ดิน
ดินเป็นแหล่งที่มาของธาตุอาหารที่จำเป็น เพื่อการเจริญเติบโตของพืช ดินที่บุกเบิกจากสภาพป่าใหม่ๆ มีความอุดมสมบูรณ์สูง พืชที่ปลูกจะดึงดูดธาตุอาหารจากดิน เพื่อการเจริญเติบโต และสร้างผลิตผลธาตุอาหารพืชได้จากดิน มีอยู่ ๑๓ ธาตุด้วยกัน แบ่ง ออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่พืชต้องการใช้เป็นปริมาณมาก ได้แก่ ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน แคลเซียม และแมกนีเซียม กลุ่มหนึ่งอีกกลุ่มหนึ่งเป็นธาตุที่พืชต้องการเป็นปริมาณน้อยมาก ได้แก่ ธาตุเหล็ก แมงกานีส โบรนอน โมลิบดินัม ทองแดง สังกะสี และ คลอรีน แต่ละธาตุไม่ว่าพืชต้องการเป็นปริมาณมากหรือน้อย จะมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชเท่าเทียมกัน หากพืชขาดธาตุใดธาตุหนึ่ง พืชจะไม่เจริญเติบโต และในที่สุดก็จะตาย
เมื่อปลูก พืชติดต่อกันเป็นเวลานาน ดินจะสูญเสียธาตุอาหารพืชไปจนหมด ในที่สุดก็กลายเป็นดินเลว ปลูกพืชไม่เจริญเติบโตอีกต่อไป ดังนั้นในการปลูกพืช จึงต้องมีการใส่ปุ๋ยบำรุงดินอยู่เสมอ ปุ๋ยบำรุงดินมีทั้ง ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีจะประกอบด้วยธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) เป็นหลัก เมื่อใส่ลงไปในดิน ก็จะถูกปลดปล่อยออกมา พืชสามารถดูดขึ้นไปใช้ประโยชน์ได้
ดินที่อุดมสมบูรณ์ หรือดินดี มีชั้นของดินบน หรือเรียกว่า ดินชั้นบน หนาประมาณ ๒๐ เซนติเมตร อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารพืช และอินทรียวัตถุ เหมาะสมต่อการปลูกพืช ชั้นของดินที่อยู่ลึกลงมา เรียกว่า ดินชั้นล่าง มีปริมาณธาตุอาหารพืชและอินทรียวัตถุต่ำ ไม่อุดมสมบูรณ์เท่ากับดินชั้นบน
การเก็บเกี่ยวผลิตผลออกจากไร่นา และส่งออกไปขาย ทำให้ธาตุอาหารในดินที่ติดไปกับผลิตผล จะสูญเสียไปอย่างถาวร
อินทรีย วัตถุในดินมีความสำคัญมาก เนื่องจากช่วยทำให้ดินโปร่ง และร่วนซุย เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของรากพืช นอกจากนั้นยังสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารพืชที่สำคัญ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และธาตุอื่นๆ ให้แก่พืช
การไถ พรวนดิน เพื่อการเพาะปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม และไม่มีวิธีการอนุรักษ์ดินที่ถูกต้อง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการชะล้างพังทลาย สูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ เมื่อหน้าดินที่มีธาตุอาหารพืชและอินทรียวัตถุอันอุดมสมบูรณ์สูญหายไป หน้าดินที่เหลืออยู่ คือ ดินชั้นล่างจะเป็นดินเลว เนื่องจากมีธาตุอาหารพืชและอินทรียวัตถุน้อย ไม่สามารถปลูกพืชให้งอกงามอีกต่อไป
การเก็บเกี่ยวผลิตผลออกจากไร่นาและส่งออกไปขาย ทำให้ธาตุอาหารในดินที่ติดไปกับผลิตผล จะสูญเสียไปอย่างถาวร
พืชที่ ปลูกในดินเลว จะขาดแคลนธาตุอาหาร พืชจะเหลือง และให้ผลิตผลต่ำ ส่วนดินที่มีธาตุอาหารในดินพอเพียง พืชจะเขียวเจริญงอกงาม ให้ผลิตผลสูง
ส่วนที่เป็นผลิตผลของพืชที่ปลูกและเก็บเกี่ยวขาย จะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่วนของพืชที่สัตว์กินและถ่ายออกมาเป็นปุ๋ยคอกกลับคืนสู่ดิน จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์แก่พืชอีกครั้งหนึ่ง ธาตุอาหารในดินที่ติดไปกับผลิตผลจะสูญเสียไปอย่างถาวร แต่เราสามารถใช้ปุ๋ยชดเชย หรือเพิ่มเติมให้กับดินจนพอเพียงแก่ความต้องการของพืชได้
ปุ๋ยคอก ได้แก่ มูลสัตว์ต่างๆ เช่น วัว ควาย เป็ด ไก่ ฯลฯ
ปุ๋ย
ปุ๋ย หมายถึง สารหรือสิ่งซึ่งเราใส่ลงไปในดิน เพื่อให้มันปลดปล่อยธาตุอาหารพืช โดยเฉพาะไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ที่พืชยังขาดอยู่ ให้พืชได้รับอย่างเพียงพอ พืชสามารถเจริญเติบโตงอกงามดี และให้ผลิตผลสูงขึ้น
โดย ทั่วไปปุ๋ยแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ปุ๋ยอินทรีย์พวกหนึ่งและปุ๋ยวิทยาศาสตร์ หรือปุ๋ยเคมีอีกพวกหนึ่ง
ปุ๋ย อินทรีย์
ปุ๋ยพวกนี้ ได้แก่ พวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด ซึ่งเป็นพวกอินทรียสาร
ปุ๋ยคอก ปุ๋ยคอกที่สำคัญ ได้แก่ ขี้หมู ขี้เป็ด ขี้ไก่ ฯลฯ
ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพวกนี้ ได้แก่ ปุ๋ยที่เราได้จากการหมักเศษพืช เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ฯลฯ ให้เน่าเปื่อยเสียก่อน จึงนำไปใส่ในดินเป็นปุ๋ย ปุ๋ยเทศบาลที่บรรจุถุงขายเรียกชื่อว่า ปุ๋ยอินทรีย์เบอร์ต่างๆ นั้น ก็คือ ปุ๋ยหมัก ได้จากการนำขยะจากในเมือง พวกเศษพืช เศษอาหาร เข้ามาหมักในโรงหมักตามขั้นตอน จนกลายเป็นปุ๋ย
ปุ๋ยพืชสด เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้ จากการปลูกพืชบำรุงดิน ซึ่งได้แก่ พืชตระกูลถั่วต่างๆ แล้วทำการไถกลบ เมื่อพืชเจริญเติบโตมากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังออกดอก พืชตระกูลถั่วที่ควรใช้เป็นปุ๋ยพืชสดควรมีอายุสั้น มีระบบรากลึก ทนแล้ง ทนโรคและแมลงได้ดี เป็นพืชที่ปลูกง่าย และมีเมล็ดมาก ตัวอย่างพืชเหล่านี้ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลาย ถั่วขอ ถั่วแปบ ปอเทือง และโสน เป็นต้น
การเก็บมูลสัตว์เลี้ยง เป็นปุ๋ยคอกนำธาตุอาหารกลับคืนสู่ดินเป็นปุ๋ยอินทรีย์ให้กับพืชที่ปลูก เป็นการอนุรักษ์ธาตุอาหารพืชกลับคืนสู่ดิน ไม่ให้สูญเสียไปอย่างรวดเร็ว และเป็นการบำรุงดินที่ถูกวิธี
วิธีการเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ให้กับดินที่ดีอีกวิธีหนึ่ง ก็คือ การปลูกพืชบำรุง โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว เมื่อพืชโตเต็มที่ หรือที่ระยะออกดอก ก็ทำการไถกลบ เป็นปุ๋ยพืชสด จะทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดียิ่งขึ้น
การเก็บมูลสัตว์เลี้ยง เป็นปุ๋ยคอกนำธาตุอาหารกลับคืนสู่ดินเป็นปุ๋ยอินทรีย์ให้กับพืชที่ปลูก เป็นการอนุรักษ์ธาตุอาหารพืชกลับคืนสู่ดิน ไม่ให้สูญเสียไปอย่างรวดเร็ว และเป็นการบำรุงดินที่ถูกวิธี
วิธีการเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ให้กับดินที่ดีอีกวิธีหนึ่ง ก็คือ การปลูกพืชบำรุง โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว เมื่อพืชโตเต็มที่ หรือที่ระยะออกดอก ก็ทำการไถกลบ เป็นปุ๋ยพืชสด จะทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดียิ่งขึ้น
ปุ๋ยพืชสดได้จากการไถกลบพืชตระกูลถั่ว
ปุ๋ย เคมี
ปุ๋ยพวกนี้เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากการผลิตหรือสังเคราะห์ ทางอุตสาหกรรม จากแร่ธาตุต่างๆ ที่ได้ตามธรรมชาติ หรือเป็นผลพลอยได้ของโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด หรือกล่าวอีกประการหนึ่งก็คือ ปุ๋ยเคมีเป็นปุ๋ยที่ผลิตจากโรงงาน เพื่อให้มีธาตุอาหาร N P K อยู่ในรูปของสารประกอบเคมี และสามารถปลดปล่อยให้เป็นประโยชน์แก่พืชได้ง่ายและเร็ว ปุ๋ยเคมีเป็นสารเคมีที่ผลิตออกมา เพื่อใช้ปรับปรุงธาตุอาหารในดินให้พอเพียง และเหมาะสมกับความต้องการของพืชที่ปลูก ทำให้พืชเจริญเติบโต มีผลิตผลสูง และมีคุณภาพทางโภชนาการที่สมบูรณ์ ดังนั้นปุ๋ยเคมีจึงแตกต่างจากสารเคมีมีพิษปราบศัตรูพืช เช่น สารเคมีฆ่าแมลง ดังนั้นเมื่อพูดถึงผลกระทบต่อความปลอดภัยของอาหาร และชีวิต จึงไม่ควรนำมาปะปนกันกับผลของการใช้ปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยเคมีที่จำหน่ายในท้องตลาด จะต้องมีฉลากอยู่ที่ภาชนะบรรจุ บอกชื่อ "ปุ๋ย เคมี" ชื่อปุ๋ย เครื่องหมายการค้า สูตรปุ๋ย "ปริมาณ ธาตุอาหารรับรอง" และน้ำหนักปุ๋ย รวมทั้งมีชื่อและที่อยู่ของบริษัทผู้ผลิตและจำหน่าย สิ่งเหล่านี้ผู้ซื้อปุ๋ยจะต้องสังเกต และจำไว้ เพื่อพิจารณาการซื้อปุ๋ยที่จะนำไปใช้กับพืช
แบบจำลองโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีของบริษัท ปุ๋ยแห่งชาติจำกัด ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
กสิกรควรรู้จักสูตรปุ๋ย เพราะสูตรปุ๋ยจะบอกปริมาณของธาตุอาหาร N P K เป็นร้อยละของน้ำหนักปุ๋ยเคมีในกระสอบที่ซื้อ สูตรปุ๋ยเป็นเลข ๓ ตัว เรียงกัน เช่น 14-9-21 ตัวหน้า 14% คือ ไนโตรเจน ตัวกลาง 9% คือ ฟอสฟอรัส และตัวสุดท้าย 21% คือ โพแทสเซียม และจะไม่มีการสลับที่กัน และเข้าใจกันเป็นสากลทั่วไป
พืชแต่ละชนิดมีความต้องการธาตุอาหาร N P K มากน้อยแตกต่างกัน แล้วแต่ชนิดของพืช ดังนั้น การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพจึงต้องรู้จักความต้องการธาตุอาหารของพืช และรวมทั้งระดับธาตุอาหารพืชที่มีอยู่แต่เดิมในดินด้วย
ตัวอย่างปุ๋ยเคมี ที่บรรจุอยู่ในภาชนะซึ่งต้องบอกสูตรปุ๋ยและปริมาณธาตุอาหารรับรองบังคับโดยพระราช บัญญัติปุ๋ย พ.ศ.๒๕๑๘
ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ต่างก็มีข้อได้เปรียบ และข้อเสียเปรียบ กล่าวคือ ปุ๋ยอินทรีย์ ปลดปล่อยธาตุอาหารช้า แต่ไม่สูญเสียอย่างรวดเร็ว ส่วนปุ๋ยเคมีปลดปล่อยธาตุอาหารรวดเร็ว แต่ก็เกิดการสูญเสียเร็วโดยเปล่าประโยชน์มาก
การสูญเสียธาตุอาหารของปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดิน นอกเหนือจากที่พืชดึงดูดไปใช้แล้วก็คือ การสูญเสียโดยถูกชะล้างติดไปกับน้ำที่ไหลซึมลงใต้ดิน และไหลบ่าไปตามพื้นดิน
ปุ๋ยอินทรีย์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของดินในการอุ้มปุ๋ย เคมีให้อยู่ในดินได้นานขึ้น และเป็นประโยชน์แก่พืชมากขึ้น ดังนั้นการใช้ปุ๋ยที่ถูกวิธีคือ ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์