เล่มที่ 36
โรคมาลาเรีย
สามารถแชร์ได้ผ่าน :
วงชีพ

            เชื้อมาลาเรียที่แพร่โรคจากผู้ป่วยสู่คนอื่นนั้น อาศัยยุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะนำเชื้อ โดยเริ่มจากยุงก้นปล่องเพศเมียกัด และดูดเลือด จากผู้ป่วยมาลาเรีย แล้วได้รับเชื้อมาลาเรียเพศผู้และเพศเมียเข้าไปผสมพันธุ์กันในกระเพาะอาหารของยุง แล้วเจริญเป็นเชื้อที่ผสมแล้วหรือไซโกต (zygote) เกาะที่ผนังกระเพาะอาหารของยุง จากนั้นไซโกตจะเจริญเป็นถุงเชื้อ หรือโอโอซีสต์ (oöcyst) ซึ่งภายในถุงมีเชื้อระยะแพร่หรือสปอโรซอยต์ (sporozoite) เมื่อถุงเชื้อเจริญเต็มที่แล้ว ก็จะแตก สปอโรซอยต์จะกระจายไปทั่วตัวยุง รวมทั้งในต่อมน้ำลายยุงด้วย เมื่อยุงไปกัดคน ก็จะปล่อยเชื้อเข้าไปในกระแสเลือดคน แล้วเข้าไปเจริญในเซลล์ตับ หลังจากนั้นจะเข้าไปเจริญในเม็ดเลือดแดง เมื่อเม็ดเลือดแดงแตก ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการจับไข้ และหนาวสั่น ระยะเวลาที่เชื้อเจริญในยุงและในคนจะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิด ดังแสดงไว้ในตารางนี้


* ระยะเวลาตั้งแต่ถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียกัดจนกระทั่งเกิดอาการของโรคในคน  เช่น  มีไข้


วงชีพเชื้อมาลาเรีย