สมัยโบราณคดีประวัติศาสตร์
เป็นการ ศึกษาเรื่องราวของกลุ่มชน หรือรัฐ หรืออาณาจักร ที่มีความเจริญ มีอารยธรรมที่สูง มีหลักฐาน ทั้งจากเรื่องราวที่ปรากฏเป็นตัวหนังสือที่มีอายุสมัยไม่เด่นชัด หรือไม่สามารถกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนได้ตลอด ต้องศึกษาจากเอกสารของดินแดนใกล้เคียง และศึกษาเปรียบเทียบจากลักษณะรูปแบบของงานศิลปกรรม ทั้งด้านประติมากรรม (ประติมานวิทยา) ลักษณะรูปแบบ สถาปัตยกรรม และลวดลายที่ประดับ รวมถึงการ ศึกษาจากรูปแบบของงานจิตรกรรมที่ปรากฏใน สถาปัตยกรรมของดินแดนนั้น กับงานศิลปกรรม ที่ทราบอายุแน่นอนของดินแดนใกล้เคียง ที่แสดงรูปแบบ อันมีลักษณะที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดินแดนที่มีอายุอยู่ในสมัยโบราณคดีประวัติศาสตร์ จะเป็นดินแดนที่มีความเจริญอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๖-๑๘ แบ่งออกเป็น ๔ สมัย คือ
๑. สมัยฟูนัน มีความเจริญระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๖-๘
๒. สมัยทวารวดี มีความเจริญระหว่าง พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖
๓. สมัยทักษิณรัฐ (ศรีวิชัยและตามพรลิงค์) มีความเจริญระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘
๔. สมัยลวปุระหรือลพบุรี มีความเจริญ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๘
ส่วนประวัติศาสตร์ของไทยแบ่งได้เป็น ๖ สมัย คือ
๑. สมัยเชียงแสนและล้านนา ราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๘-๒๔
๒. สมัยสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘- ๒๑
๓. สมัยอโยธยา (อู่ทอง) พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙
๔. สมัยอยุธยา พุทธศักราช ๑๘๙๓- ๒๓๑๐
๕. สมัยธนบุรี พุทธศักราช ๒๓๑๐-๒๓๒๕
๖. สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๓๒๕- ปัจจุบัน