เล่มที่ 6 สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
เมตริก
เล่นเสียงเล่มที่ 6 สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เมตริก
สามารถแชร์ได้ผ่าน :

เรามาสังเกตรูปภาพกับกลุ่มตัวเลขกันดังต่อไปนี้


(3) หรือ [3]

(3) หรือ [3] แทนจำนวนนกที่อยู่ในกรงกรงเดียว


(2 1) หรือ [2 1]

(2 1) หรือ [2 1] แทนจำนวนนกที่อยู่ในกรงสองกรงซ้ายมือ มีนกสองตัว กรงขวามือมีนกหนึ่งตัว

ดังนั้น  
แทนด้วย (3 0) หรือ [3 0]

และ
  แทนด้วย (1 3 2) หรือ [1 3 2]

  กลุ่มตัวเลขเหล่านี้คือ
(3)หรือ[3]อ่านว่าสาม  
(2 1)หรือ[2 1]อ่านว่าสองหนึ่ง 
(3 0)หรือ[3 0]อ่านว่าสามศูนย์
(1 3 2)หรือ[1 3 2]อ่านว่าหนึ่งสามสอง

ตัวเลขในแต่ละกลุ่มเราเรียกว่า สมาชิกของกลุ่ม

เราเรียก 3 ว่า สมาชิกของ (3)
เราเรียก 2 ว่า สมาชิกของ (2 1)
เราเรียก 1 ว่า สมาชิกของ (2 1)
เราเรียก 3 ว่า สมาชิกของ (3 0)
เราเรียก 0 ว่า สมาชิกของ (3 0)
เราเรียก 1 ว่า สมาชิกของ (1 3 2)
เราเรียก 3 ว่า สมาชิกของ (1 3 2)
เราเรียก 2 ว่า สมาชิกของ (1 3 2)


จำนวนสมาชิกของกลุ่มอาจเป็นจำนวนใดๆ ก็ได้ และในแต่ละกลุ่มอาจมี สมาชิกกี่ตัวก็ได้ กลุ่มตัวเลขที่แสดงมานี้ เป็นกลุ่มตัวเลขที่มีสมาชิกเรียงกัน ในแนวนอน

คราวนี้เราจะสังเกตรูปภาพกับกลุ่มตัวเลขชุดใหม่
   


 


 






กลุ่มตัวเลขเหล่านี้มีสมาชิกเรียงกันในแนวตั้ง ซึ่งต่างกับกลุ่มตัวเลขที่มีสมาชิกเรียงกันในแนวนอน

ตุ๊กมีลูกแก้วสีแดง 15 ลูก มีลูกแก้วสีเหลือง 10 ลูก ตุ่นมีลูกแก้ว สีแดง 30 ลูก ไม่มีลูกแก้วสีเหลืองเลย นำมาเขียนเป็นตารางได้ดังนี้

 ลูกแก้วสีแดงลูกแก้วสีเหลือง
ตุ๊กมี
15
10
ตุ๊กมี
30
0

เมื่อยกเฉพาะตัวเลขมาเขียนเป็นกลุ่มจะอยู่ในรูป



มีสมาชิกสองแถวในแนวนอน และสองแถวในแนวตั้ง ต่อไปเราจะเรียก แถวในแนวนอนว่า "แถว" และจะเรียกแถวในแนวตั้งว่า "สดมภ์" นั่นคือ

แถวที่หนึ่งมีสมาชิกเป็น 15 และ 10
สดมภ์ที่หนึ่ง มีสมาชิกเป็น 15 และ 30



15 เป็นสมาชิกที่อยู่ในแถวที่ 1 และสดมภ์ที่ 1
10 เป็นสมาชิกที่อยู่ในแถวที่ 1 และสดมภ์ที่ 2
30 เป็นสมาชิกที่อยู่ในแถวที่ 2 และสดมภ์ที่ 1
0 เป็นสมาชิกที่อยู่ในแถวที่ 2 และสดมภ์ที่ 2

เราเรียกกลุ่มตัวเลขที่นำมาเขียนเรียงกันเป็นแถว และเป็นสดมภ์ ปิดล้อมด้วยวงเล็บว่า เมตริก