สำหรับตลาดของไทยนั้นมีมาคู่บ้านคู่เมือง ตั้งแต่เรามีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เราจะมองเห็นความเรียบง่าย และความเป็นอิสระในการตลาดสมัยนั้น ได้จากข้อความตอนหนึ่งในหลักศิลาจารึก ดังนี้
แผนที่กรุงศรีอยุธยาที่วิศวกรชาวฝรั่งเศสเขียนขึ้นตอนปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
“เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหงเมืองสุโขทัยนี้ดี
ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว
เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ ในไพร่ลู่ทาง
เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย
ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า
ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า”
โบสถ์ซางตาครู้สในชุมชนกุฎีจีนทางฝั่งธนบุรี ในอดีตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายในไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา
และอีกตอนหนึ่งที่ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดว่า
“เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยมีตลาดปสาน
มีพระอจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว ป่าหมากลาง
มีไร่นา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก”
โบสถ์ซางตาครู้สในชุมชนกุฎีจีนทางฝั่งธนบุรี ในอดีตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายในไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา
คำว่า “ตลาดปสาน” มีรากคำมาจากภาษาเปอร์เซียว่า ปลาซา (Plaza) หมายถึง ตลาดในที่โล่งแจ้ง
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สภาพของตลาดเปลี่ยนไปตามสภาพภูมิศาสตร์ของอยุธยา ที่มีแม่น้ำโอบล้อม ลักษณะของตลาดจึงมีทั้งตลาดบก ตลาดน้ำ (หรือตลาดเรือ) มีการติดตลาดกันทั้งวัน มีทั้งของสด ของแห้ง และของป่า
ตลาดสะพานหัน
เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว กรุงธนบุรีได้รับการสถาปนาเป็นราชธานีแห่งใหม่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของธนบุรี เหมาะที่จะเป็นเมืองหน้าด่านทางน้ำ เนื่องจากเรือสินค้าทุกลำจะต้องผ่านน่านน้ำนี้ จึงเป็นตลาดการค้าที่มีเงินหมุนเวียนมากมาย เป็นแหล่งที่ตั้งด่านภาษีซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่า “ขนอนบางกอก”
ตลาดสำเพ็ง แหล่งสินค้าหลากหลายชนิดทั้งขายปลีก และขายส่ง
ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ตอนหนึ่งระบุว่า
“ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ มาจนถึงรัชกาลที่ ๒ เห็นประโยชน์ในการแต่งเรือไปค้าขายต่างเมือง มีเรือหลวง และเรือสำเภาเจ้านาย และพ่อค้า แต่งไปค้าขายตามเมืองต่างๆ ของประเทศทางตะวันตก ไปจนถึงเมืองอินเดีย ข้างใต้ไปจนถึงเมืองชวา ข้างตะวันออกไปจนถึงเมืองจีน