โรคตับอักเสบ
เชื้อต้นเหตุ
เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคตับ อักเสบที่พบบ่อย แบ่งได้เป็น ๓ ชนิด คือ ไวรัสตับ อักเสบชนิดเอ ไวรัสตับอักเสบชนิดบี และไวรัสตับ อักเสบที่ไม่ใช่เอและบี ชนิดอื่นๆ พบน้อย
ระยะฟักตัว
ชนิดเอมีระยะฟักตัวตั้งแต่ ๑๕- ๕๐ วัน หรือโดยเฉลี่ยประมาณ ๑ เดือน ชนิดบีมี ระยะฟักตัวนานกว่าชนิดเอ คือ ตั้งแต่ ๓ สัปดาห์ จนถึง ๖ เดือน หรือโดยเฉลี่ยประมาณ ๒-๓ เดือน
ลักษณะอาการ
เริ่มด้วยอาการไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ปวดท้อง เจ็บเสียดบริเวณชายโครงขวา ซึ่งเป็นตำแหน่งของตับ และอาการสำคัญที่บ่งว่าเป็นโรคตับ คือ อาการ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเข้ม ซึ่งเรียกกันว่า ดีซ่าน
จากลักษณะอาการจะบอกไม่ได้ว่าเกิดจากเชื้อ ไวรัสตัวใด ต้องทำการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอ มีชุกชุมในบ้านเรา คนส่วนมากมักไม่แสดงอาการป่วย มีบางรายเท่านั้นที่แสดง อาการ พบบ่อยในเด็กและวัยหนุ่มสาว โรคตับอักเสบ จากเชื้อไวรัสชนิดเอมักมีอาการไม่รุนแรง เป็นเร็วหาย เร็ว ไม่พบเป็นเรื้อรัง ไม่พบผู้ที่มีเชื้อเป็นพาหะนานๆ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี มักมีอาการโรคช้าๆ แต่รุนแรง และเป็นนานกว่าชนิดเอ ประมาณร้อยละ ๑ ที่มีอาการรุนแรงถึงแก่ความตาย บางรายกลายเป็นโรค ตับอักเสบเรื้อรัง โรคตับแข็งและมะเร็งตับ ในผู้ที่ติด เชื้อไวรัสตับอักเสบบี ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ โดย เฉพาะผู้ทีได้รับเชื้อตั้งแต่อายุน้อยๆ แต่พวกนี้จะเป็น พาหะเรื้อรังที่แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น คนไทยประมาณร้อยละ ๕-๑๐ เป็นพาหะมีเชื้อไวรัสนี้อยู่ในเลือดและสารคัดหลั่ง ในผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบที่ไม่ใช่เอและไม่ใช่บี อาจจะ แสดงลักษณะอาการของโรคและการติดต่อคล้ายกับเชื้อ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอหรือชนิดบี แต่เมื่อตรวจยืนยันแล้ว ไม่ใช่เชื้อไวรัส ๒ ชนิดนี้ จึงถูกจัดเข้าไว้ในกลุ่มใหม่ว่า ไม่ใช่เอและไม่ใช่บี
การติดต่อ
ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ติดต่อทาง การกิน เชื้อเพิ่มจำนวนและออกมากับอุจจาระ แปด- เปื้อนปนกับน้ำดื่ม น้ำใช้และอาหาร ทำให้เกิดโรค ระบาดได้ สำหรับเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี ติดต่อ ทางการให้เลือดหรือฉีดยา เชื้อไวรัสตรวจพบได้ในเลือด น้ำลาย น้ำนม และน้ำอสุจิ เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้โดย ทางบาดแผล รอยถลอกและเยื่อเมือก จึงพบการ ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการติดต่อในกลุ่มผู้ที่อยู่ ใกล้ชิดกับผู้มีเชื้อ ทางติดต่อที่สำคัญอีกทางหนึ่งคือ การติดต่อของเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีจากแม่ ที่เป็น พาหะ ไปยังทารก เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดไม่ใช่เอและบี เป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่ยังไม่รู้จักแน่นอน แต่เชื่อว่ามี มากกว่า ๑ ตัว คือ ชนิดที่สามารถติดต่อได้ทางการกิน เหมือนไวรัสตับอักเสบชนิดเอ และชนิดที่ติดต่อทาง การให้เลือดทางเข็มฉีดยา และการสัมผัสใกล้ชิด เหมือนไวรัสตับอักเสบชนิดบี
การป้องกันและควบคุมโรค
การควบคุม สำหรับไวรัสตับอักเสบชนิดเอ คือ การมีน้ำดื่ม น้ำใช้ ที่สะอาดและการสุขาภิบาลที่ดี นอกจากนี้ก็ควรให้ความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยสำหรับประชาชน เช่น การ ล้างมือบ่อยๆ ล้างมือก่อนปรุงอาหารและกินอาหาร น้ำดื่มควรใช้น้ำต้ม ผักสดที่เป็นอาหารต้องล้างหลายๆ ครั้ง อาหารทะเลที่ปรุงดิบๆสุกๆอาจนำเชื้อไวรัสตับ อักเสบชนิดเอได้ ขณะนี้ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดเอยังอยู่ในระยะทำการศึกษา การควบคุมไวรัสตับ อักเสบชนิดบีทำได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะจากการ ติดต่อในผู้ที่เป็นพาหะโดยไม่แสดงอาการ ให้ทำการ ตรวจเลือดผู้ที่บริจาค ถ้าพบว่าเลือดของผู้ใดมีเชื้อไวรัส ก็ไม่นำไปใช้กับผู้ป่วย ทำการฆ่าเชื้อเข็มฉีดยา หลอด ฉีดยาและเครื่องมือต่างๆ ในปัจจุบันมีเซรุ่มและวัคซีน สำหรับไวรัสตับอักเสบชนิดบี แต่ก็มีราคาแพง ทารก ที่เกิดจากแม่ซึ่งเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบชนิดบี ควรป้องกันการติดเชื้อในทารกโดยให้เซรุ่มและวัคซีน ร่วมกันตั้งแต่ระยะแรกคลอดจนครบชุด ในผู้ที่ขาดภูมิคุ้มกัน และเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ควรฉีดวัคซีนป้องกัน