ปอเป็นพืชเส้นใช้ชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเกษตร เมื่อนำเส้นใยจากส่วนเปลือกไปแช่ และฟอกแล้ว จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้นานัปการ และนำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละมากๆ | |
ปอแก้ว | |
ปอมีหลายชนิด ที่รู้จักกันแพร่หลายคือ ปอแก้ว ปอคิวบา และปอกระเจา ปอแก้ว และปอคิวบา เป็นพืชอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกันกับฝ้าย คือ อยู่ในวงศ์มัลวาซีอี สกุลไฮบิสคุส แต่ปอคิบามีเส้นใยที่มีคุณภาพดีกว่าปอแก้ว | |
ปอคิวบา | |
ปอทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายคลึงกันมาก แต่มีชื่อพื้นเมืองต่างกัน เพราะเรียกชื่อตามท้องถิ่นที่ปลูก ปอแก้วมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น โรแซลล์ ปูซาเฮมพ์ และชันนี เป็นต้น ปอแก้วนี้มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งใช้กลีบรองดอกทำเป็นอาหาร เรียกว่า "กระเจี๊ยบ" อีกชนิดหนึ่งใช้เปลือกทำเป็นเส้นใย ปอคิวบาก็มีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น เคนัฟ บิมลิพาตัม เดคคานเฮมพ์ และเมสตา เป็นต้น | |
ส่วนปอกระเจานั้นมี ๒ ชนิด คือ ปอกระเจาฝักยาว มีเส้นใยสีเหลืองอ่อนเหนียว อีกชนิดหนึ่งคือ ปอกกระเจาฝักกลม มีเส้นใยสีขาว เหนียวน้อยกว่าเส้นใยของปอกระเจาฝักยาว ปอกระเจาเป็นพืชอยู่ในตระกูลทิเลียซีอี สกุลคอร์โครุส เส้นใยของปอกระเจาทั้งสองชนิดนี้ มีคุณภาพดีกว่าปอแก้ว | ปอกระเจาฝักยาว |
คนไทยรู้จักใช้ปอให้เป็นประโชน์มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ปอที่ใช้เป็นปอพื้นเมือง นำมาลอกเปลือกต้นปอออกจากแกนต้น เรียกว่า "ปอกลีบ" แล้วจึงนำมาฟั่นเป็นเชือก เรียกว่า "ปอฟั่น" ในสมัยนั้นปอฟั่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไทย ใช้ผูกมัดสิ่งของ และสัตว์เลี้ยง |
ปอกระเจาฝักกลม | ต่อมาได้มีการใช้กระสอบบรรจุธัญพืช และผลิตผลทางการเกษตรมากขึ้น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ตั้งโรงงานทอกระสอบ จากใยปอขึ้น เพื่อให้มีวัตถุดิบป้อนโรงงานสม่ำเสมอ และเพียงพอ ประเทศไทย จึงจำเป็นต้องนำพันธุ์ปอจากต่างประเทศ เข้ามาทดลองปลูกแทนปอพื้นเมือง เพื่อค้นคว้าหาพันธุ์ปอที่ดีไว้ใช้ส่งเสริมการปลูก ให้เพียงพอกับความต้องการ เช่น นำพันธุ์ปอแก้วมาจากประเทศจีน (ไต้หวัน) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ และนำพันธุ์ปอคิวบา มาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นต้น |
ต้นปอไม่กลัวความแห้งแล้ง สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท แต่ดินที่ต้นปอชอบมากที่สุดคือ ดินร่วนซุย ที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก และมีฝนกระจายสม่ำเสมอตลอดฤดู พื้นที่ปลูกปอในประเทศไทย ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดที่ปลูกมาก คือ ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ อุดรธานี และอุบลราชธานี |
ปอมีประโยชน์ใช้สอยมากมาย มิใช่แต่ใช้สำหรับทอกระสอบเท่านั้น อาจจำแหนกประโยชน์ของปอได้ดังนี้ | ดอกปอแก้ว |
ประโยชน์ของปอในด้านต่างๆ | |
ประเภทของงาน | ประโยชน์ |
๑. ด้านการเกษตร | ทำผ้าคลุมแปลงพืชป้องกันแสงแดด หรือหิมะ (ในเมืองหนาว) ทำแฟงกันลมและทำเชือก เป็นต้น |
๒. ด้นที่อยู่อาศัย | ทำพรมเช็ดเท้า พรมปูพื้น ใช้ผสมทำพรมน้ำมัน ทำผืนผ้าบุเก้าอี้ ทำเชือก ทอเสื่อ บุเตาอบ ทำผ้ากันเปื้อน และทำวัสดุปิดฝาผนัง เป็นต้น |
๓. ด้านการก่อสร้าง | ทำฝ้าบุหลังคากันความร้อน ใช้บุกั้นป้องกันน้ำซึม และป้องกันเสียงสะท้อน เป็นต้น |
๔. ด้านกิจการทหาร | ทำกระสอบทราย ทำเต็นท์ เครื่องเก็บกักน้ำ เช่น ถัง ผสมกับฝ้ายทำเสื้อผ้าทหาร ทำตาข่ายสายสะพายปืน สายโยง และทำฉนวนหุ้มภาชนะบรรจุอาหาร เป็นต้น |
๕. ด้านอุตสาหกรรมและการขนส่ง | ทำถุงบรรจุสินค้า เช่น ถุงบรรจุเมล็ดพันธุ์พืช แร่ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ ปูนซีเมนต์ และตะปู ทำผ้าห่อเนื้อ ผ้าห่อถังปลา ทำฉนวนห่อหุ้มท่อลม ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า และปอทั้งต้นใช้ทำเยื่อกระดาษ เป็นต้น |
๖. ด้านอื่นๆ | ทำผ้าบุผนังแสดงนิทรรศการแสดงสิ่งของ ทำผ้าหุ้มกระเป๋าเดินทาง ทำปกหนังสือ เศษปอใช้เช็ดล้างทำความสะอาดเครื่องยนต์ และทำจุก เป็นต้น |