคบิดอะมีบา

            เป็นโรคซึ่งเกิดจากเชื้อบิด เอ็นตามีบา ฮิสโทไลติกา ซึ่งอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของ คน เชื้อบิดนี้จะแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนได้เรื่อยๆ ใน บางครั้งจะหยุดเคลื่อนไหวและสร้างผนังหุ้มรอบตัว เรียกว่า ซิสต์ (cyst) ซึ่งมีลักษณะเป็นถุงกลมขนาด ๑๐ - ๒๐ ไมโครเมตร และมีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อม ต่างๆได้ดีมาก เช่น สามารถอยู่ในน้ำได้หลายสัปดาห์ เมื่อคนรับประทานซิสต์นี้เข้าไป เชื้อบิดก็จะออกจากซิสต์และเจริญเติบโตในผนังของลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดแผล และเนื้อรอบๆ บริเวณ แผลตายหลุดออกมาพร้อมกับ เลือด ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือดและปวดเบ่ง ตอนแรกอุจจาระจะเหลว มีมูกบ้าง ต่อมา อุจจาระจะมีกลิ่นเหม็นจัดเหมือนหัวกุ้งเน่า มีมูก ปนอุจจาระ ถ่ายวันละ ๕-๑๐ ครั้ง ผู้ป่วยยังสามารถ เดินไปไหนมาไหนได้ มักไม่ค่อยมีไข้ ในบางรายอาจ เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ตกเลือดโดยถ่ายอุจจาระ ออกมามีแต่เลือดสดๆ ผนังลำไส้ทะลุ ทำให้อุจจาระ เข้าไปในช่องท้องก่อให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นต้น ในบางครั้งเชื้อบิดอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่อวัยวะอื่นนอก ลำไส้ได้ เช่น ฝีบิดในตับ (amoebic liver abscess) ซึ่งมักพบในผู้ชายอายุ ๓๐-๕๐ ปี มีอาการไข้ เจ็บ บริเวณชายโครงขวา อาจเจ็บร้าวไปถึงหัวไหล่ จะมี อาการมากขึ้นเป็นลำดับ บางครั้งคลำดูพบว่ามีก้อนนูน ออกมาจากชายโครงขวา กดเจ็บมาก ผู้ป่วยจะผอม ลงอย่างรวดเร็ว ในบางครั้งฝีปิดอาจแตกเข้าเยื้อหุ้มปอด และช่องหัวใจได้

            เนื่องจากโรคนี้ส่วนใหญ่จะติดต่อทางปาก ฉะนั้น การป้องกันก็คือ ควรกินอาหารที่ผ่านการหุงต้มแล้ว ผักสดควรล้างให้สะอาด ก่อนรับประทาน

โรคมาลาเรียหรือไข้จับสั่น

            เกิดจากเชื้อพลาสโมเดียม ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๔ ชนิด คือ พลาสโมเดียมไวแวกซ์ (Plasmodium vivax) พลาสโมเดียม ฟัลซิพารุม (Plasmodium falciparum) พลาสโมเดียม โอวาเล (Plasmodium ovale) และพลาสโมเดียม มาลาเรียอี (Plasmodium malariae) ในประเทศไทย พบ มากเพียง ๒ ชนิดแรก เท่านั้น

            เชื้อมาลาเรียเป็นปรสิตเซลล์เดียว อาศัยอยู่ใน ต่อมน้ำลายของยุงก้นปล่อง (anopheles) เมื่อยุงกัดคน ก็จะปล่อยเชื้อมาลาเรีย ซึ่งอยู่ในระยะที่เรียกว่า สปอโรซอยต์ (sporozoite) เข้าสู่คน สปอโรซอยต์จะหายไปจากเลือดอย่างรวดเร็ว โดยไปเจริญเติบโต ในเซลล์ของตับ ในระยะเวลา ๕-๗ วัน จะแบ่งตัวออกเป็นเมอโรซอยต์ (merozoite) มากมาย เป็นผลให้เซลล์ของตับแตก ปล่อยเมอโรซอยต์เข้าสู่กระแสเลือด และเข้าไปเจริญเติบโตในเม็ดเลือดแดง ระยะที่เชื้ออาศัยอยู่ในตับ เรียกว่า พีอีฟอร์ม (pre-erythrocytic form) ส่วนระยะที่อยู่ในเม็ดเลือดแดงเรียกว่า อีฟอร์ม (erythrocytic form) เมอโรซอยต์จะมีขนาดโตขึ้น เรียกว่า โทรโฟซอยด์ (trophozoite) แล้วแบ่งตัวเป็นสคิซอนต์ (schizont) ได้หลายตัว เม็ดเลือดแดงจะแตกปล่อยเชื้อเข้ากระแสเลือด และจู่โจมเม็ดเลือดแดงอื่นๆ ต่อไป

            โทรโฟซอยต์บางตัวจะเจริญไปเป็นกามีโทไซต์ (gametocyte) ซึ่งมีทั้งเพศผู้และเพศเมีย เมื่อยุงกัด คนจะได้รับเชื้อกามีต (gamete) เข้าไปในกระเพาะอาหาร กามีตทั้งสองเพศจะผสมพันธุ์กันแล้วเข้าไปอยู่ในผนัง ของกระเพาะอาหารของยุง เจริญเติบโตแบ่งตัวกลาย เป็นซีสต์ใหญ่ ซึ่งมีสปอโรซอยต์อยู่เป็นจำนวนมาก ซีสต์จะแตกออกปล่อยสปอโรซอยต์กระจายไปทั่วตัวยุง ซึ่งส่วนใหญ่จะไปอยู่ที่ต่อมน้ำลายเมื่อยุงกัดคน จะ ปล่อยสปอโรซอยต์เข้าสู่กระแสเลือดของคนต่อไป วงจรชีวิตของเชื้อในยุงนี้ กินเวลาประมาณ ๗-๒๐ วัน
ยุงก้นปล่อง ตัวนำเชื้อโรคมาลาเรีย
ยุงก้นปล่อง ตัวนำเชื้อโรคมาลาเรีย
            เชื้อมาลาเรียชนิดพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ เมื่อ ออกจากเซลล์ของตับแล้ว บางส่วนจะเข้าสู่เม็ดเลือด แดง และบางส่วนจะวกกลับเข้าสู่เซลล์ของตับอีก แล้ว เจริญเติบโตและแบ่งตัวอยู่ ๑-๒ เดือน เซลล์ของตับก็จะแตก ปล่อยเชื้อเข้าสู่เม็ดเลือดแดงได้อีก ส่วน พลาสโมเดียม ฟัลซีพารุมนัน เมื่อออกมาจากตับแล้ว จะไม่วกกลับเข้าสู่ตับอีก
            ยุงก้นปล่องที่เป็นตัวนำเชื้อมาลาเรียในประเทศ ไทยนั้นมีอยู่ ๔ ชนิด คือ อะโนฟีลีส มินิมุส (Ano- pheles minimus) อะโนฟีลีส บาลาบาเซนซิส (Ano- pheles balabacensis) อะโนฟีลิส มาคูลาทุส (Ano- pheles mculatus) และอะโนฟีลีส ซันไดคุส (Ano- pheles sundaicus)
            ผู้ที่ได้รับเชื้อมาลาเรียโดยยุงกันปล่องที่มีเชื้อกัด ภายใน ๑๐-๑๔ วัน จะเริ่มมีอาการไม่สบาย เช่น ปวด ศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ซึ่งเป็นอาการ เหมือนไข้หวัดใหญ่มาก ต่อมาจะเริ่มมีอาการไข้จับสั่น ซึ่งมีระยะ ต่างๆ คือ ระยะหนาว ระยะร้อน และระยะเหงื่อออก ภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นได้ ในผู้ป่วยมาลาเรียฟัลซิพารุม เช่น มาลาเรียขึ้นสมอง มาลาเรียลงตับ มาลาเรียลงไต มาลาเรียลงลำไส้ ไข้น้ำดำ (black water fever) และช็อก เป็นต้นวงจรชีวิตของเชื้อมาลาเรีย ซึ่งเป็นปรสิตเซลล์เดียว
วงจรชีวิตของเชื้อมาลาเรีย ซึ่งเป็นปรสิตเซลล์เดียว
            สำหรับการป้องกัน ควรนอนกางมุ้ง และให้ ความร่วมมือกับหน่วยควบคุมมาลาเรีย ฉีดดีดีที ตามใต้ถุนบ้านและฝาบ้าน เพราะเป็นวิธีเดียวที่จะกำจัด ยุงก้นปล่องได้ นอกจากนี้ก่อนจะเดินทางเข้าไปในเขต ที่มีไข้มาลาเรีย ควรกินยาป้องกันมาลาเรียตลอดเวลาที่อยู่ และเมื่อออกมาแล้ว ๘ สัปดาห์